major-shareholder
major-shareholder

รู้จัก Major shareholder คืออะไร ทำไมถึงสามารถส่งผลต่อทิศทางของบริษัทได้

รู้จัก Major shareholder คืออะไร ทำไมถึงสามารถส่งผลต่อทิศทางของบริษัทได้

Stock และ Shares คืออะไร?

Stock หรือ หุ้น คือ หลักทรัพย์ที่แสดงถึงความเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของบริษัท ซึ่งสิ่งนี้จะให้สิทธิแก่ผู้ถือในสินทรัพย์และกำไรของบริษัทตามสัดส่วนของหุ้นที่พวกเขาเป็นเจ้าของ โดยหน่วยของหุ้นจะเรียกว่า “Shares” ซึ่งในแต่ละ Stock ไม่จำเป็นต้องมีจำนวนหุ้นที่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่าจะนำหุ้นออกมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวนเท่าไหร่

โดยหุ้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

หุ้นสามัญ (Common Shares) เป็นประเภทที่บริษัทส่วนใหญ่จะออกมาเป็นจำนวนมาก ผู้ถือหุ้นประเภทนี้จะได้สิทธิในผลประโยชน์ กำไรและเงินปันผลตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ซึ่งจะมาพร้อมกับสิทธิในการออกเสียงในตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ภายในบริษัท
หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Shares) เป็นหุ้นที่มีการกำหนดเกณฑ์ในการจ่ายปันผลที่ชัดเจนและหากบริษัทล้มละลาย ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้การคืนชำระก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ จึงทำให้หุ้นบุริมสิทธิมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าหุ้นสามัญ แต่จะไม่ได้สิทธิในการออกเสียง

โดยส่วนใหญ่หุ้นจะทำการซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งหุ้นถือว่าเป็นหลักทรัพย์ที่เป็นพื้นฐานของพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนรายย่อยจำนวนมาก โดยปกติแล้วนักลงทุนรายย่อยจะทำการซื้อขายหุ้นผ่านโปรมแกรมซื้อขายหุ้นออนไลน์ เช่น Streaming เป็นต้น ดังนั้น เมื่อนักลงทุนตัดสินใจเข้ามาลงทุนในบริษัทนั้น ๆ ผ่านหุ้นแล้ว จะทำให้นักลงทุนมีสถานะเป็น “Shareholder” ของบริษัท

Shareholder คืออะไร?

Shareholder หรือ ผู้ถือหุ้น คือ บุคคล บริษัทหรือสถาบันที่เป็นเจ้าของหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้น ซึ่งผู้ถือหุ้นถือว่าเป็นหนึ่งในเจ้าของบริษัท จึงทำให้พวกเขาจะได้รับผลประโยชน์จากความสำเร็จของบริษัทในรูปแบบของมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้นหรือเงินปันผล แต่ในทางกลับกันหากบริษัทล้มเหลวผู้ถือหุ้นก็จะเสียผลประโยชน์ตามมูลค่าหุ้นที่ลดลง รวมไปถึงหากบริษัทล้มละลายผู้ถือหุ้นก็จะได้รับสินทรัพย์ของบริษัทตามสัดส่วนหุ้นที่ถือไว้และเมื่อมีผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของหุ้นเป็นจำนวนมาก จะทำให้สถานะเปลี่ยนเป็น “Major shareholder”

Major shareholder คืออะไร?

Major shareholder หรือ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือ บุคคล บริษัทหรือสถาบันที่เป็นเจ้าของหุ้นมากกว่า 10% ของจำนวนหุ้นชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ซึ่งมีอิทธิพลและส่งผลต่อทิศทางของบริษัทในอนาคตอย่างมาก โดยเฉพาะหากหุ้นที่พวกเขาถือเป็นหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ภายในบริษัท เช่น การเลือกคณะกรรมการบริษัท เป็นต้น

โดยปกติแล้ว ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ มักจะเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทหรือในกรณีที่บริษัทมีอายุมากแล้ว ก็มีโอกาสส่งต่อให้กับทายาทของผู้ก่อตั้ง แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกบริษัทจะมี ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยส่วนมากบริษัทเอกชนมักจะมีมากกว่าบริษัทมหาชน

ยกตัวอย่างการดู Share , Shareholder และ Major shareholder จากสถานการณ์จริง

ภาพนี้แสดงตัวอย่างของจำนวน Shares ในปี 2018 – 2021 รวมไปถึงรายชื่อของ Shareholder และ Major shareholder ในปัจจุบันของบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่ใช้ชื่อ Stock ว่า OISHI

ตัวอย่างจริง Major shareholder

ในปี 2018 ณ วันที่ 30/09/2018 และ ในปี 2019 ณ วันที่ 30/12/2019

  • Shares = 187,500,000 หุ้น หมายถึง บริษัทมีหุ้นชำระแล้วทั้งหมด 187,500,000 หุ้น

ในปี 2020 ณ วันที่ 30/12/2019 และ ในปี 2021 ณ วันที่ 31/03/2021

  • Shares = 375,000,000 หุ้น หมายถึง บริษัทมีหุ้นชำระแล้วทั้งหมด 375,000,000 หุ้น

โดยสรุปได้ว่า บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในปี 2018-2021 มีจำนวนหุ้น หรือ Shares ในปีแรกและปีที่สองอยู่ที่ 187,500,000 แต่ในปี 2020 บริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหุ้นจากหุ้นละ 2 บาทเป็นหุ้นละ 1 บาท ส่งผลให้จำนวนหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 375,000,000 หุ้น

Tips : การเพิ่มขึ้นของจำนวนหุ้นในบางกรณีอาจส่งผลเสียให้แก่นักลงทุนได้ เพราะ ในขณะที่กำไรของบริษัทยังคงเท่าเดิม แต่กลับมีจำนวนหุ้นที่มากขึ้น ทำให้การแบ่งกำไรจะมีสัดส่วนที่มากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้นักลงทุนได้รับเงินปันผลหรือกำไรลดลงนั่นเอง โดยเราเรียกผลกระทบนี้ว่า “Dilution Effect”

ในส่วนของ Shareholders และ Major shareholders ในโปรแกรม Trade Master จะแสดงผู้ถือหุ้นสูงสุด 10 อันดับแรกของบริษัทพร้อมกับจำนวนหุ้นที่ถือ สัดส่วนและมูลค่ารวมทั้งหมด ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริษัทแรกมีสัดส่วนการเป็นเจ้าของบริษัทถึง 79.66% จึงทำให้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทนี้

การใช้เครื่องมือทางการเงินผ่าน Trade Master

วิธีที่ 1 เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม TradeMaster

  1. ทำการ Login  เข้าโปรแกรม TradeMaster > Market info
  2. เลือกไปที่หัวข้อ Fundamental > Fin. Highlight จะพบกับหัวข้อ Shares
  3. เลือกไปที่หัวข้อ Shareholders จะพบกับ Shareholders 10 อันดับแรกและ Major shareholder

TradeMaster Major shareholder

วิธีที่ 2 เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม Stock Signals บนหน้า เว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง

  1. Login เข้าใช้งาน เว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง
  2. เลือกเมนู Stock Signals
  3. เลือกฟังก์ชัน Summary
  4. พิมพ์ชื่อหุ้นที่ท่านสนใจในช่องค้นหา เมื่อเลือกเรียบร้อยแล้ว สามารถดู  Shareholders 10 อันดับแรกและ Major shareholder ดังหน้านี้

Capture

รับชมคลิปวิดีโอ ทริปเด็ด ๆ จากกูรูหลักทรัพย์บัวหลวงต่อได้ที่นี่

หากนักลงทุนสนใจศึกษาวิธีการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ ต่อได้ที่นี่

ลิงก์ด้านใน VI#1

เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร 

ติดตามความรู้ทางด้านการลงทุนดีๆ กับพวกเราได้ที่…

Facebook_Logo_(2019) youtube-icon-logo-05A29977FC-seeklogo.com tt

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง