stockbitcoin
stockbitcoin

เจาะหุ้นลงทุน ขุดเหมือง Bitcoin

เจาะหุ้นลงทุน ขุดเหมือง Bitcoin

เจาะหุ้นลงทุน ขุดเหมือง Bitcoin

พิเศษ! วันนี้หลักทรัพย์บัวหลวงจะพามาร่วมวิเคราะห์การลงทุน ในหัวข้อ...เจาะหุ้นลงทุน ขุดเหมือง Bitcoin กับรายการ ร.ว.ย. เล่าเรื่องหุ้นสไตล์หลักทรัพย์บัวหลวง



ประเด็นสำคัญการวิเคราะห์

  • ทำความรู้จักธุรกิจขุดเหมืองบิทคอยน์ คืออะไร
  • ตัวอย่างหุ้นที่ เชื่อมโยง การลงทุนธุรกิจขุดเหมืองบิทคอยน์?
  • รู้จัก Trading Alert เตือนระวังการลงทุน

ทำความรู้จักธุรกิจขุดเหมืองบิทคอยน์ คืออะไร

การขุด Bitcoin (BTC) เป็นการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อยืนยันธุรกรรมในระบบ โดยไม่ผ่านตัวกลาง (Decentralization) และได้ค่าตอบแทนทั้งแบบ proof of work (แก้โจทย์ที่ระบบกำหนดมาเพื่อหาค่าสมการที่ถูกต้อง) ของ BTC หรือแบบ proof of stake (ตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม) โดยจะให้กับผู้ที่เข้ามาช่วยแก้สมการคณิตศาสตร์ซึ่งสมการเหล่านี้เป็นการเข้ารหัสไว้ป้องกันข้อมูล (Encrypt) ในระดับสูง และเป็นสิ่งที่ยากมากที่เครื่องคอมฯหรือแม้แต่ Super Computer เครื่องเดียวจะแก้สมการเพียงคนเดียวได้สำเร็จ จึงเป็นที่มาของการต้องอาศัยคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมารวมกลุ่มกัน หรือที่เรียกว่า Pool หรือ เหมือง เข้ามาช่วยกันคำนวณ


มีเหรียญให้ขุดเรื่อยๆ ไม่จำกัด? 

BTC เป็นสินทรัพย์ที่มีจำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญ และปัจจุบันยังไม่ถูกนำออกมาใช้ทั้งหมด ล่าสุดเหรียญที่ 19 ล้านพึ่งมีการถูกขุดออกมาในวันเสาร์ที่ผ่านมาทำให้จะเหลืออีก 2 ล้านเหรียญ โดยปัจจุบัน ตามโปรแกรมที่ถูกวางไว้ BTC จะปล่อยออกมาราว 900 BTC/วัน (ธุรกรรมจะเกิดขึ้นทุกราว 10 นาที โดยมีผลตอบแทนให้ผู้ที่แก้สมการสำร็จ 6.25 BTC/ธุรกรรม) และโปรแกรมจะมีการปรับลดจำนวนเหรียญที่จะจ่ายให้ Pool ทุกๆ 4 ปีลงครึ่งหนึ่ง หรือเรียกว่า Halving ดังนั้น ในเมื่อ Supply เหรียญ มีจำกัด การได้เหรียญออกมาเท่าไหรต่อการขุด จึงขึ้นอยู่กับจำนวนนักขุด (Hash rate) ด้วย

คนไทยมีสัดส่วนต่อประชากรของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตถือครองคริปโตมากเป็นอันดับ 1 ของโลก


bit1.PNG
ที่มา : Digital 2022 Global Overview Report, Bangkok Post Graphics


ในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของหุ้นขุดเหมือง


มาจาก JTS ประกาศทำเหมืองขุดบิตคอยน์เป็นเจ้าแรก ต่อจากนั้นก็มีแรงซื้อไหลทะลักเข้ามาเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่วันที่ประกาศลงทุนในธุรกิจนี้ และล่าสุดบริษัทอื่นๆ อย่าง ZIGA UPA ECF (เน้นขุด Ethereum : ETH) AJA CWT COMAN NRF MVP เป็นต้น ต่างเข้ามาเล่นในธุรกิจนี้ด้วย (และอาจจะมีบริษัทอื่นในอนาคตที่จะกระโดดเข้ามาในธุรกิจนี้อีก) ซึ่งได้เทียบมูลค่าตลาด (Market Cap.) ของหุ้นดังกล่าวกับรุ่นพี่อย่าง JTS พบว่ายังห่างไกลหลายเท่าตัว 

 บริษัทขุดเหมืองในประเทศไทย 

bit2.PNG
ที่มา : ข้อมูลจากบริษัท (ราคาปิด ณ วันที่ 1 เมษายน 2022)
 

ตัวอย่างหุ้นที่ เชื่อมโยง การลงทุนธุรกิจขุดเหมืองบิทคอยน์? พร้อมแค่ไหน? 

เปรียบเทียบจำนวนเครื่องและรุ่นที่แต่ละบริษัทจะใช้งาน และ/หรือคาดว่าจะใช้งาน (เท่าที่สามารถรวบรวมข้อมูลได้)

bit3.PNG

ที่มา : ข้อมูลจากบริษัท

โดยสรุป บริษัทภายในสิ้นปี 2022 นี้ JTS จะมีจำนวนเครื่องขุดบิทคอยท์มากสุดที่ 8 พันเครื่อง ตามมาด้วย UPA จำนวนรวม 6.9 พันเครื่อง และ ZIGA, NRF ที่ประมาณ 2 พันเครื่อง  ทั้งนี้ในกรณีดีที่สุดของ ZIGA อาจมีการลงทุนเพิ่มได้ถึง 8,000-10,000 เครื่องในสิ้นปี 2022 นี้ หากสามารถออกหุ้นกู้ได้ตามวงเงินที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติไว้เต็มวงฯ ที่ 4 พันล้านบาท

งบการเงินปี 2021 ของทั้ง 5 บริษัท มาเปรียบเทียบดังตารางข้างล่าง 

bit4.PNG


ซื้อหุ้นขุดเหมือง vs. ซื้อบิทคอยน์ 


ประเด็นหลักที่ทำให้การลงทุนในหุ้นขุดเหมืองมีความน่าสนใจเมื่อเทียบกับการลงทุนในบิทคอยน์โดยตรงคือเรื่องของ “การประเมินมูลค่า” ซึ่งการประเมินมูลค่าบิทคอยน์นั้นมีปัจจัยเฉพาะตัวที่ไม่แน่นอนในหลายประเด็น รวมถึงหลายๆ ปัจจัยยังเป็นปัจจัยในระดับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายทำให้ยากต่อการประเมินมูลค่า “ราคาเหมาะสม” ออกมาได้ แต่สำหรับหุ้นที่ลงทุนในธุรกิจขุดเหมืองบิทคอยน์ นักลงทุนสามารถประเมิน“ตัวเลขกำไร/ขาดทุน” ออกมาได้โดยใช้สมมติฐานของราคาบิทคอยน์ ณ ระดับใดๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ง่ายกว่า(เนื่องจากพอที่จะสามารถคำนวณต้นทุนต่อเหรียญได้ ในลักษณะเดียวกับที่ได้ประมาณกำไรไว้เบื้องต้น) 

✅ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
 

High risk high return จําให้ขึ้นใจ!

การลงทุนที่สร้างผลตอบแทนย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยงโดยความเสี่ยงสำหรับการทำธุรกิจขุดเหมืองบิทคอยน์มีดังนี้
1. ราคาของเหรียญบิทคอยน์
2. กำลังประมวลผลรวมของเครือข่าย (Network Hash rate) เพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
3. ต้นทุนเครื่องขุดบิทคอยท์จะผันแปรไปตามหลากปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม
4. ความเสี่ยงจากการเข้ามาควบคุมดูแลโดยทางการ
5. ความเสี่ยงด้านอุปทานของไฟฟ้า
6. ปัจจัยความเสี่ยงด้านอื่นๆ ประกอบด้วยความเสี่ยงด้านความผันผวนของค่าเงินจากการขายบิทคอยน์และแปลงกลับเป็นสกุลเงินบาท
 

รู้จัก Trading Alert เตือนระวังการลงทุน

หุ้นติดแคชบาลานซ์ แบ่งออกเป็นกี่ระดับ ?

เครื่องหมายที่บอกระดับการติดแคชบาลานซ์ของหุ้นที่มีการซื้อขายผิดปกติ โดย..แบ่งออกเป็นระดับ 1 – 3
  • ระดับ 1 Cash Balance สัญลักษณ์ T1 
  • ระดับ 2 ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance สัญลักษณ์ T2
  • ระดับ 3 ห้าม Net Settlement, ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance สัญลักษณ์ T3
ความหมาย แตกต่างกันอย่างไร
  • Cash Balance หมายความว่า นักลงทุนต้องซื้อหลักทรัพย์ด้วยบัญชีแคชบาลานซ์เท่านั้น โดยวางเงินสดไว้กับโบรกเกอร์เต็มจำนวนก่อนซื้อหลักทรัพย์
  • ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย หมายความว่า ห้ามโบรกเกอร์ใช้หลักทรัพย์เป็นหลักประกันในการคำนวณวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ในทุกประเภทบัญชี
  • ห้าม Net Settlement หมายความว่า ห้ามโบรกเกอร์หักกลบราคาค่าซื้อกับราคาค่าขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (ซื้อและขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน ค่าขายคืนเป็นวงเงินในวันทำการถัดไป)


✅ เครื่องหมายหลังชื่อหุ้น คืออะไร? มารู้จักความหมายและคำแนะนำ คลิก
 

📌 บุคคลทั่วไปที่ยังไม่มีบัญชีกับหลักทรัพย์บัวหลวง สามารถเปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก 👇

MicrosoftTeams-image-635.png

หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง