.jpg)
By BLS Auto Investing
“US Fixed Income ETF Portfolio” หรือ “USFIXEDETF” เป็นการจัดพอร์ตหุ้นต่างประเทศอัตโนมัติ โดยมีกลยุทธ์ คือ เน้นกระจายการลงทุนใน ETF ที่อ้างอิงตราสารหนี้สหรัฐฯ (Bond ETF) พร้อมทั้งมีนโยบายปรับสัดส่วนพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมตามสภาวะตลาด เศรษฐกิจ ทิศทางดอกเบี้ย และมีการติดตามการลงทุนอย่างสม่ำเสมอโดยผู้เชี่ยวชาญ
Bond ETF คืออะไร
Bond ETF เป็น ETF ที่เน้นสร้างผลตอบแทนอ้างอิงตามดัชนีราคาตราสารหนี้ ซื้อขายได้ในตลาดหุ้น โดยในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ตลาดทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก มี Bond ETF รวมแล้วกว่า 598 ตัว และมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการรวมกันกว่า 50 ล้านล้านบาท
จุดเด่นของ Bond ETF
- ใช้เงินลงทุนขั้นต่ำไม่สูงมาก
- มีการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้หลายรุ่น
- มีสภาพคล่องสูง ซื้อขายได้สะดวกในตลาดหุ้นและมีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker)
- มีการจ่ายปันผลที่สม่ำเสมอ
- ไม่มีวันหมดอายุ เพราะมีการปรับพอร์ตตลอด
ทั้งนี้ Bond ETF จำแนกออกเป็นหลายประเภท เช่น แบ่งตามอายุคงเหลือ แบ่งตามอันดับความน่าเชื่อถือ แบ่งตามอุตสาหกรรมของผู้ออกตราสารหนี้ เป็นต้น ทำให้นักลงทุนอาจต้องใช้ระยะเวลานานในการทำความเข้าใจลักษณะของตราสาร รวมไปถึงการจัดพอร์ตและปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจากรูปแสดงตัวอย่างผลตอบแทนจากการลงทุนใน Bond ETF แต่ละประเภท หากลงทุนเฉพาะ ETF ตราสารหนี้ระยะสั้น (Short-Term Bond) ก็จะได้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอและมีความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนโดยรวมน้อย ในทางกลับกันหากลงทุนเฉพาะ ETF ตราสารหนี้ระยะยาว (Long-Term Bond) ก็จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงมากในบางช่วง แต่มีความผันผวนมากและมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนได้มากในบางช่วงเช่นกัน และถึงแม้ว่าจะกระจายการลงทุนแบบถ่วงน้ำหนักเท่ากัน (Equal Weighted) จะช่วยเฉลี่ยผลตอบแทนและความผันผวนจากตราสารหนี้แต่ละประเภทได้ในระดับหนึ่ง แต่จะดีกว่าไหมถ้ามีผู้เชี่ยวชาญคอยปรับสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ เช่น ถือตราสารหนี้ระยะยาวในสัดส่วนที่มากขึ้น เพื่อเพิ่มผลตอบแทนช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาลง หรือเน้นถือตราสารหนี้ระยะสั้นในช่วงที่เศรษฐกิจมีความเสี่ยงสูงเพื่อลดความผันผวนและรับผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอน เป็นต้น

หมายเหตุ:
- ผลตอบแทนจากการทดสอบย้อนหลังเป็นสกุลเงิน USD โดยรวมเงินปันผลแต่ไม่ได้นำมาลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในช่วงเวลา 01/02/2017 – 28/12/2023 (โดยรวมค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์และภาษีเงินปันผลหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 30% แต่ยังไม่ได้รวมค่าธรรมเนียมจัดการกองทุนในอัตรา 0.3% ต่อปี)
- จำนวนเงินลงทุนที่ต่างกันอาจส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมีความแตกต่างจากผลการทดสอบย้อนหลัง หรือผลการดำเนินงานในอดีต ทั้งนี้ผลการทดสอบย้อนหลังหรือผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนจากการลงทุนในอนาคต
ด้วยเหตุนี้ หลักทรัพย์บัวหลวงจึงได้นำเสนอทางเลือกการลงทุน “Dynamic Income USD ETF” หรือ “DIF” ที่จะมาช่วยคัดเลือก Bond ETF แต่ละประเภท รวมถึงคอยปรับสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับภาวะตลาด เศรษฐกิจ ทิศทางดอกเบี้ย และมีการติดตามการลงทุนให้อย่างสม่ำเสมอ
ปัจจัยในการคัดเลือก ETF ใน US Fixed Income ETF Portfolio (USFIXEDETF)
- การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เช่น
- นโยบายการลงทุนสอดคล้องกับกลยุทธ์
- ผู้ออก ETF มีความน่าเชื่อถือ
- การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เช่น
- ขนาดสินทรัพย์ภายใต้การจัดการของ ETF มีขนาดใหญ่
- มีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ
- ผลการดำเนินงานย้อนหลังโดดเด่น
- ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวมต่ำ
จุดเด่นของ US Fixed Income ETF Portfolio (USFIXEDETF)
- คัดเลือกและกระจายการลงทุนใน ETF ตราสารหนี้สหรัฐฯ
- ได้รับเงินปันผลสม่ำเสมอ
- บริหารพอร์ตโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและระบบบริหารพอร์ตอัตโนมัติ
- ปรับสัดส่วนพอร์ตการลงทุนให้ตามสถานการณ์ เช่น
- ช่วงอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูง (Peaked Policy)
- ช่วงอัตราเงินเฟ้อขาขึ้น (Rising Inflation)
- ช่วงการเติบโตปกติ (Goldilocks)
- ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น (Rising Interest)
- ช่วงนโยบายการเงินแบบเข้มงวด (Hawkish Policy)
- ช่วงตลาดมีความเสี่ยงสูง (High Economic Risk)
- ติดตามการลงทุนได้ทุกเวลาผ่านหน้าเว็บไซต์ของหลังทรัพย์บัวหลวง


