
ในฐานะนักลงทุนการติดตามภาวะเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้นักลงทุนได้เตรียมปรับการลงทุนให้เหมาะสมไปตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งในไทยภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญกับตลาดทุนเป็นอย่างมาก
โดยการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมจะมีขึ้นทุกเดือน ซึ่งจะจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมมี 7+1 ดัชนี ดังนี้
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (ถ่วงน้ำหนักมูลค่าเพิ่ม)
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (ถ่วงน้ำหนักมูลค่าผลผลิต)
- ดัชนีการส่งสินค้า
- ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
- ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
- ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม
- ด้ชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม
- อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization)
...วันนี้เรามาทำความรู้จักกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพื่อรู้ทันสถานการณ์เศรษฐกิจกันค่ะ
MPI Index ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม คืออะไร
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ Manufacturing Production Index (MPI) คือ ดัชนีสะท้อนค่า GDP ในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
ประโยชน์ของ MPI Index
- รวดเร็ว เพราะเป็นดัชนีที่ความถี่ในการจัดทำเป็นรายเดือน
- สะท้อนสภาวะกิจกรรมภาคการผลิตของอุตสาหกรรม
- ใช้คาดการณ์ทิศทางของตลาดทุนได้
กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่ใน MPI Index มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
จากสัดส่วน Manufacturing Production 100% แบ่งอุตสาหกรรมออกเป็น...
- อาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverages)
- ยานยนต์ (Automotives) แบ่งออกเป็น รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (Passenger Cars), รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial Vehicles) และเครื่องยนต์ (Engine)
- ปิโตเลียม (Petroleum)
- เคมีภัณฑ์ (Chemicals)
- ยางและพลาสติก (Rubbers & Plastics)
- ปูนซีเมนต์และการก่อสร้าง (Cement & Construction)
- ไอซีและเซมิคอนดักเตอร์ (IC & Semiconductors)
- เครื่องใช้ไฟฟ้า (Electrical Appliances)
- สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย (Textiles & Apparels)
- ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Drive)
- อื่น ๆ
วิธีคำนวณดัชนี MPI
การคำนวณดัชนีอุตสาหกรรมจะคำนวณโดยใช้ดัชนีราคาแบบลาสแปร์ส (Laspeyres Price Index) ดังนี้
กำหนด
MPI Indext = ดัชนีปริมาณผลผลิตอุตสาหกรรม ณ เวลา t
Qti = ปริมาณการผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ i ณ เวลา t
Qoi = ปริมาณการผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ i ในปีฐาน
Woi = ค่าถ่วงน้ำหนักของการผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ i ในปีฐาน ถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าเพิ่ม (Value Added) หรือ มูลค่าผลผลิต (Output Value)
ที่มา:สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ปัจจัยหลักที่สำคัญในการจัดทำดัชนี MPI Index มีอะไรบ้าง
1. สินค้าที่เลือกมาคำนวณ
- ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการผลิต/มูลค่าเพิ่มมาก
- ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูง
- ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ตัวแทนต้องมีสัดส่วนการจ้างงานรวมร้อยละ 70
- กำลังการผลิตสูง เป็นตัวแทนของอุตสาหกรรม ผลิตได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ซึ่งการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างคัดจากข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงพาณิชย์ โดยขอยกตัวอย่างดังภาพ
ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย
2. กำหนดให้ปีฐาน
- ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ
- ปีที่มีข้อมูลสำมะโน/สำรวจ
3. ค่าถ่วงน้ำหนัก
คำนวณค่าถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลสัดส่วนมูลค่าเพิ่มและมูลค่าผลผลิตของแต่ละผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจากการสำรวจอุตสาหกรรมรายปีของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
วิเคราะห์สถานการณ์ MPI Index ในปัจจุบัน
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม 2566
- MPI Index เดือนสิงหาคม 66 ปรับลดลง 7.53% YOY
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ระดับ 91.85
- อัตราการใช้กำลังการผลิต (CapU) อยู่ที่ 58.18%
- MPI 8 เดือนแรกลดลงเฉลี่ย 4.95% และ CapU อยู่ที่ 60.09%
ธนาคารแห่งประเทศไทยสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยดังนี้
- เศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางฟื้นตัวตามรายรับในภาคการท่องเที่ยว การบริโภคในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวจากมูลค่าการส่งออกสินค้า (ไม่รวมทองคำ) ประกอบกับอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ลดลงเมื่อเทียบเดือนก่อน ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมทรงตัว สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐยังคงขยายตัวจากรายจ่ายประจำ
เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันเบนซินที่แพงขึ้น แต่เงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวลดลง จากราคาอาหารสดและอาหารสำเร็จรุปที่มีอุปทานเพิ่มสูงขึ้น มีดุลการค้าเกินดุล
เข้าถึงบทวิเคราะห์ทุกที่ ทุกเวลา
หลักทรัพย์บัวหลวงมีบทวิเคราะห์หุ้นและเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ จากนักวิเคราะห์ให้ท่านติดตามได้ทุกวัน ผ่าน 3 ช่องทางดังนี้
วิธีที่ 1 ติดตามข่าวเศรษฐกิจอัปเดตหุ้นทุกวัน ผ่านแอป Wealth Connex เมนูกลุ่มลงทุน
วิธีที่ 2 Live สด อัปเดตข่าวสารก่อนใครได้ทุกเช้าผ่าน iChannel
Login หน้าเว็บไซต์ คลิก > ไปที่แถบ Pre-Trade > เลือก iChannel
สามารถดูสดพร้อมกันได้ทุกเช้าหรือดูย้อนหลังก็ได้เช่นกัน
วิธีที่ 3 ดูบทวิเคราะห์ผ่าน เมนู Bualuang Research
Login หน้าเว็บไซต์ คลิก > ไปที่แถบ Pre-Trade > เลือก Bualuang Research