QAFunds
QAFunds

10 ข้อควรรู้…ก่อนลงทุนในกองทุนรวม

10 ข้อควรรู้…ก่อนลงทุนในกองทุนรวม

10 ข้อควรรู้…ก่อนลงทุนในกองทุนรวม

 

ลงทุนกองทุนรวมให้เข้าใจมากขึ้นมีข้อควรรู้อะไรบ้างนะ…วันนี้ทางทีม BLS Mutual Funds ได้รวบรวมประเด็นคำถามที่หลายๆท่านอาจจะยังมีข้อสงสัยในเรื่องของข้อมูลการลงทุน เราจึงขอนำ 10 ข้อควรรู้ก่อนลงทุนในกองทุนรวมมาฝากทุกท่าน ดังนี้ค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปติดตามกันได้เลยค่ะ


1. การซื้อกองทุนรวมต้องระบุ “จำนวนเงิน”

โดยการซื้อกองทุนนั้นสามารถระบุเป็นจำนวนบาทได้เลยว่าผู้ลงทุนมีความต้องการลงทุนเท่าไหร่ ซึ่งแต่ละกองทุนจะมีขั้นต่ำที่แตกต่างกันไป เช่น 1,000 บาท, 500 บาท หรือ ไม่มีขั้นต่ำ ทำให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อการลงทุน ที่สำคัญคือ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนเยอะก็สามารถลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายคัดเลือกหุ้นที่หลากหลาย ช่วยกระจายความเสี่ยงได้นั่นเองค่ะ
 
Slide2.JPG
 

2. กองทุน IPO จะกำหนดราคาหน่วยละ 10 บาท
กองทุนที่มีการออกเสนอขายในครั้งแรก (IPO) จะมีราคาหน่วยละ 10 บาททุกกองทุน โดยภายหลังจากเสนอขายช่วง IPO ผ่านไป กองทุนก็จะไปจดทะเบียนในตลาดและราคาก็จะแปรผันไปตามผลการดำเนินงานของกองทุนที่ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ ความสามารถของผู้จัดการกองทุน นโยบายที่กองทุนลงทุนและสถานการณ์ตลาดในช่วงนั้นๆ
 
Slide3.JPG


3. การขายกองทุนสามารถเลือกระบุได้
จากที่เราให้ข้อมูลไปว่าการซื้อกองทุนต้องระบุเป็นจำนวนเงินเท่านั้น แต่ในฝั่งของการขาย ผู้ลงทุนสามารถเลือกได้เลยว่าต้องการขายเป็น จำนวนบาท/จำนวนหน่วย/ขายทั้งหมด เพื่อสามารถเลือกขายบางส่วนตามที่เราต้องการได้ค่ะ
 
Slide4.JPG


4. ซื้อ/ขาย กองทุนวันนี้ ได้ NAV วันไหน?
หากผู้ลงทุนมีการซื้อขายกองทุนในช่วงเวลาทำการของแต่ละกอง (สามารถดูเวลาซื้อขายได้จากข้อมูลใน Fund Fact Sheet หรือแอปพลิเคชั่น Streaming Fund+) ท่านจะได้ราคา NAV ณ สิ้นวันที่ตลาดปิดโดยขึ้นอยู่กับโซนเวลาของแต่ละประเทศที่กองทุนไปลงทุนด้วย หากเป็นโซนเอเชียก็จะเป็นช่วงบ่ายๆ แต่หากโซนยุโรป หรือสหรัฐฯ ก็จะได้ราคาช่วงตลาดปิดตอนกลางคืนของคืนๆนั้น
 
Slide5.JPG


5. ยังไม่ได้รับเงินทันทีเมื่อขายกองทุน
หากขายกองทุนเรียบร้อย ผู้ลงทุนจะยังไม่ได้รับค่าขายคืนทันที โดยจะต้องรอการจัดสรรหน่วยลงทุนและคำนวณ NAV จากทางบลจ.
  • กองทุนตลาดเงิน จะได้รับค่าขายคืนประมาณ 1 วันทำการ
  • กองทุนหุ้นไทย จะได้รับค่าขายคืนประมาณ 3 วันทำการ
  • กองทุนหุ้นต่างประเทศ จะได้รับค่าขายคืนประมาณ 5 วันทำการ
แต่ทั้งนี้ระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบลจ.ด้วยค่ะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Fund Fact Sheet ของแต่ละกองทุน
 
