25532
25532

ออมหุ้นง่ายๆ ด้วยกลยุทธ์ Dollar-Cost Averaging (DCA) และ Value Averaging (VA)

ออมหุ้นง่ายๆ ด้วยกลยุทธ์ Dollar-Cost Averaging (DCA) และ Value Averaging (VA)



  • การลงทุนอย่างสม่ำเสมอเป็นงวดๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน
  • การลงทุนด้วยจำนวนเงินงวดละเท่าๆ กัน
  • การลงทุนโดยไม่สนใจว่าราคาหลักทรัพย์ ณ ขณะนั้นเป็นเท่าไหร่...
  • เครื่องมือการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว

Dollar-Cost Averaging (DCA) หรือ การถัวเฉลี่ยต้นทุนราคา เป็นกลยุทธ์การลงทุนอย่างสม่ำเสมอที่ออกแบบมาเพื่อช่วยสร้างวินัยให้แก่ผู้ลงทุน ด้วยการซื้อหลักทรัพย์ที่กำหนดตามจำนวนเงินลงทุนที่เท่ากันในแต่ละงวด ซึ่งการซื้อหลักทรัพย์สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในช่วงตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง โดยการซื้อหลักทรัพย์ในช่วงที่ราคามีการปรับตัวลดลง จะส่งผลให้ได้หลักทรัพย์ในปริมาณที่มากขึ้น เมื่อเทียบกับการซื้อหลักทรัพย์ในราคาที่สูงกว่าด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน ดังนั้นการซื้อหลักทรัพย์อย่างสม่ำเสมอจะสามารถช่วยในเรื่องของการถัวเฉลี่ยต้นทุนให้ต่ำลงได้...

Dollar - Cost Averaging Process

iprogram1Value Averaging (VA) หรือ การควบคุมมูลค่าพอร์ตการลงทุน เป็นกลยุทธ์การลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่ต่อยอดมาจาก Dollar-Cost Averaging (DCA) คิดค้นโดย ดร. ไมเคิล เอเดลสัน (Michael E. Edleson) จากบริษัทมอร์แกนสแตนเลย์ (Morgan Stanley) ซึ่งเพิ่มเติมในส่วนของการควบคุมปริมาณการซื้อหลักทรัพย์เพื่อให้มูลค่าพอร์ตเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแต่ละงวด ในกรณีที่ราคาหลักทรัพย์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นและส่งผลให้มูลค่าพอร์ตเพิ่มสูงขึ้นจนถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว กลยุทธ์ Value Averaging (VA) จะไม่ซื้อหลักทรัพย์เพิ่ม ซึ่งจะส่งผลให้พอร์ตมีเงินสดคงเหลือสะสมไว้ และสามารถนำไปซื้อหลักทรัพย์ได้ในภายหลังเมื่อราคาปรับตัวลดลง เพื่อเป็นการปรับมูลค่าพอร์ตการลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

Value Averaging Process

iprogram2  


ทั้งการลงทุนแบบ Dollar-Cost Averaging (DCA) และ  Value Averaging (VA) เป็นเครื่องมือในการลดความเสี่ยงการลงทุนและสร้างโอกาสในการลงทุนด้วยการกระจายสัดส่วนเฉลี่ยการซื้อในทุกงวดเพื่อช่วยลดความกังวลในเรื่องราคา ความผันผวนและการจับจังหวะการซื้อหลักทรัพย์ ในระยะสั้นอาจจะไม่ได้กำไรหรือขาดทุนมากนัก ดังนั้นการลงทุนทั้งสองแบบจึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการสะสมหรือออมเงินลงทุนในรูปแบบหลักทรัพย์ และต้องการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว


  หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น การลงทุนแบบ Dollar-Cost Averaging (DCA) จะเน้นที่ต้นทางคือ การซื้อหลักทรัพย์ด้วยจำนวนเงินทุนที่เท่ากันสม่ำเสมอ ส่วนการลงทุนแบบ Value Averaging (VA) จะเน้นที่ปลายทางคือ ควบคุมให้มูลค่าสุทธิของพอร์ตการลงทุนให้เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ...

ระหว่างการลงทุนแบบ Dollar-Cost Averaging (DCA) และ Value Averaging (VA) แบบไหนดีกว่ากัน...?

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น Dollar-Cost Averaging (DCA) จะเน้นที่ต้นทางคือ ซื้อหลักทรัพย์ตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในแต่ละงวด ซึ่งอาจจะทำได้ง่ายกว่าการลงทุนแบบ Value Averaging (VA) ที่เน้นมูลค่าพอร์ตปลายทาง เพราะไม่ต้องคำนวณอะไรมาก กำหนดเงินไว้เท่าไหร่ก็ซื้อหลักทรัพย์เท่านั้น แต่การลงทุนแบบ Value Averaging (VA) จะต้องดูมูลค่าพอร์ตรวมและคำนวณว่าจะต้องซื้อหลักทรัพย์เพิ่มอีกเท่าไหร่เพื่อให้มูลค่าพอร์ตเพิ่มขึ้นตามที่มูลค่ากำหนด ทั้งนี้การจะบอกว่าวิธีการลงทุนแบบไหนดีกว่ากันต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และสไตล์ของผู้ลงทุนแต่ละท่าน และก็ต้องไม่ลืมว่าการลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน ผู้ลงทุนอาจได้รับกำไร หรืออาจมีผลขาดทุนเกิดขึ้นได้ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุน ควรศึกษารายละเอียดของการลงทุนให้เข้าใจก่อนการลงทุนทุกครั้ง

เลือกลงทุนวิธีการ DCA หรือ VA ?

iprogram3IPG 1566-9

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง