_1.png)
การเข้าใจอัตราส่วนทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจและการลงทุน โดยเฉพาะสำหรับมือใหม่ที่ต้องการเข้าใจภาพรวมทางการเงินของบริษัท เรามาดูกันว่ามีอัตราส่วนไหนบ้างที่ควรรู้!
- ดูหุ้นว่าถูกหรือแพง
- ดูหุ้นว่ามีกำไรไหม
- ดูหุ้นว่ากำไรเติบโตไหม
8 ตัวช่วยบอกหุ้นราคาถูกหรือแพง
1. P/E Ratio
P/E Ratio คือ Price to Earnings Ratio เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัด ความถูกแพงของ หุ้น และบอกว่าถือกี่ปีคืนทุน
- P/E Ratio ต่ำ แสดงว่า หุ้นราคาถูก คืนทุนเร็ว
- P/E Ratio สูง แสดงว่า หุ้นราคาแพง คืนทุนช้า
2. PEG Ratio
PEG Ratio คือ Price per Earning to Growth Ratio ถูกต่อยอดมาจาก P/E Ratio ถูกนำมาใช้คาดการณ์การเติบโตของกำไร และประเมินความถูกแพงของราคาหุ้น
- ค่า PEG ควรมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 แสดงว่าราคาหุ้นต่ำกว่าอัตราการเติบโต หรือ หุ้นมีราคาถูก
- ค่า PEG มากกว่า 1 แสดงว่า P/E Ratio สูงกว่าอัตราการเติบโต หรือ หุ้นนั้นมีราคาแพง
- ค่า PEG น้อยกว่า 0 เนื่องมาจากค่าอัตราการเติบโตมีค่าเป็นลบ หรือบริษัทไม่มีกำไร
3. P/B Ratio หรือ P/BV Ratio
P/B Ratio คือ Price to Book Ratio เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัดความถูกแพงของหุ้น โดยเปรียบเทียบราคาตลาดของหุ้นกับมูลค่าทางบัญชี
- P/B Ratio เท่ากับ 1 แสดงว่า นักลงทุนจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นในราคาเท่ากับเจ้าของหุ้น
- P/B Ratio มากกว่า 1 แสดงว่า นักลงทุนจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นในราคาแพงกว่าเจ้าของหุ้น
- P/B Ratio น้อยกว่า 1 แสดงว่า นักลงทุนจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นในราคาถูกกว่าเจ้าของหุ้น
4. Book Value
Book Value (มูลค่าทางบัญชี) คือ อัตราส่วนทางการเงินบ่งบอกถึงมูลค่ารวมของบริษัท หรือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัท (Net Asset Value) มีค่าเท่ากับต้นทุนในการถือสินทรัพย์ในงบดุลของบริษัท
- Book Value มากกว่า 0 หรือเป็นบวก หมายความว่าทางบริษัทนั้นมีสินทรัพย์รวม มากกว่าหนี้สิน
- Book Value น้อยกว่า 0 หรือติดลบ หมายความว่าทางบริษัทมีหนี้สินมากหรือหมายถึงกิจการขาดทุน
5. P/S Ratio
P/S Ratio คือ Price to Sales Ratio เป็นอัตราส่วนที่ใช้ประเมินมูลค่าหุ้นหรือมูลค่าการลงทุน เพื่อทำให้รู้ว่าราคาที่จ่ายไปนั้นถูกหรือแพงกว่าราคาหุ้นในปัจจุบัน โดยการเปรียบเทียบมูลค่าบริษัทตามราคาตลาดกับยอดขาย
- P/S Ratio ต่ำ หมายถึง ได้รับหุ้นในราคาที่ถูก หรือหุ้นนั้นถูกประเมินมูลค่าในราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
- P/S Ratio สูง หมายถึง ได้รับหุ้นในราคาที่แพง หรือหุ้นนั้นมีราคาสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น
6. EV
Enterprise Value (EV) คือ มูลค่าสุทธิของกิจการ หรือพูดง่าย ๆ ว่ามูลค่าที่นักลงทุนต้องจ่ายหากจะซื้อกิจการทั้งบริษัท มีลักษณะคล้ายกับราคาตลาด (Market Price) เพื่อเปรียบเทียบความถูกแพงของราคาหุ้นกับมูลค่าที่ควรจะเป็น
7. EBITDA
EBITDA คือ earnings before interest, tax, depreciation, and amortization เป็นกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย หรือพูดง่ายๆว่าคือกำไรส่วนที่เป็นเงินสดจริงๆ
8. EV/EBITDA Ratio
EV/EBITDA คือ Enterprise Multiple เป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงมูลค่าความถูกแพงของหุ้น จากการวัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดยนำมูลค่าของกิจการ (EV) มาเปรียบเทียบกับกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยภาษี ค่าเสื่อม และ ค่าตัดจำหน่าย (EBITDA)
- EV/EBITDA มาก แสดงว่าบริษัทนั้นมีทรัพย์สินมากแต่สามารถทำกำไรได้น้อย
- EV/EBITDA น้อย แสดงว่า บริษัทนั้นมีทรัพย์สินน้อยแต่สามารถทำกำไรได้มาก
- EV/EBITDA มีค่าติดลบ จะหมายความว่าบริษัท ณ ช่วงเวลานั้น ไม่มีกำไร จึงไม่นิยมนำมาใช้แปลความและไม่สามารถวัดความถูกความแพงได้
อัตราส่วนการเงิน ใช้ดูหุ้นมีกำไรไหม ค่ายิ่งสูง ยิ่งกำไรเยอะ!
1. ROA Ratio
Return on asset (ROA) คือ อัตราส่วนทางการเงินบ่งบอกว่าบริษัททำกำไรได้มากน้อยเท่าไรเมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวมของบริษัทนั้น
- ROA > 0 หมายถึง บริษัทสามารถสร้างกำไรสุทธิจากสินทรัพย์ได้
- ROA < 0 หมายถึง บริษัทไม่สามารถสร้างกำไรสุทธิจากสินทรัพย์ได้
2. ROCE Ratio
ROCE (Return on Capital Employed) คืออัตราผลตอบแทนจากเงินทุน เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัดประสิทธิภาพและความสามารถในการสร้างผลตอบแทนจากการดำเนินงานของบริษัท
- ถ้าค่า ROCE > 0 หรือเป็นบวก หมายความว่า ทางบริษัทสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบกับเงินทุน
- ถ้าค่า ROCE < 0 หรือติดลบ หมายความว่า ทางบริษัทไม่สามารถสร้างอัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบกับเงินทุน
3. EBITDA Margin
EBITDA margin คือ การนำ EBITDA ไปหาเป็น%ของรายได้ทั้งหมด ทำให้เราสามารถทราบได้ว่า ต่อรายได้หนึ่งบาท บริษัทสามารถทำกำไรที่แท้จริงได้เท่าไหร่
- EBITDA margin > 0 หรือ เป็นบวก หมายความว่าบริษัทยังมีกำไรจากการดำเนินงาน
- EBITDA margin < 0 หรือ เป็นลบ หมายความว่าบริษัทขาดทุน
4. EBIT Margin
EBIT Margin คือ อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงาน ซึ่งสะท้อนผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีกว่ากำไรสุทธิ เนื่องจากค่า EBIT จะหักค่าใช้จ่ายเฉพาะต้นทุนในการขายและต้นทุนการบริหารเท่านั้น โดยไม่คำนึงค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น ดอกเบี้ยที่เกิดจากการเงินกู้ระยะยาว และภาษี
- EBIT Margin > 0 แสดงว่า บริษัทมีกำไรจากการดำเนินธุรกิจ
- EBIT Margin < 0 แสดงว่า บริษัทไม่มีกำไรจากการดำเนินธุรกิจ
5. EBT Margin
EBT Margin คือ Earnings Before Tax Margin หรือเรียกว่า “อัตรากำไรก่อนหักภาษี” คือ ตัวเลขที่บอกว่า บริษัทมีกำไรก่อนเสียภาษี คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวม ช่วยให้รู้ว่าบริษัทหาเงินได้ดีแค่ไหน ก่อนจะต้องเอาไปจ่ายภาษี
- EBT Margin > 0 แสดงว่า บริษัทมีกำไรก่อนหักภาษี รายได้มากกว่าต้นทุนและค่าใช้จ่ายรวม (รวมดอกเบี้ยด้วย)
- EBT Margin < 0 แสดงว่า บริษัทขาดทุนก่อนหักภาษี รายได้ไม่พอแม้แต่จะจ่ายต้นทุน ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
6. TIE Ratio
อัตราส่วนแสดงสามารถในการชำระดอกเบี้ย หรือ Times Interest Earned (TIE) Ratio คือ เครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถของบริษัทว่ามีกำไรพอจ่ายหนี้ที่กู้ยืมมาได้มากน้อยเพียงใด โดยตัวเลขผลลัพธ์จะแสดงถึงการนำกำไรมาจ่ายได้กี่เท่าของดอกเบี้ยทั้งหมดที่ค้างชำระ
- ค่า TIE มาก หมายถึง บริษัทมีเงินสดเพียงพอหลังจากชำระหนี้เพื่อลงทุนในธุรกิจต่อไป แสดงว่า มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ต่ำ
- ค่า TIE น้อย หมายถึง บริษัทมีเงินสดไม่พอหลังจากชำระหนี้เพื่อลงทุนในธุรกิจต่อไป แสดงว่า มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้สูง
7. Gross Profit Margin
อัตรากำไรขั้นต้น หรือ Gross Profit Margin คือ เครื่องมือที่นักลงทุนใช้ประเมินสถานะทางการเงินของบริษัทว่ามีความสามารถในการควบคุมต้นทุนเพื่อสร้างกำไรได้มากน้อยเพียงใด
- Gross Profit Margin สูง หมายถึง บริษัทมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิต
- Gross Profit Margin ต่ำ หมายถึง บริษัทไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิต
8. Operating Margin
อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Margin) คือ ตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการจัดการค่าใช้จ่ายและประสิทธิภาพในการทำกำไรจากการดำเนินงาน
- หากค่าอัตรากำไรจากการดำเนินงานสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็สามารถตีความได้ว่าประสิทธิภาพในการแปลงรายได้ให้เป็นกำไรของบริษัทนั้นดีขึ้นเรื่อยๆ
- หากบริษัทใดที่มีค่าอัตรากำไรจากการดำเนินงานต่ำลงเรื่อยๆ ก็แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการแปลงรายได้ให้เป็นกำไรต่ำ ซึ่งอาจเกิดจากค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าหรือยอดขายไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ทำให้กำไรขั้นต้นลดลง
9. Net Profit Margin
Net Profit Margin คือ อัตรากำไรสุทธิ บอกความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ คิดเป็นสัดส่วนเท่าไรจากรายรับทั้งหมดของบริษัท นั่นคือ รายได้ทั้งหมดที่บริษัทได้รับ เมื่อหักต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดอกเบี้ยและภาษี จะเหลือเป็นกำไรสุทธิทั้งหมดเท่าใดนั่นเอง
- Net Profit Margin > 0 แสดงว่า บริษัทมีความสามารถในการทำกำไร ซึ่งอาจหมายถึงการบริหารจัดการต้นทุนที่ดีด้วย
- Net Profit Margin < 0 แสดงว่า บริษัทไม่มีความสามารถในการทำกำไร ซึ่งอาจหมายถึงการบริหารจัดการต้นทุนที่ไม่ดี และทำให้บริษัทขาดทุน
สรุป 9 อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios)
ติดตามอัตราส่วนทางการเงินทั้งหมดผ่านแอป Wealth Connex
คลิกเพื่อดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ทั้งบน Android และ iOS
เลือกเมนู Stock Signals คลิก Summary แล้วค้นหาหุ้นที่สนใจได้เลย