Slide6.JPG


6. ซื้อกองทุนแล้วทำไมไม่ได้ NAV ตามที่เห็น
เนื่องจากกองทุนจะมีค่าธรรมเนียมในการซื้อที่แตกต่างกันตามนโยบายและการบริหารของแต่ละกอง เช่น 0.5%, 1.00%, 1.25%, 1.50% หรือไม่เก็บค่าธรรมเนียม ยกตัวอย่างกองทุนที่เก็บค่าธรรมเนียม 1% ตามภาพ
 
Slide7.JPG
 

นอกจากค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บตอนซื้อหรือค่าธรรมเนียมขายกองทุน (Front-End Fee) แล้ว ระหว่างทางที่เราลงทุนก็จะมีค่าธรรมเนียมต่างๆในการบริหาร ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุน โดยคิดเป็นต่อปีและรวมเข้าไปใน NAV เรียบร้อยแล้ว หากผู้ลงทุนมีการขายกองทุนออก บางกองทุนอาจจะมีค่าธรรมเนียมขายออกหรือเรียกว่าค่าธรรมเนียมในการรับซื้อคืน (Back-End Fee) ด้วยเช่นกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายของกองทุนนั้นๆ
 
Slide8.JPG
  

7. ขีดต่าง เช่น –A, -D, -R ที่ตามหลังชื่อกองทุนคืออะไร
เราจะเห็นได้ว่าบางกองทุนชื่อเหมือนกัน แต่มีขีดต่อท้ายต่างๆนั้นคืออะไร พูดสั้นๆก็คือ ขีดเหล่านั้นเป็นชื่อประเภท หรือเป็นคลาสของกองทุนนั่นเองค่ะ ซึ่งบางกองเป็นกองเดียวกัน แต่มีให้ผู้ลงทุนได้เลือกหลากหลายประเภทตามความต้องการ เช่น คลาสสะสมมูลค่า, คลาสปันผล หรือลดหย่อนภาษี เป็นต้น
 
Slide9.JPG
  

8. กองทุน Passive หรือ Active ดีกว่ากัน
การเลือกลงทุนในกองทุนประเภท Passive Income คือมุ่งเน้นให้ผลตอบแทนล้อไปตามดัชนี หรือกองทุนประเภท Active Income ที่มุ่งเน้นให้ผลตอบแทนชนะตลาด ก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ลงทุนว่าเราสามารถรับความเสี่ยงได้แบบไหน หรือจะเลือกแบ่งสัดส่วนการลงทุนทั้งกองทุนแบบ Passive และแบบ Active ก็ย่อมได้เหมือนกันค่ะ
 
Slide10.JPG

 
9. ทุนน้อยแต่อยากกระจายการลงทุนทำอย่างไรดี
หากเรามีเงินลงทุนเริ่มต้นที่ไม่สูง แต่ต้องการลงทุนแบบกระจายสินทรัพย์ที่หลากหลายทั้งในตราสารหนี้ ตราสารทุน (สินทรัพย์เสี่ยง) หรือสินทรัพย์โภคภัณฑ์ หรือสำหรับนักลงทุนที่ไม่ค่อยมีเวลาติดตามพอร์ต แต่ต้องการกระจายการลงทุนเพื่อรับโอกาสการเติบโตและยังช่วยลดความผันผวนของพอร์ตได้ เราขอแนะนำการลงทุนแบบ Asset Allocation ที่เน้นกระจายการลงทุนที่หลากหลาย ผสมสินทรัพย์ต่างๆ อย่างเช่น กองทุน BCAP Global Wealth ของบลจ.บางกอกแคปปิตอล ก็มีให้เลือกสัดส่วนถึง 5 แบบตั้งแต่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงไม่เกิน 10% จนถึงไม่เกิน 90%
 
Slide11.JPG
 
 
10. กองทุนปันผลหรือไม่ปันผลแบบไหนดีกว่ากัน
ทั้งกองทุนแบบมีการจ่ายปันผลและไม่จ่ายปันผลออกมา ต่างมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ลงทุนชอบให้มีการจ่ายผลตอบแทนออกมาระหว่างทางหรือไม่ ซึ่งก็มีข้อแตกต่างกันดังนี้ค่ะ
 
Slide12.JPG

Slide13.JPG
 
📌 สนใจเปิดบัญชีกองทุนรวมกับหลักทรัพย์บัวหลวง คลิก
📌 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ BLS Customer Service โทร 0-2618-1111

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง