
ตัวอย่างข้อดีในการลงทุน ETF
ETF มีลักษณะคล้ายกับหุ้น + กองทุนรวม กล่าวคือ สามารถซื้อขายได้แบบ Real-time บนตลาดหุ้น สามารถรู้ราคาซื้อขายได้ทันที ต่างจากการซื้อขายกองทุนรวมที่ต้องรอราคา NAV หลายวัน อีกทั้งการซื้อ ETF เพียง 1 ตัว เปรียบเสมือนการซื้อตะกร้าหุ้นหลายตัวในเวลาเดียวกัน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยง หรือ ต้องการลงทุนอ้างอิงดัชนีใดดัชนีหนึ่ง
นอกจากนี้การลงทุนใน ETF มีอีกข้อดีที่น่าสนใจ คือ นักลงทุนไม่จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจัดการ 2 ต่อ เหมือนกับกองทุนรวมต่างประเทศ (FIF) ที่มักจะมีค่าธรรมเนียมการจัดการต่อแรกมาจากกองทุนหรือ ETF ต้นทาง และต่อที่สองมาจากกองทุน FIF ในไทยเป็นผู้เรียกเก็บเอง
ทั้งนี้ จากที่ได้เกริ่นไปว่า ETF สามารถซื้อขายได้เหมือนหุ้น ดังนั้นจึงมีค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ที่ใช้บริการ ซึ่งจริงๆ แล้ว อาจเปรียบได้กับค่าธรรมเนียมซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (Front/Back End Fee)
1. Vanguard S&P 500 ETF (VOO.US)
- ETF ที่ออกโดยบริษัท Vanguard หนึ่งในบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดย VOO จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซื้อขายกันในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ กระจายการลงทุนไปกว่า 507 หุ้น
- VOO เป็น ETF ที่ลงทุนอิงกับดัชนี S&P 500 ซึ่งเป็นดัชนีหลักของสหรัฐฯ ประกอบไปด้วยหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ทั้งหมดกว่า 505 หุ้น ดังนั้นผลตอบแทนของ VOO มักจะสอดคล้องไปกับผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 นั่นเอง เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนในสหรัฐฯ ไปมากกว่า 500+ หุ้นในจำนวนเงินลงทุนที่ไม่สูงนัก และเล็งเห็นถึงศักยภาพในการเติบโตของเหล่าบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ในอนาคต
- ดัชนี S&P 500 เป็นดัชนีที่คำนวณสัดส่วนภายในดัชนี ตามมูลค่าตลาดหรือ Market Capitalization โดย ณ วันที่ 30 มิ.ย. 64 มูลค่าตลาดของดัชนี S&P 500 รวมอยู่ที่ราว 36.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ราคาปิด ณ 22 ก.ย. 64: 403.90 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นราว 13,417 บาท
ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.03% ต่อปี
มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 805.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
2. ChinaAMC CSI 300 Index ETF (3188.HK)
- ETF ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง มีสัญลักษณ์หรือ Ticker คือ 3188 นั่นเอง โดยเป็น ETF ที่ออกโดยบริษัท China AMC อีกทั้งเลือกลงทุนอิงกับดัชนี CSI 300 ซึ่งเป็นดัชนีหลักของจีนนั่นเอง…
- การลงทุนใน 3188 เปรียบเสมือนการเข้าลงทุนในกว่า 300 หุ้นที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของจีน โดยประเทศจีนเติบโตแข็งแกร่ง โดยข้อมูลจาก Trading Economics เปิดเผยว่า GDP ต่อปีโตเฉลี่ยที่ราว 9.27% เทียบกับปีก่อน นับตั้งแต่ปี 1989 ถึงปี 2021 อีกทั้ง GDP ไตรมาส 1 ปี 64 ที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของ GDP อยู่ที่ 18.3% เทียบกับไตรมาส 1 ปี 63 นับว่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
ราคาปิด ณ 23 ก.ย. 64: 59.58 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือคิดเป็นราว 254 บาท
ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.7% ต่อปี
มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 14.5 พันล้านหยวนจีน
3. Global X DAX Germany ETF (DAX.US)
- ETF ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเป็น ETF ที่ออกโดยบริษัท Global X
- DAX ETF เป็นเพียง ETF หนึ่งเดียวที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น NASDAQ ที่ลงทุนอิงกับดัชนี DAX ซึ่งเป็นดัชนีหลักของประเทศเยอรมัน เพื่อเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนในสหรัฐฯ และทั่วโลกลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่จำนวนกว่า 41 บริษัท และเป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องสูง อีกทั้งมีการกระจายไปยังหลายกลุ่มธุรกิจอีกด้วย
- ประเทศเยอรมัน นับว่าเป็น 1 ในประเทศในแถบยุโรปที่มีมูลค่า GDP สูงที่สุดในโลกในปี 63 ซึ่งอยู่ที่ 3.3 ล้านล้านดอลลาร์ยูโร ในขณะที่รองลงมา ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน ที่มีมูลค่า GDP ในปีเดียวกัน อยู่ที่ 2.283, 2.278, 1.7, และ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ยูโร ตามลำดับ
ราคาปิด ณ 22 ก.ย. 64: 33.05 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นราว 1,098 บาท
ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.2% ต่อปี
มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 43.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
4. iShares MSCI Japan ETF (EWJ.US)
- ETF ที่ออกโดยบริษัท iShares บริษัทขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ โดย EWJ เป็น ETF ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดสหรัฐฯ ที่มีชื่อว่า NYSE Arca โดยจะเข้าลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่มีมูลค่าตลาดขนาดกลางถึงใหญ่ในญี่ปุ่น อิงกับดัชนี MSCI Japan
MSCI Japan Index ต่างกับดัชนีหลักของญี่ปุ่น อาทิ Nikkei หรือ TOPIX อย่างไร ?
