
ครึ่งปีแรกของปี 2567 ต้องยอมรับว่าเป็นอีกปีที่สถานการณ์ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในสภาวะย่ำแย่และเป็นอีกช่วงเวลาที่ท้าทายในการเลือกหุ้นลงทุน หากลองดูในดัชนี SET50 จะพบว่าในช่วงครึ่งปีแรก (3 ม.ค. - 20 มิ.ย. 2567) มีหุ้นเพียง 6 ตัว ที่ทำผลตอบแทนเป็นบวก โดยยังมีหุ้นอีกจำนวนไม่น้อยที่ปรับตัวลงมากกว่า 15 % แต่หากเราลองมามองดูหุ้นที่ราคาไม่ค่อยไปไหน หรือหุ้นที่เคลื่อนไหวแบบ Sideways ในกรอบ คือทำผลตอบแทนในช่วง +3 ถึง -15% จะมีอยู่ถึง 26 ตัว ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าหุ้นใหญ่ๆใน SET50 ก็มีการปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก และอยู่ในจุดที่มูลค่าพื้นฐานค่อนข้างน่าสนใจ
ที่มา : https://www.tradingview.com/heatmap/stock
แต่ก็เกิดคำถามใหญ่ในใจหลายๆคนว่า “แล้วเมื่อไหร่หล่ะที่หุ้นจะปรับตัวขึ้น” ความยากลำบากในการลงทุนเป็นเรื่องของการคาดการณ์สถาณการน์ต่างๆในอนาคตที่ซึ่งหากเรามองดูภาพหลังจากนี้ไปอีก 3-9 เดือน ก็ยังมีปัจจัยที่อาจจะเข้ามากระทบภาพการลงทุนและยังคงทำให้ราคาหุ้นกลับมาผันผวนขึ้นได้อีก เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในเดือน พ.ย. นี้ รอบการประชุมธนาคารกลางสหรัฐที่ตลาดคาดหวังว่าดอกเบี้ยน่าจะเริ่มขยับลงเป็นครั้งแรกซักที อีกทั้งความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นในหลายๆภูมิภาค ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยที่กระทบกับการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้ทั้งนั้น
แต่ในมุมของการลงทุนเราอาจจะไม่รอคอยให้ปัจจัยต่างๆชัดเจน หรือรอให้ฝุ่นหายตลบไปเสียก่อน ดั่งคำที่นักลงทุนชอบพูดกันอยู่เสมอว่า “Stay Invested” วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังว่าเครื่องมือการลงทุนหนึ่งที่นักลงทุนรายใหญ่ใช้ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ และยังสามารถสร้างดอกเบี้ยต่อเนื่องให้กับนักลงทุนได้ประมาณ 8-15% ต่อปี อีกทั้งเราสามารถออกแบบกรอบราคาด้านล่าง (Knock In) เพื่อเป็นแต้มต่อในการลงทุนได้อีกด้วย
การใช้ FCN เป็นเครื่องมือในการลงทุน โดยเราสามารถเลือกหุ้นอ้างอิงที่เรามีมุมมองว่าราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้ม Sideways หรือการปรับตัวลงอยู่ในกรอบจำกัด ซึ่งเราจะสามารถสร้างดอกเบี้ยเป็นประจำในทุกๆเดือน หรือทุกๆสองสัปดาห์ ตลอดการถือครองในกรอบอายุประมาณ 3 – 6 เดือน รวมทั้งการออกแบบอัตราดอกเบี้ยและกรอบราคา Knock In (KI) ให้เหมาะสมกับสภาวะการลงทุนนั้นๆ
ตัวอย่างเช่น หากเรากังวลว่า ราคาหุ้นจะมีความผันผวนสูงขึ้น โดยเราสามารถลดความเสี่ยงของ FCN ที่ลงทุนโดยการออกแบบกรอบราคา KI% ให้ลึกขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือนการสร้างแต้มต่อหากหุ้นจะปรับตัวลง โดยเราสามารถปรับราคา KI ลง จาก 90% ไปเป็น 85% ซึ่งจะแสดงว่าความลึกของ KI ปรับลึกลงไปที่ 15% โดยหากหุ้นตกไปไม่ถึง 15% ตลอดอายุการลงทุน เราก็จะยังไม่ขาดทุน โดยที่เรายังได้รับดอกเบี้ยอยู่ที่ 9.00% ต่อปี
โดยหากในกรณีที่สถานการณ์ไม่ได้เป็นไปตามที่เราคาดหวัง ราคาหุ้นปรับตัวลงแรงหลุดกรอบราคา Knock In และเมื่อครบกำหนดเราอาจจะมีโอกาสได้รับหุ้นที่ราคาเริ่มต้น (Strike Price) ซึ่งก็ถือว่าราคาหุ้นในช่วงนี้ เป็นราคาที่ร่วงลงมาต่ำที่สุด ตั้งแต่ช่วงเกิดโควิด-19 โดยปัจจุบันหุ้นไทยซื้อขายที่ Forward PE ประมาณ 14 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง ที่ 15.5 เท่า ซึ่งหากเราได้รับหุ้นมาก็สามารถใช้กลยุทธ์การลงทุนใน Structured Note อื่นๆเป็นตัวแก้เกมส์ หรือรอให้ราคาหุ้นกลับขึ้นมาโดยที่ยังได้รับเงินปันผลในแต่ละงวดตามปกติ
ทั้งนี้นักลงทุนสามารถปรับกลยุทธ์ของหุ้นต่างๆได้อย่างยืดหยุ่น เช่น เลือกหุ้นที่ผันผวนต่ำลง หรือปรับแต่งดอกเบี้ยและกรอบราคาให้เหมาะสมกับความผันผวนของหุ้นอ้างอิงที่เราเลือก โดยสามารถศึกษากลไกการทำงานทั้งหมดของ FCN ได้ที่นี่ https://bls.tips/fcnsharing
อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ FCN เป็นตราสารที่ไม่มีการคุ้มครองเงินต้น ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจเงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ผู้แนะนำการลงทุนของท่าน หรือ BLS Customer Service โทร. 0 2618 1111
ผลิตภัณฑ์นี้สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน และผู้ลงทุนรายใหญ่ตามประกาศ ก.ล.ต. เท่านั้น