แจกโพยกองทุนเด่น พร้อมกลยุทธ์ลงทุนครึ่งปีหลัง 2568

แจกโพยกองทุนเด่น พร้อมกลยุทธ์ลงทุนครึ่งปีหลัง 2568

ตั้งแต่ทรัมป์ ประกาศมาตรการภาษีตอบโต้เมื่อ 2 เม.ย. 2568 ต่อประเทศคู่ค้าทั่วโลก ส่งผลให้ตลาดหุ้นผันผวนหนักจากแรงกดดัน ในฐานะนักลงทุนเราควรเตรียมแผนตั้งรับอย่างไร และกลยุทธ์การลงทุนในครึ่งปีหลังมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันได้เลย


แผนกลยุทธ์ลงทุนครึ่งปีหลังที่นักลงทุนควรรู้



หลังจากวันที่ 2 เม.ย. 2568 (Liberation Day) ที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump ประกาศมาตรการ Reciprocal Tariffs หรือภาษีตอบโต้กับคู่ค้าทุกประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกผันผวนเป็นอย่างมาก จากแรงกดดันต่อประเทศคู่ค้าทั่วโลกในการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ โดยกำหนดเส้นตายให้มีผลในวันที่ 1 ส.ค. 2568 พร้อมระบุเตรียมจัดเก็บภาษีนำเข้ารายอุตสาหกรรมเพิ่มเติม และมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ปิดดีลการค้าเรียบร้อย โดยประเทศส่วนใหญ่ยังอยู่ในระหว่างการเจรจาในทันกำหนด

สถานการณ์ดังกล่าวยังคงเป็นปัจจัยกดดันหลักต่อการลงทุนในตลาดหุ้นและสินทรัพย์ต่างๆ รวมถึงยังมีความไม่แน่นอนจากสถานการณ์การลงทุนที่ทำให้นักลงทุนยังคงชะลอการลงทุน เพื่อรอดูความชัดเจนของทิศทางนโยบาย ประกอบในปีนี้ด้วย เช่น สงครามระหว่างประเทศ การชะลอตัวของเศรษฐกิจ 


ภายใต้ความไม่แน่นอนก็ยังมีโอกาสในการลงทุน ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นโลกหลายๆประเทศต่างปรับตัวขึ้นได้ดี ดังนั้น หากเราวางแผนการลงทุนที่ดี ก็สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับพอร์ตได้ 


Screenshot-2025-07-22-154431.png


5 แผนกลยุทธ์ลงทุนครึ่งปีหลังที่นักลงทุนควรรู้ มีอะไรบ้าง


1. ทรัมป์ 2.0: ความเสี่ยงเศรษฐกิจยังมากกว่าเงินเฟ้อ

นโยบายภาษีนำเข้าของทรัมป์เริ่มกดดันเศรษฐกิจโลก เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว คล้ายกับผลกระทบจาก Trade War ครั้งก่อน สะท้อนความอ่อนแอของตัวเลขเศรษฐกิจ Soft Data ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อมูลเศรษฐกิจ Hard Data ในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้าอ่อนแอตาม ทำให้เราประเมินว่าความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจจะมากกว่าด้านเงินเฟ้อ


image-(26).png


2. Uncle พาวเวลล์ ยันไม่รีบลดดอกเบี้ย

คาดเฟดปรับลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี เนื่องจากผลกระทบจากภาษีเริ่มกดดันเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ GDP ที่ถูกปรับประมาณการลดลง ขณะที่เงินเฟ้อและอัตราการว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น นักลงทุนควรติดตามท่าทีของเฟดอย่างใกล้ชิด พร้อมย้ำเน้นรอประเมินสถานการณ์ เพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายอีกครั้ง


image-(27).png

3. สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร

แม้สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศดูจะคลี่คลายลงเล็กน้อย แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงเมื่อใด มักส่งผลลบต่อสินทรัพย์เสี่ยงทันที แนะนำระมัดระวัง และพร้อมปรับพอร์ตทันที


4.ความเสี่ยงไม่ได้หาย แต่ตลาดเลือกมองข้าม

แม้ตลาดจะไม่กลัวภาษีรอบใหม่เหมือนเดือน เม.ย. แต่ความไม่แน่นอนยังอยู่สูง โดยเฉพาะนโยบายภาษีเฉพาะรายอุตสาหกรรม ซึ่งยังต้องรอความชัดเจนจากการเจรจา หากถูกบังคับใช้จริง ความเสี่ยงตลาดจะเพิ่มสูงขึ้น และประกอบกับตลาดหุ้น All Time High เสี่ยงต่อการปรับฐานระยะสั้น โดยเฉพาะหากงบไตรมาส 2/68 ออกมาต่ำกว่าคาด ขณะที่สถิติ 10 ปีย้อนหลังชี้ว่าไตรมาส 3 ของปี ตลาดมักขึ้นในช่วงต้นและเริ่มอ่อนตัวลงในช่วงปลายของไตรมาส


image-(28).png


image-(29).png

 

5. กลยุทธ์ : ทยอยล็อกกำไร และเน้น Selective Buy เมื่อราคาย่อตัว โดยหลีกเลี่ยงการไล่ราคา

หลังจากตลาดปรับขึ้นต่อเนื่อง จน Valuation เริ่มตึงตัว แนะนำให้นักลงทุนทยอยล็อกกำไร เพื่อลดความเสี่ยงจากแรงขายทำกำไรที่อาจเกิดขึ้นบริเวณแนวต้านสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ เน้น Selective Buy เมื่อราคาย่อตัว โดยหลีกเลี่ยงการไล่ราคา ในตลาดที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวอย่างตลาดหุ้นสหรัฐฯ (เทคโนโลยี) ฮ่องกง และตลาดหุ้นมี Valuation ที่น่าสนใจ หรือมีความ Laggard เมื่อเทียบกับภูมิภาค ทำให้มีโอกาสได้รับประโยชน์จากเม็ดเงินลงทุนไหลกลับเข้าภูมิภาค อย่างตลาดหุ้นญี่ปุ่น เวียดนาม ไทย และอินโดนีเซีย


image-(30).png


image-(31).png


ทำไมต้องลงทุนกองทุนรวม กับหลักทรัพย์บัวหลวง

  1. เพราะเราคัดเลือกกองทุนรวมที่มีผลงานโดดเด่นสม่ำเสมอ เมื่อเทียบกับกลุ่มในแต่ละประเภทกองทุนที่เราเป็นตัวแทนจำหน่ายได้ถึง 18 บลจ. ชั้นนาทั่วประเทศ โดยไม่มี bias ในการเลือกกอง 
  2. เราวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณด้านผลการดำเนินงานในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับผลตอบแทนระยะยาว และความเสี่ยงเป็นหลัก ผ่านโมเดล B-SCORE ในแต่ละกลุ่มกองทุน และผสมผสานกับการประเมินเชิงคุณภาพ
  3. สะดวก ติดตามง่าย ได้ทุกวันทำการผ่านแอปพลิเคชั่น Streaming Fund+ พร้อมรายงานความเคลื่อนไหวผ่าน iTracker Report


🚨 ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน


เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์ อนุมัติไว ง่าย ๆ ผ่านแอป Wealth Connex


Footer_4.png Footer2_3.png

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง