
“TFEX” ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการลงทุน เพราะนอกจากจะใช้เงินลงทุนน้อยแล้ว ยังสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง นอกจากนั้นยังสามารถนำมาป้องกันความเสี่ยงของราคาสินทรัพย์อ้างอิงได้อีกด้วย
ตราสารอนุพันธ์ใน TFEX คืออะไร ?
ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คือ ตราสารทางการเงินที่ราคาของตราสารขึ้นกับราคาของสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) อนุพันธ์ที่ซื้อขายใน TFEX มี 2 ประเภท ได้แก่ Futures (สัญญาซื้อขายล่วงหน้า) และ Options (สิทธิในการซื้อหรือสิทธิในการขาย) โดยปัจจุบันมีสินค้าอ้างอิงที่ซื้อขายในตลาด TFEX ทั้งหมด 8 ประเภท
**แต่สินค้าอ้างอิงที่นิยมเทรดกันมากที่สุดก็คือ SET50 Index Futures**
ลักษณะสำคัญของการซื้อขายอนุพันธ์ในตลาด TFEX
สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง
ถ้าเรามองว่าราคาสินค้าอ้างอิงจะขึ้นให้เปิดสถานะ “ซื้อ” (Long Open) แต่ถ้ามองว่าราคาสินค้าอ้างอิงจะลงให้เปิดสถานะ “ขาย” (Short Open)
เมื่อราคามาถึงระดับที่เราพอใจแล้ว ให้ทำการปิดสถานะสัญญา โดยการปิดสถานะสัญญาสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ส่งคำสั่งสถานะตรงกันข้ามกับที่ได้เปิดสัญญาเอาไว้
เช่น เปิดสัญญาซื้อหรือ Open Long S50J16 เอาไว้ ก็ต้องปิดสัญญาขาย หรือ Close Short S50J16 เป็นต้น
สัญญา Futures มีวันหมดอายุ
ดังนั้นก่อนการลงทุนในแต่ละสัญญาต้องคำนึงถึงสภาพคล่องในการซื้อขายด้วย ซึ่งต่างกับการซื้อหุ้นสามัญที่ไม่มีวันหมดอายุ
เช่น S50M16 หมายถึง สัญญา Futures อ้างอิงดัชนี SET50 Index ที่ครบอายุสัญญาเดือนมิถุนายน ปี 2016
วางหลักประกันก่อนการซื้อขายและการรักษาเงินประกันเพื่อป้องกันการผิดนัดสัญญา
ต้องวางหลักประกันขั้นต้น ก่อนการซื้อขายทุกครั้ง
กรณีเปิดสัญญาข้างเดียว (Outright)
เช่น ถ้าจะซื้อ (Long) PTT Futures 1 สัญญาจะต้องวางหลักประกัน 24,700 บาท
กรณีเปิดสัญญาคู่สเปรด (Spread)
ปัจจุบันระดับหลักประกันสัญญาคู่สเปรด 1 คู่ จะเท่ากับ 25% ของหลักประกันสัญญาข้างเดียว 1 สัญญา
หลักประกันสัญญาคู่สเปรดจะนำมาใช้เมื่อมีฐานะในการลงทุนซื้อและขายในฟิวเจอร์สที่ส่งมอบต่างเดือนกัน
เช่น ซื้อ(Long) S50J16 และขาย(Short) S50K16
มีอัตราเพิ่มของเงิน (Leverage)
หมายถึง ใช้เงินลงทุนน้อยแต่มีโอกาสทำกำไรหรือขาดทุนในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าการลงทุนปกติ
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าด้วยเงินลงทุนที่เท่ากัน หากคาดการณ์ตลาดได้ถูกต้อง การลงทุนใน Futures จะสามารถทำกำไรได้ถึง 10 เท่า แต่ในทางตรงกันข้ามหากคาดการณ์ตลาดผิดก็มีโอกาสขาดทุน 10 เท่าเช่นเดียวกัน
มีกระบวนการปรับมูลค่าตามราคาตลาด Mark - to – Market ทุกสิ้นวัน
โดยโบรกเกอร์จะคิดกำไรขาดทุนทุกสิ้นวันทำการ หากมีผลกำไรในวันนั้นเมื่อเทียบกับวันก่อนหน้าโบรกเกอร์จะโอนเงินส่วนกำไรเข้าไปรวมกับเงินหลักประกันที่วางเอาไว้ แต่หากมีผลขาดทุนในวันนั้นเมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า โบรกเกอร์ก็จะตัดเงินส่วนขาดทุนออกจากบัญชีหลักประกัน
เชื่อว่าหลายๆท่าน คงรู้จักและเข้าใจอนุพันธ์ในตลาด TFEX กันมากขึ้นแล้วนะคะ...ถ้าอย่างนั้น อย่ารอช้า!! มาดูหน้าตาของโปรแกรมการซื้อขายอนุพันธ์กันดีกว่าว่าเค้าซื้อขายกันยังไง ติดตามต่อตอนที่ 2 คลิก เลย!!
เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์ อนุมัติไว ง่าย ๆ ผ่านแอป Wealth Connex