หมายเหตุ:
- Benchmark : คำนวณโดยใช้ Bloomberg US Aggregate Total Return 100%
- ผลตอบแทนจากการทดสอบย้อนหลังเป็นสกุลเงิน USD โดยรวมเงินปันผลแต่ไม่ได้นำมาลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในช่วงเวลา 01/02/2017 – 31/05/2023 (โดยรวมค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์และภาษีเงินปันผลหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 30% แต่ยังไม่ได้รวมค่าธรรมเนียมจัดการกองทุนในอัตรา 0.3% ต่อปี)
- จำนวนเงินลงทุนที่ต่างกันอาจส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมีความแตกต่างจากผลการทดสอบย้อนหลัง หรือผลการดำเนินงานในอดีต ทั้งนี้ผลการทดสอบย้อนหลังหรือผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนจากการลงทุนในอนาคต
จากรูปผลตอบแทนจากการทดสอบย้อนหลังเป็นการจำลองการลงทุนตามกลยุทธ์ USFIXEDETF โดยเริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการใช้สัดส่วนการลงทุนที่แตกต่างกันตามสภาวะเศรษฐกิจ เช่น ในช่วงปี 2017 ถึง ปลายปี 2018 เป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยค่อยๆปรับตัวเพิ่มขึ้น (Rising Interest) ส่งผลให้ตราสารหนี้ที่อายุคงเหลือยาวมีความผันผวน กลยุทธ์จึงเน้นถือตราสารหนี้ระยะสั้นเป็นหลัก ทำให้มูลค่าพอร์ตการลงทุน (เส้นสีฟ้า) ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ผันผวนต่ำ และทำได้ดีกว่า Benchmark (เส้นสีส้ม) เป็นต้น

หมายเหตุ:
- Benchmark : คำนวณโดยใช้ Bloomberg US Aggregate Total Return 100%
- ผลตอบแทนจากการทดสอบย้อนหลังเป็นสกุลเงิน USD โดยรวมเงินปันผลแต่ไม่ได้นำมาลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในช่วงเวลา 01/02/2017 – 28/12/2023 (โดยรวมค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์และภาษีเงินปันผลหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 30% แต่ยังไม่ได้รวมค่าธรรมเนียมจัดการกองทุนในอัตรา 0.3% ต่อปี)
- จำนวนเงินลงทุนที่ต่างกันอาจส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมีความแตกต่างจากผลการทดสอบย้อนหลัง หรือผลการดำเนินงานในอดีต ทั้งนี้ผลการทดสอบย้อนหลังหรือผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนจากการลงทุนในอนาคต
จากรูปแสดงการปรับตัวลงของพอร์ตการลงทุนจากจุดสูงสุดในแต่ละช่วงเวลา โดยจะเห็นได้ว่าความเสี่ยงสูงสุดที่กลยุทธ์เคยปรับตัวลดลงคือ -14.02% (เส้นสีฟ้า) ในปี 2020 ที่หลายๆสินทรัพย์มีการปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ของ Benchmark -18.41% (พื้นที่สีส้ม) ในปี 2021-2022 ที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาตราสารหนี้ที่อายุคงเหลือยาวปรับตัวลดลงอย่างมาก
สรุปผลตอบแทนและความเสี่ยงของ US Fixed Income ETF Portfolio

หมายเหตุ:
- Benchmark : คำนวณโดยใช้ Bloomberg US Aggregate Total Return 100%
- ผลตอบแทนจากการทดสอบย้อนหลังเป็นสกุลเงิน USD โดยรวมเงินปันผลแต่ไม่ได้นำมาลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในช่วงเวลา 01/02/2017 – 28/12/2023 (โดยรวมค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์และภาษีเงินปันผลหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 30% แต่ยังไม่ได้รวมค่าธรรมเนียมจัดการกองทุนในอัตรา 0.3% ต่อปี)
- จำนวนเงินลงทุนที่ต่างกันอาจส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมีความแตกต่างจากผลการทดสอบย้อนหลัง หรือผลการดำเนินงานในอดีต ทั้งนี้ผลการทดสอบย้อนหลังหรือผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนจากการลงทุนในอนาคต
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- ความเสี่ยงจากภาวะราคา ETF ในตลาดผันผวน
- ความเสี่ยงเฉพาะจากบริษัทจัดการ ETF
- ความเสี่ยงเฉพาะประเทศ (Country Risk) เช่น เศรษฐกิจ, กฎหมาย, การเมือง, ภาษี เป็นต้น
- ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ค่าธรรมเนียมประกอบด้วย
- ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (Brokerage Fee) เป็นไปตามที่บริษัทประกาศกำหนด รายละเอียดคลิกที่นี่ https://bls.tips/globalinvestingfee
- ค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุน (Management Fee) ในอัตราร้อยละ 0.3 ต่อปี ของมูลค่าสินทรัพย์ (ซึ่งอัตราดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
โทรศัพท์ 0-2618-1111 หรือ Email : [email protected]