
Global

รู้หรือไม่...นักลงทุนสามารถลงทุนในหุ้นต่างประเทศทั่วโลก ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ง่ายๆ ด้วย ADR 🤩 แต่ ADR คืออะไร มีความน่าสนใจ และแตกต่างจากหุ้นทั่วไปอย่างไร วันนี้ทีม BLS Global Investing จะมาไขข้อสงสัย พร้อมยกตัวอย่าง ADR จากบริษัททั่วโลกมาให้ดูกันค่ะ
ADR คืออะไร ?
ADR หรือ American Depositary Receipt คือตราสารที่ออกโดยสถาบันการเงินในสหรัฐฯ (Depositary banks) เพื่อให้นักลงทุนสามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทในประเทศต่างๆ ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ พูดง่ายๆ ก็คือเป็นหุ้นต่างประเทศที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยกตัวอย่างเช่น BABA.US คือ Alibaba เป็นหุ้นบริษัทจีน (9988.HK), UL.US คือ Unilever เป็นหุ้นยุโรป (ULVR.UK) ที่มาจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เป็นต้น ซึ่งหุ้นเหล่านี้เรียกว่า ADR
ADR นั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อให้นักลงทุนสามารถหลีกเลี่ยงความซับซ้อนในการซื้อหุ้นต่างประเทศ เป็นการสร้างความสะดวกให้กับนักลงทุนชาวอเมริกันในการลงทุนในบริษัทต่างชาติที่มีศักยภาพ รวมถึงยังสะดวกต่อนักลงทุนไทย ให้สามารถลงทุนในบริษัทชั้นนำจากหลายประเทศทั่วโลก ด้วยเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เดียว !
กลไกของ ADR

นักลงทุนไทยสามารลงทุนในหุ้น ADR ได้ง่ายๆ เพียงเปิดบัญชีต่างประเทศกับบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง และทำการซื้อขาย ADR ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผ่านแพลตฟอร์ม Global Trade Master แพลตฟอร์มลงทุนต่างประเทศใหม่ล่าสุดจาก BLS Global Investing ได้เลยค่ะ 🤩
ADR ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ แตกต่างจากหุ้นต่างประเทศที่จดทะเบียนในตลาดนั้นๆ อย่างไร
1. ADR มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมคือ ADR Fee ที่เก็บโดย Depositary bank
เนื่องจาก ผู้ออก ADR มักเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการเก็บรักษาหลักทรัพย์ (Custody fee หรือ Depositary service fee) หรือที่เรียกว่า “ADR fee” จากผู้ลงทุน โดยอาจเรียกเก็บเป็นรายปี รายไตรมาส หรืออื่นๆ ขึ้นอยู่กับ ADR แต่ละตัว ดังนั้น ผู้ที่ถือหุ้น ADR ในระยะเวลาที่กำหนด (Record date) จะต้องถูกเรียกเก็บ ADR fee ด้วย (หลักการเดียวกับการจ่าย Dividend ที่เมื่อถือหุ้นในระยะเวลา record date ก็จะได้รับเงินปันผล แม้จะขายหุ้นนั้นออกไปแล้วก็ตาม)
ซึ่ง ADR fee ของหุ้นแต่ละตัวไม่เท่ากัน อยู่ในระหว่าง 1-5 cent per share เช่น หากนักลงทุนถือ BABA.US 400 หุ้น และ ADR fee เท่ากับ 2 cents per share ดังนั้น นักลงทุนจะถูกเรียกเก็บ ADR fee เท่ากับ USD 8 เป็นต้น
2. ADR มีสัดส่วนแตกต่างกับ หุ้นต่างประเทศ ที่จดทะเบียนอยู่ในประเทศนั้นๆ
เช่น BABA.US 1 ADR : หุ้น Alibaba (9988.HK) 8 หุ้น
ทั้งนี้โดยส่วนมากแล้ว นักลงทุนสามารถตรวจสอบ ข้อมูล ADR Fee และสัดส่วน ADR ต่อหุ้น ได้ที่เว็บไซต์ธนาคารสหรัฐฯ (Depositary bank) 4 แห่ง ผู้ออกหลักทรัพย์ได้เลยค่ะ Deutsche Bank, Citibank, JP Morgan และ Bank of New York Mellon 😊
ตัวอย่าง ADR ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ

🚨 นักลงทุนสามารถลงทุน ADR ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ แบบสะดวก ง่าย ได้แล้ววันนี้ ผ่านแพลตฟอร์มลงทุนต่างประเทศใหม่ล่าสุด “Global Trade Master” จากหลักทรัพย์บัวหลวง ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.bualuang.co.th/globaltrademaster
🚨 เปิดบัญชีลงทุนต่างประเทศออนไลน์ง่ายๆ สไตล์ BLS Global Investing ลงทุนได้ทั้งหุ้นและ ETF ที่จดทะเบียนในตลาดต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง และเวียดนาม ได้ที่ https://bls.tips/openglobalinvesting-wc
ที่มา: BLS Global Investing
เรียบเรียงโดย:
ศิวพรรณ ประดิษฐ์กุล, Assistant Vice President: Global Investing Solutions, บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง
ภัทริกา สุทนุจินดา, Supervisor: Global Investing Solutions, บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง
ข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. 66