
ทำไมหุ้นต่างประเทศบางตัว ต้องแบ่งระดับออกเป็น Class A Class B บางบริษัทแบ่งระดับของหุ้นไปจนถึง Class C… การแบ่งระดับหุ้นแบบนี้ มีความเหมือนและความต่างอย่างไร ไปติดตามอ่านกันค่ะ…
เหตุผลหลัก ๆ ของการที่บริษัทออกหุ้นและแบ่งหุ้นออกเป็นแต่ละ Class ก็เป็นเพราะ… บริษัทหลาย ๆ บริษัทยังต้องการรักษาอำนาจในการตัดสินใจภายในบริษัทและลดโอกาสที่บริษัทจะถูกซื้อกิจการหรือถูก Takeover ไป
โดยระดับของหุ้นจะบอกถึงความแตกต่างของสิทธิ์ในการออกเสียง (Level of voting rights) ของผู้ถือหุ้นนั้น ๆ ไว้อย่างชัดเจน และยิ่งไปกว่านั้น ระดับของสิทธิ์ในการออกเสียงในแต่ละบริษัทก็มีความแตกต่างเช่นดียวกัน ดังนั้นก่อนที่นักลงทุนจะเลือกลงทุนในหุ้น Class A และ Class B หรือ Class อื่น ๆ ควรจะต้องศึกษาความแตกต่างเป็นรายตัว โดยนักลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในข้อบังคับ (Bylaw) และกฏบัตร (Charter) ของบริษัทนั้นๆ
1. หุ้นที่ไม่แบ่ง Class
เป็นหุ้นที่เราเห็นกันทั่วไป บริษัทส่วนใหญ่ในปัจจุบันเลือกที่จะไม่แบ่ง Class ของหุ้น โดยจะให้สิทธิ์ในการออกเสียงกับผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของการถือหุ้น โดย 1 หุ้น 1 สิทธิ์ เช่น AAPL, MSFT, AMZN, TSLA
2. หุ้นที่นักลงทุนซื้อได้มีเพียงหุ้น Class A
เป็นอีกการแบ่ง Class ของหุ้นอีกประเภทหนึ่งที่นักลงทุนทั่วไปลงทุนได้เฉพาะหุ้น Class A และสำหรับหุ้น Class B จะมีไว้เพื่อผู้ก่อตั้งและกลุ่มผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจำกัดการตัดสินใจและการออกเสียงภายในบริษัทของนักลงทุนภายนอก อีกทั้งลดโอกาสที่นักลงทุนจะซื้อกิจการหรือ Takeover เช่น FB, ABNB, 9618
3. หุ้นที่นักลงทุนซื้อได้ทั้ง Class A & B
การแบ่งหุ้นประเภทนี้ เปิดโอกาสให้นักลงทุนทั่วไป เลือกซื้อได้ทั้ง 2 ตัว โดยความแตกต่างที่สำคัญ นอกจากในเรื่องของราคาซื้อขายแล้ว ได้แก่ สิทธิ์ในการออกเสียง อาทิ หุ้น Class A มักจะไม่มีสิทธิ์ในการออกเสียง ในขณะที่หุ้น Class B จะมีสิทธิ์ในการออกเสียง เช่น FOXA/FOX, NWSA/NWS
แต่สำหรับหุ้น BRK หรือหุ้นของบริษัท Berkshire Hathaway นั้น หุ้นที่นักลงทุนสามารถซื้อขายได้ คือ BRK/A และ BRK/B แต่ราคาของหุ้น BRK/A จะสูงมาก และอยู่ที่ประมาณ 10.6 ล้านบาทต่อหุ้น (352,800 เหรียญสหรัฐฯ) และมีสิทธิ์ในการออกเสียงถึง 10,000 สิทธิ์ ในขณะที่หุ้น BRK/B ราคาอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อหุ้น (235 เหรียญสหรัฐฯต่อหุ้น) เท่านั้น โดยที่ราคาต่างกันถึง 1,500 เท่า
4. หุ้นที่นักลงทุนซื้อได้ทั้ง Class A & C
โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะการแบ่งหุ้นเช่นนี้ จะมีลักษณะคล้ายกับแบบก่อนนี้ เพียงแต่ นักลงทุนทั่วไปสามารถซื้อขายได้ทั้งหุ้น Class A และ Class C และสำหรับหุ้น Class B จะมีไว้สำหรับผู้ก่อตั้งและผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น อีกทั้งความแตกต่างของหุ้น Class A และ C ก็คือ ส่วนใหญ่แล้ว หุ้น Class A มักจะมีสิทธิ์ในการออกเสียง ในขณะที่หุ้น Class C จะไม่มีสิทธิ์ในการออกเสียงใด ๆ เช่น GOOGL/GOOG, UAA/UA, DISCA/DISCK
ตางรางเปรียบเทียบของหุ้น Class A และ Class B
สรุปแล้วหุ้นที่เราคุ้นเคย อาทิ หุ้นบริษัท Facebook, Berkshire Hathaway, Alphabet ฯลฯ ล้วนมีหลาย Class “ทีม BLS Global Investing” ขอยกตัวอย่างหุ้นในตลาดสหรัฐฯและตลาดฮ่องกงที่แบ่งระดับของหุ้น นักลงทุนหลักทรัพย์บัวหลวงสามารถเลือกลงทุนได้ และหากลงทุนแล้ว สามารถมีสิทธิ์ออกเสียงภายในบริษัทฯ ไว้ดังนี้…
อีกทั้งยังมีหุ้นอื่น ๆ ที่มีหลาย Class หรือที่เรียกว่า “Multiple class share” อีกมาก นักลงทุนสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในรายงานข้อมูลหุ้นในแต่ละบริษัทนะคะ
สัปดาห์หน้าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร ฝากติดตามกันได้ใน Facebook : Bualuang Securities หรือผ่านเว็บไซต์ที่เรามีไว้สำหรับแชร์ข้อมูลการลงทุนต่างประเทศรอบด้านที่ https://knowledge.bualuang.co.th/article-categories/globalinvesting/
📌 เปิดบัญชีลงทุนต่างประเทศออนไลน์ง่าย ๆ สไตล์ BLS Global Investing ได้ที่ https://bls.tips/openglobalinvesting
📌 ขยายวันโอนเงินไปต่างประเทศกับหลักทรัพย์บัวหลวง ฟรี! ค่าธรรมเนียมโอนเงิน ทุกวันอังคาร และ วันพุธตลอดวัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://bls.tips/globalinvesttransfer