
ผ่านมาเกือบจะครึ่งปี 2567 ตลาดหุ้นไทยยังเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่ทำผลตอบแทนได้ค่อนข้างน่าผิดหวัง โดยผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -3.18% และมีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ -9.51% (As of 22 พ.ค. 2567) ทำให้เห็นได้ว่าเป็นอีกปีที่ท้าทายในการลงทุนเนื่องจากตลาดยัง Sideways ไร้ทิศทาง และไม่มีโมเมนตั้มเชิงบวกมาช่วยผลักดันตลาด
ซึ่งในสถานการณ์แบบนี้ ปัจจุบันโลกการลงทุนมีผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ตอบโจทย์ในสภาวะตลาดซึมๆไม่ไปไหนอยู่เหมือนกัน โดยที่นักลงทุนยังสามารถสร้างกระแสเงินสดจากดอกเบี้ยรายเดือนที่อัตราผลตอบแทนประมาณ 8-15% ต่อปี นั่นก็คือ FCN หรือ Fixed Coupon Note นั่นเอง อีกทั้ง FCN เป็นเครื่องมือการลงทุนที่มีแต้มต่อให้กับนักลงทุนหากในสภาวะที่ราคาหุ้นอาจจะย่อตัวลง 10-15% แต่นักลงทุนที่ลงทุนใน FCN ก็จะยังไม่ขาดทุน หากราคาหุ้นไม่ปรับตัวต่ำกว่าราคา Knock In ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหารพอร์ตในสภาวะตลาดไม่เป็นใจได้เป็นอย่างดี
การที่เราใช้เครื่องมือ Fixed Coupon Note (FCN) ก็เปรียบเสมือนว่าเรามีอาวุธทั้งดาบและโล่ ออกไปลุยกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน โดยเสน่ห์ของการลงทุนใน FCN คือ นักลงทุนสามารถล็อคดอกเบี้ยสร้างผลตอบแทนที่ต้องการได้ตามการกำหนดหุ้นอ้างอิง รวมถึงการสร้างกรอบราคา Knock In ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงขาลงได้ในระดับหนึ่ง หากกังวลว่าราคาหุ้นนั้นมีโอกาสปรับตัวลงมาหรือย่อตัวลงแรง เราก็สามารถกำหนดราคา Knock In ให้ลึกขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือนเกราะป้องกันให้หนาขึ้น อย่างไรก็ตามยิ่งกำหนดราคา Knock In จะส่งผลให้ดอกเบี้ยที่ได้รับลดลงตามกลไกด้วย เพราะฉะนั้นเราควรจะกำหนดราคา Knock In อย่างไรให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และได้รับดอกเบี้ยในระดับที่พึงพอใจและสมเหตุสมผล
การกำหนดกลยุทธ์ในการตั้งราคา Knock In ในสภาวะที่ราคาหุ้นปรับตัวลงไปแล้วในระดับหนึ่งและเกิดการรีบาวน์กลับขึ้นมา จะแสดงให้เห็นว่าราคาหุ้นตัวนั้นมีแนวรับ ซึ่งก็คือจุดต่ำสุดในรอบที่ราคาหุ้นปรับตัวลงครั้งก่อนหน้า โดยนักลงทุนที่ลงทุนใน FCN อาจใช้กลยุทธ์ในวางกรอบราคา Knock In ให้ต่ำกว่าราคาที่แนวรับก่อนหน้าได้ โดยมีมุมมองว่าหากราคาหุ้นปรับลงในรอบนี้ ราคาน่าจะดีดตัวที่แนวรับ (ไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่) นั่นเอง
ตัวอย่างราคาหุ้น OSP (As of 21 พ.ค. 2567)
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ราคาหุ้น OSP ปรับตัวลงในช่วงปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้ ราคามีการทำ Double Bottom ที่แนวรับที่ราคาประมาณ 18.40 – 18.50 บาท โดยที่ราคานี้ การเคลื่อนไหวของหุ้นมีการดีดตัวกลับขึ้นมาทั้ง 2 ครั้ง โดยเราสามารถใช้ราคา 18.30 บาท เป็นแนวรับในรอบนี้ได้ ซึ่งหากสังเกตแนวโน้มราคาหุ้นระยะกลาง ราคาหุ้นก็ยังอยู่ในช่วง Sideways เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ
ซึ่งการลงทุนใน FCN นั้นเราสามารถออกแบบราคา Knock In ให้ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าแนวรับได้ โดยในตัวอย่างเราตั้งระดับ Knock In ไว้ที่ 85% เท่ากับราคาหุ้นสามารถลงมาได้ถึง 18.36 บาท ซึ่งดูแล้วมีช่วงราคาให้หุ้นนั้นปรับตัวลงมาได้พอสมควร และยังสามารถลดความเสี่ยงหากเรามองว่าถ้าราคาหุ้นย่อตัวลงมารอบนี้จะไม่ต่ำกว่าแนวรับครั้งล่าสุด สำหรับ FCN อายุ 6 เดือนบนหุ้น OSP ดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 7% ต่อปี โดยนักลงทุนสามารถเลือกรับดอกเบี้ยเป็นรายเดือนหรือราย 2 สัปดาห์ได้ด้วยตนเอง
ถ้าตีความกลมๆ เราอาจใช้ FCN เป็นเครื่องมือสร้างกระแสเงินสดรายเดือนหรือ ทุก 2 สัปดาห์ได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่ต้องคอยเปิดจอจับจังหวะซื้อขายหุ้นเอง โดยเฉพาะในภาวะตลาด SET บ้านเราเคลื่อนตัวออกข้างมาครึ่งปีแล้ว อีกทั้งยังมี ‘ฟีเจอร์’ Knock In ที่เปรียบเสมือนโช๊คอัพการลงทุนที่ต่อให้หุ้นลงมาในระหว่างสัญญา FCN แต่ตราบใดที่ราคาหุ้นอ้างอิงยังอยู่เหนือราคา Knock In นักลงทุนก็ยังไม่ขาดทุนเพราะมีโช๊คอัพที่พยุงอยู่นั่นเอง
อ่านกลไกการลงทุน FCN อย่างละเอียด ที่นี่ https://bls.tips/fcnsharing
อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ FCN เป็นตราสารที่ไม่มีการคุ้มครองเงินต้น ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจเงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ผู้แนะนำการลงทุนของท่าน หรือ BLS Customer Service โทร. 0 2618 1111
ผลิตภัณฑ์นี้สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน และผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศ ก.ล.ต. เท่านั้น