Inflation
Inflation

เงินเฟ้อ Inflation คืออะไร และกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้เงินเฟ้อสูงหรือไม่

เงินเฟ้อ Inflation คืออะไร และกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้เงินเฟ้อสูงหรือไม่
นักลงทุนหลาย ๆ ท่าน สงสัยกันใช่ไหมคะว่าทำไมตลาดหุ้นถึงไม่ค่อยถูกชะตากับภาวะเงินเฟ้อสักเท่าไหร่ วันนี้หลักทรัพย์บัวหลวงจะมาไขข้อสงสัยให้กับนักลงทุนทุกท่านได้ทราบกันค่ะ 

เงินเฟ้อ คืออะไร? 

 
เงินเฟ้อ หรือ Inflation คือสภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
  • ส่งผลให้รายจ่ายและภาระค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มขึ้น หรือกล่าวง่าย ๆ คือ หากประชาชนยังคงมีรายได้เท่าเดิมแต่ของแพงขึ้น ด้วยจำนวนเงินที่มีเท่าเดิม เราจะสามารถซื้อของได้จำนวนลดลงนั่นเอง
  • ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์เมื่อหลายปีก่อน เงินที่สามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวชามใหญ่ชามละ 20 บาท เมื่อ 10 ปีก่อนได้ แต่ปัจจุบันจะไม่สามารถทำได้แล้ว เนื่องจากราคาของก๋วยเตี๋ยวที่แพงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อนั่นเอง

อำนาจซื้อลดลง.png
(ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย )
 

ประมาณการเศรษฐกิจและแนวโน้มเงินเฟ้อย้อนหลัง

Picture16.png

Picture12.jpg 

ประมาณการอัตราเงินเฟ้อ


Picture11.jpg

 

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 ปรับลดลง จากข้อมูลแรงกดดันด้านอุปทานที่มีแนวโน้มลดลงตามค่าไฟฟ้าและ มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ รวมทั้งราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ ขณะที่ราคาอาหารสดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2567 ใกล้เคียงเดิม โดยราคาพลังงานมีแนวโน้มปรับลดลงเล็กน้อย ขณะที่ราคาหมวดอาหารสดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

  • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2566 ปรับลดลง แต่ยังต้องติดตามการขึ้นราคาของสินค้าและบริการบางส่วนที่ยังไม่ได้ส่งผ่านต้นทุนในช่วงก่อนหน้า และแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ในระยะต่อไป

  • เงินเฟ้อพื้นฐานปี 2567 ยังทรงตัวในระดับสูงเมื่อเทียบกับอดีต
     

(ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย )

 

แล้วเงินเฟ้อเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

1) ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (Demand-pull inflation)

  • เป็นภาวะที่ตลาดมีอุปสงค์สูงมากกว่าอุปทาน เรียกง่าย ๆ ว่า สินค้านั้นมีความต้องการมากในตลาด แต่มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ ราคาก็จะปรับสูงขึ้นตามกลไกราคานั่นเอง 
  • เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว โรงแรม ตั๋วเครื่องบิน การขนส่ง ค่าตั๋วคอนเสิร์ต และธุรกิจร้านอาหาร เมื่อการผลิตไม่สามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคได้ทัน ทำให้สินค้าหลาย ๆ อย่างขาดตลาด ผู้ขายอาจถือโอกาสนี้ขึ้นราคาสินค้าและบริการได้  

2) ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (Cost-push inflation) 

  • เมื่อราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากความขาดแคลน ส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงภาคการผลิตทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
  • เมื่อต้นทุนการผลิตสูง ส่งผลให้ราคาขายสินค้าต้องแพงขึ้นเช่นกัน ประชาชนอย่างเรา ๆ จึงได้รับผลกระทบจากอำนาจซื้อที่ลดลงตามที่กล่าวข้างต้น หากแรงงานไม่ได้มีรายได้เพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ


กระตุ้นเศรษฐกิจทำให้เงินเฟ้อสูงหรือไม่

โดยทั่วไปการกระตุ้นเศรษฐกิจจะสามารถทำผ่านนโยบายการเงินได้ดังนี้

1) การลดอัตราดอกเบี้ยลง
  • การลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยจูงใจให้คนนำเงินที่มีออกมาใช้แทนการฝากธนาคาร เนื่องจากได้รับอัตราดอกเบี้ยน้อยลง ช่วยกระตุ้นให้มีแรงซื้อในระบบเศรษฐกิจและการลงทุน

2) ดำเนินมาตรการ QE หรือ มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ
  • ธนาคารกลางจะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อเป็นการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนโดยการจะซื้อพันธบัตรกลับคืนเพื่อปล่อยเงินเข้าสู่เศรษฐกิจ
 

Picture14.jpg

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เงินเฟ้อ

  • ผลจากการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศษฐกิจนั้นจะช่วยทำให้เศรษฐกิจกลับมาร้อนแรง ทำให้เกิดอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในฝั่งสินค้าและบริการ อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น เป็นเหตุให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นได้ตามมา 
  • ซึ่งสภาวะเงินเฟ้อไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวหากถูกควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • การมีเงินเฟ้อแบบอ่อน จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจให้ขยายตัว รายได้ภาคธุรกิจดีขึ้น ส่งผลให้ค่าจ้างเงินเดือนปรับสูงขึ้นตาม เป็นการหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ


วิธีแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้อ โดยภาครัฐ

 

ธนาคารกลางจะเข้ามาควบคุมเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ
โดยธนาคารกลางจะดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ผ่านการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
 

Picture13.png

 

เงินเฟ้อพุ่งตลาดหุ้นได้รับผลกระทบอย่างไร

 

1) ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น กำไรลด

  • เมื่อราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น
  • เมื่อธนาคารกลางมีการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะส่งผลให้ต้นทุนในการกู้เงินของภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้ผู้ประกอบการมีกำไรลดลง

 

2) ราคาหุ้นลดลง

  • ในสภาวะที่ตลาดผันผวนเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนจะมีแรงจูงใจในการนำเงินมาฝากไว้กับธนาคาร และหันมาสนใจในการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง
  • เช่น การฝากเงินหรือการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น นักลงทุนจึงมีการขายหุ้นออกมา ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าในช่วงที่เศรษฐกิจเกิดเงินเฟ้อ ทำให้ราคาหุ้นลดต่ำลงนั่นเอง
 

Picture4.png

 

เราสามารถดูค่า Inflation ได้จากที่ไหน

 

เราสามารถดูค่า Inflation ได้ ผ่านโปรแกรม Aspen Bualuang Trade บนหน้าเว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง

  • Login เข้าโปรแกรม  Aspen Bualuang Trade
  • ให้คลิกไปที่ View
  • เลือกฟังก์ชัน Page Explorer
  • ที่แถบเมนูด้านซ้ายมือ เลือก FX-Money-Econ 
  • เมนูย่อยเลือก TH Econ Indicators
  • คลิกปุ่ม INFLA สีส้ม
  • ข้อมูล Inflation จะแสดงใน Chart 2 ดังรูป
 

MicrosoftTeams-image (34).png

นักลงทุนมือใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง

wconnex.jpg

อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service
 

📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก   👇

 
เปิดบัญชี.jpg
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง