
Tips
“JWD ไม่ใช่แค่คลังสินค้าทั่วไปที่รับสินค้ามาเก็บแล้วขนออกไปให้ลูกค้าแล้วก็จบงาน แต่เราเป็นมากกว่านั้น เพราะกำไรที่แท้จริงมาจาก Value Added Service คือ การหาวิธีการอย่างไรก็ได้ให้ลูกค้ามีความสะดวกสบายมากที่สุด ซึ่งการดำเนินธุรกิจลักษณะนี้จะทำให้เรามีกำไรเป็นกอบเป็นกำได้มากกว่าแวร์เฮ้าส์อื่นๆ”
ดร.เอกพงษ์ ตั้งศรีสงวน กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน บมจ.เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ หรือ JWD ในฐานะผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเซนครบวงจร ครอบคลุมถึงการให้บริการรับฝากและบริหารสินค้ารวมทั้งบริการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ยืนยันภายในงาน JWD Roadshow@Bualuang
กระแส Digital Disruption ทำให้บริษัทต้องปรับเปลี่ยนระบบการทำงานในทุกส่วนงาน ที่ผ่านมาได้นำระบบหุ่นยนต์ เข้ามาใช้ในธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้ยังมีสัดส่วนน้อยเพียง 15-20% แต่ในอนาคตอาจขยับสู่ระดับ 50-60% พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่า เราจะลดจำนวนพนักงาน แต่ระบบ AI ทำให้ไม่จำเป็นต้องขยายคนมากขึ้น แม้งานจะเพิ่มขึ้นก็ตาม และหน้าที่ของคนจะไปอยู่ตรงการวิเคราะห์ข้อมูล
ล่าสุดบริษัทได้นำระบบหุ่นยนต์จากญี่ปุ่นมาช่วยทำงานในส่วนของการซ้อนของ เก็บของ ในห้องเย็นหมายเลข 8 ที่จะเปิดใช้งานในไตรมาส 3 ปี 2562 ซึ่งระบบดังกล่าวจะเข้ามาแทนที่คนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ถือเป็นการลดการพึ่งพิงแรงงานที่ในอนาคตอาจเริ่มควบคุมไม่ได้ และยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย
“CJ logistic ประเทศเกาหลี พันธมิตรของเรารายนี้ เขาโดดเด่นเรื่องเทคโนโลยีมาก โดยเฉพาะเรื่องระบบอัตโนมัติการควบคุมสินค้าคงคลัง ฉะนั้นเราคงได้รับประโยชน์จากการเป็นพันธมิตรอย่างเต็มที่”
ดร.เอกพงษ์ ทิ้งท้ายบทสนทนาว่า หลังทำธุรกิจในเมืองไทยจนอยู่ตัวแล้ว เราก็มองหาโอกาสสร้างเครือข่ายในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ในประเทศยังมีช่องทางการเติบโตก็ตาม ที่ผ่านมาเราขยายตัวผ่านเครือข่ายพันธมิตรข้ามชาติไปหลากหลายประเทศแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กัมพูชา เมียมมาร์ สปป.ลาว เวียดนาม และอินโดนีเซีย ส่วนสิงคโปร์และมาเลเซีย ดำเนินการผ่านเน็คเวิร์คของ CJ logistic จากประเทศเกาหลี
“ในอนาคต CJ logistic จะเป็นพันธมิตรที่มีความสำคัญกับเราอย่างมาก แต่ภายใน 3 ปีนี้อาจยังไม่โดดเด่นมากนักในไทย แต่เมื่อขึ้นปีที่ 4 เขาจะเป็นหนึ่งในพระเอกของเรา”

JWD กำลังคิดทำอะไร ?ที่ผ่านมา JWD ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ทุกมิติ ทั้งแนวกว้างและลึก โดยไม่หยุดเพียงการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบ ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business หรือ B2B) ที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ยังรุกเข้าไปสู่ธุรกิจผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer หรือ B2C) ด้วย ที่ผ่านมาการเติบโตของบริษัทถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. เติบโตแบบ Organic Growth เฉลี่ย 10-12% ต่อปี (เติบโตจากธุรกิจเดิม) 2. เติบโตแบบ Inorganic (เติบโตจากการควบรวม,ซื้อกิจการ) ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อจากนี้ คือ เข้าไปปรับปรุงกิจการที่เราไล่ซื้อมาก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นในเวียดนาม หรือไต้หวัน เป็นต้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างกำไรและต่อยอดธุรกิจภายในประเทศที่มีโอกาสเติบโต แต่เรายังไม่เคยทำ... นั่นคือ “ธุรกิจ E-Commerce Logistics” ซึ่งเป็นการทำธุรกิจในรูปแบบ B2C ที่ผ่านมาเราไม่มีความสามารถที่จะลงไปเล่นในตลาด Red Ocean เพราะการแข่งขันด้านราคาค่อนข้างรุนแรง แม้จะเป็นธุรกิจที่อยากทำมานานแล้วก็ตาม ฉะนั้นหากจะลงมาเล่นตลาดนี้ ต้องดูจังหวะให้ดีและต้องมีพันธมิตรที่พร้อมจะเจาะตลาด E-Commerce โดยที่เราไม่ต้องลงไปเล่นเอง ที่ผ่านมาพยายามมองหาเพื่อนใหม่มาตลอดก็มีหลายรายแวะเวียนมาพูดคุยด้วย ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น และยุโรป เป็นต้น สุดท้าย JWD ก็มาจับมือกับ “CJ logistic ประเทศเกาหลี” จัดตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อบริษัท ซีเจแอล เจดับเบิ้ลยูดี โลจิส ติกส์ จํากัด เพื่อทำธุรกิจ Logistics ครบวงจรในประเทศไทย และเป็นตัวแทนในการพัฒนาธุรกิจ หากใครที่ติดตามข่าวจะเห็นว่า CJ logistic เข้าไปลงทุนในหลากหลายประเทศทั่วโลก เพราะต้องการเข้าไปจับตลาด B2B2C ซึ่งเราก็จะทำตลาด B2B ให้เขา อีกหนึ่งงานที่น่าสนใจมาก คือ “ธุรกิจ Project cargo Logistics” บริการขนย้ายสินค้าโครงการที่ต้องมีนักวิศวกรรมคอยควบคุมดูแล เช่น โรงกลั่น และโรงไฟฟ้า เป็นต้น เราอยากทำมานานแล้ว เพราะเป็นตลาดที่มีความต้องการสูง ล่าสุดได้จับมือกับพันธมิตรสิงคโปร์ที่มีเทคโนโลยีเกี่ยวกับงานนี้โดยเฉพาะแล้ว จากนี้คงจะเห็นเราทำงานนี้มากขึ้นเรื่อยๆ
JWD ไม่ใช่แค่คลังสินค้าทั่วไปหลายคนอาจมอง JWD เป็นเพียงผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ทั่วไป แต่จริงๆ แล้วเราทำมากกว่านั้น ยกตัวอย่างให้พอเห็นภาพ “ธุรกิจให้บริการรับฝากและบริหารสินค้า” ที่สร้างเงินหลักให้บริษัทในสัดส่วนเฉลี่ย 56.2% หนึ่งในสินค้าที่รับฝากและบริหาร คือ สินค้าประเภทรถยนต์ วันนี้เราไม่ได้มีหน้าที่แค่ขนส่งรถให้ค่ายรถยต์ต่างๆ แต่ยังทำหน้าที่ Operation ให้กับลูกค้าด้วย เช่น ซ่อมสีรถ ติดสปอยเลอร์ ใส่คู่มือยางอะไหล่ และตรวจรถยนต์ก่อนส่งออกให้กับลูกค้า เป็นต้น ธุรกิจอาหารก็เช่นกัน เมื่อก่อนอาจทำหน้าที่แค่รับฝากสินค้าแช่เย็นแช่แข็งและขนส่งเป็นหลัก แต่ตอนนี้เราทำงานครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบสำหรับลูกค้า กระบวนการแปรรูปและการผลิต การจัดเก็บสินค้า การขนส่งกระจายสินค้า รวมไปถึงเป็นตัวแทนการนำเข้าส่งออกสินค้าเกี่ยวกับอาหาร (Brand Representative) เป็นต้น ล่าสุดได้ตกลงเซ็นสัญญาซื้อขายหุ้นกับ CSLF ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไต้หวันที่ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านอาหาร (Food Service) ซึ่งมีความแข็งแกร่งด้านการทำ Food Service จากฐานซัพพลายเออร์อาหารที่มีอยู่ทั่วโลกสามารถขยายตลาดสำหรับฐานลูกค้าทั้งในไทยและอาเซียน โดยกลุ่มธุรกิจอาหารสามารถใช้คลังห้องเย็นที่บริษัทมีในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเป็นฮับในการกระจายสินค้า เราจะมุ่งหน้าสู่การเป็นผู้ให้บริการซัพพลายเชนสำหรับอุตสาหกรรมอาหารในภูมิภาคอาเซียน (Regional Food SupplyChain Service) เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและช่วยลดความเสี่ยงด้วยการมีฐานสินค้าอยู่ในมือ
“วันนี้ลูกค้าต้องการบริการที่แตกต่าง เราจึงต้องปรับตัว” เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก JWD ตั้งรับอิทธิพลนี้อย่างไร ?

JWD อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโตรอบด้าน ฐานการผลิตของเราอยู่ในเมืองไทยที่มีโลเคชั่นได้เปรียบประเทศอื่น ฉะนั้นเชื่อว่า ภายใน 3 ปีจากนี้ รายได้จะเติบโตก้าวกระโดด เพราะเราจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา...“เม่าจำไม By Bualuang Securities” จะมาเล่าเรื่องอะไรให้ฟังอีก รอติดตามนะคะ....