- ดัชนี MSCI Japan ประกอบไปด้วยหุ้นจำนวน 272 ตัว เน้นไปที่บริษัทขนาดกลางถึงใหญ่ คำนวณจากมูลค่าบริษัท (Market capitalization) ที่ในปัจจุบันดัชนี MSCI Japan ครอบคลุมกว่า 85% ของมูลค่าตลาดรวมของตลาดหลักทรัพย์ของญี่ปุ่นไปแล้ว ขณะที่ดัชนี Nikkei ประกอบไปด้วยหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นจำนวนกว่า 225 ตัว คำนวณสัดส่วนในดัชนีด้วยราคาของหุ้นหรือ Price weighted average ขณะที่ดัชนี TOPIX (Tokyo Stock Price Index) อีกหนึ่งดัชนีหลักของญี่ปุ่นที่ประกอบไปด้วยหุ้นจำนวนกว่า 2,000 ตัว โดยคำนวณสัดส่วนในดัชนีด้วยมูลค่าบริษัท หรือที่เรียกว่า Free-float adjusted market capitalization
ราคาปิด ณ 22 ก.ย. 64: 72.49 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นราว 2,408 บาท
ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.51% ต่อปี
มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 12.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
5. Tracker Fund of Hong Kong (2800.HK)
- ETF ที่ออกโดย x และจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นฮ่องกง HKEX สำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง อิงกับดัชนีฮั่งเส็ง ซึ่งเป็นดัชนีหลักของตลาดฮ่องกง ประเทศที่มีมักเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่หลายบริษัทมักเลือกที่จะเข้ามาจดทะเบียนหรือที่เรียกว่า Second Listings และเป็นตลาดมีขนาดค่อนข้างใหญ่และสภาพคล่องซื้อขายหลักทรัพย์ค่อนข้างสูง
- การลงทุนใน ETF 2800 เปรียบเสมือนการเข้าลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดฮ่องกง ซึ่งอาจเป็นหุ้นฮ่อง จีน หรือประเทศอื่น ๆ ก็ได้ที่มูลค่าบริษัทหรือ Market Capitalization ค่อนข้างสูง อีกทั้งค่าธรรมเนียมที่กองเรียกเก็บยังนับว่าต่ำซึ่งอยู่ที่เพียง 0.1% ต่อปีเท่านั้น อีกทั้ง 2800 เป็น 1 ใน ETF ที่จ่ายเงินปันผลทุก ๆ ครึ่งปี โดย Dividend Yield อยู่ที่ 3.18% (ตัวเลขที่คำนวณย้อนหลัง 12 เดือน) อย่างไรก็ดี ปริมาณการจ่ายเงินปันผลอาจไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้จัดการกอง
ราคาปิด ณ 23 ก.ย. 64: 25.18 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือคิดเป็นราว 108 บาท
ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.1% ต่อปี
มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง
6. BCAP SET 100 ETF (BSET100.TH)
- กองทุนเปิด BCAP SET100 ETF ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บางกอกแคปปิตอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง โดยได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวม ณ วันที่ 7 ก.ค. 60
- BSET100 เป็น ETF ที่อ้างอิงดัชนี SET 100 โดยลงทุนในหลักทรัพย์ในดัชนี รวมไปถึงสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นหลักทรัพย์ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง (SET100 Total Return Index) นี้ด้วย
- หากพูดถึง SET100 นั้นทุกคนก็คงจะรู้จักดีในนามบริษัทขนาดใหญ่ 100 บริษัทแรกในตลาดหลักทรัพย์ไทย โดยหลักทรัพย์ที่อยู่ในดัชนี SET100 Total Return Index นี้ ยังคงเป็นหลักทรัพย์ชุดเดียวกันกับ SET100 แต่จะต่างกันตรงที่ดัชนี SET100 Total Return Index จะนำเงินปันผลมาคิดด้วย (Dividend) ซึ่งจะส่งผลดีในเชิงผลตอบแทนที่อาจจะได้สูงกว่าจากดอกเบี้ยทบต้นนั่นเอง..
ราคาปิด ณ 23 ก.ย. 64: 10.14 บาท
ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.535% ต่อปี
มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 1.3 พันล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ก.ย. 64)
7. Vanguand FTSE Europe ETF (VGK.US)
- ETF ที่ออกโดยบริษัทชั้นนำ Vanguard Group จดทะเบียนและสามารถลงทุนได้ผ่านตลาดหลักทรัพย์ NYSE หรือ New York Stock Exchange และเป็น ETF ที่เข้าลงทุนในหุ้นประเทศแถบยุโรป และอิงกับดัชนี FTSE Developed Europe All Cap ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนแบบ Passive และใช้วิธี Full replication
- การลงทุนใน VGK เปรียบเสมือนกับการเข้าลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในหลากหลายประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ อิตาลี อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ สเปน และอื่น ๆ อีก
- ดัชนี FTSE Developed Europe All Cap เป็นดัชนีที่ประกอบไปด้วยหุ้นขนาดใหญ่ตามสัดส่วนของมูลค่าบริษัทหรือ Market Capitalization ในตลาดยุโรป ซึ่งรวมไปถึงอังกฤษด้วย ประกอบไปด้วยหุ้นกว่า 7400 ตัวกระจายไปกว่า 47 ประเทศ ครอบคลุมกว่า 98% ของมูลค่าตลาดรวมทั่วโลกที่สามารถลงทุนได้ (ข้อมูล ณ 31 ส.ค. 64)
ราคาปิด ณ 22 ก.ย. 64: 66.67 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นราว 2,215 บาท
ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.08% ต่อปี
มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 27.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
8. DCVFMVN30 ETF (E1VFVN30.VN)
กองทุนเปิด DCVFMVN30 ETF ออกโดยบลจ. Dragon Capital VietFund Management และมีการบริหารจัดการแบบ Passive โดยมีนโยบายการลงทุนอิงตามดัชนี VN30 แต่ใช้ VN30 Total Return Index เป็นเกณฑ์มาตราฐานในการใช้เปรียบเทียบการดำเนินงาน เนื่องจากมีการนำเงินปันผลไป Reinvested หรือกลับไปลงทุนซ้ำนั่นเอง
เวียดนามเป็นประเทศที่น่าจับตามองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในด้านศักยภาพของแรงงานที่หลาย ๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ให้ความสนใจ อีกทั้งในด้านการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจหรือ GDP ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน
ราคาปิด ณ 23 ก.ย. 64: 24,840 เวียดนามดอง หรือคิดเป็นราว 37.26 บาท
ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.65% ต่อปี
มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 9.9 ล้านล้านเวียดนามดอง
9. iShares MSCI India ETF (INDA.US)
- อีกหนึ่ง ETF ที่ออกโดย iShares ของสหรัฐฯ โดยนักลงทุนสามารถลงทุนได้ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งก็คือตลาด CBOE BZX อีกทั้ง ETF INDA เข้าลงทุนในบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ตลาดหุ้นอินเดียและมีขนาดกลางถึงใหญ่กว่า 101 ตัว คำนวณจากมูลค่าตลาดของบริษัท (Market Capitalization) อิงกับดัชนี MSCI India และมูลค่าของหุ้นที่เข้าลงทุนครอบคลุมกว่า 85% ของมูลค่าตลาดอินเดียรวมด้านรายงานการประชุมของ UN เผยคาดการณ์การเติบโต GDP ในปี 65 อยู่ที่ 6.7% เทียบกับปีก่อน ซึ่งนับว่าเป็นการเติบโตที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับในทุกประเทศ หนุนจากจำนวนประชากรที่มาก และคาดการณ์ว่าในปี 2036 ประชากรในอินเดียอาจเพิ่มขึ้นแตะ 1.52 พันล้านคน จากที่ในปัจจุบันอยู่ที่ราว 1.38 พันล้านคนในปัจจุบัน
ราคาปิด ณ 22 ก.ย. 64: 49.56 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นราว 1,646 บาท
ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.64% ต่อปี
มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 6.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
หมายเหตุ อัตราเเลกเปลี่ยนที่ใช้อ้างอิง เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 33.22 บาท, 1 ดอลลาร์ฮ่องกง เท่ากับราว 4.27 บาท,
1 เวียดนามดอง เท่ากับ 0.0015 บาท
ช่องทางในการติดตาม :
Facebook: Bualuang Securities (Click)
Bualuang Knowledge Sharing (Click)
เปิดบัญชีลงทุนต่างประเทศออนไลน์ง่าย ๆ สไตล์ BLS Global Investing ได้ที่ https://bls.tips/openglobalinvesting
บริการที่นักลงทุนสหรัฐฯ รอคอย บริการยื่นข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากการลงทุนในหลักทรัพย์สหรัฐฯ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bls.tips/ustaxservice
#เริ่มต้นลงทุน #ลงทุนต่างประเทศ #BLSGlobalInvesting #หลักทรัพย์บัวหลวง
Source: BLS Global Investing (Website), Bloomberg, ข้อมูล ณ วันที่ 23 ก.ย. 64