
สำหรับการซื้อขายสินค้าใน TFEX นักลงทุนจะต้องวางเงินหลักประกันในบัญชีซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าก่อนถึงจะสามารถทำการซื้อขายได้ รวมถึงต้องพยายามรักษาระดับหลักประกันให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อไม่ให้ถูกเรียกหลักประกันเพิ่ม โดยหลักประกันถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
- ระดับหลักประกันเริ่มต้น (Initial Margin: IM) คือ ระดับหลักประกันที่นักลงทุนต้องมีในพอร์ตก่อนซื้อขาย ซึ่งแต่ละสินค้าจะถูกกำหนดให้วางหลักประกันแตกต่างกันตามที่สำนักหักบัญชีกำหนด
- ระดับหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin: MM) คือ ระดับเงินคงเหลือขั้นต่ำของเงินหลักประกัน ซึ่งคิดเป็นราว 70% ของระดับหลักประกันเริ่มต้น (IM) ถ้าเงินคงเหลือในพอร์ตต่ำกว่าระดับดังกล่าว นักลงทุนจะถูกเรียกให้วางเงินหลักประกันเพิ่ม (Margin Call) ให้กลับมาเท่ากับระดับหลักประกันเริ่มต้น (IM) ภายในวันทำการถัดไป
- ระดับหลักประกันปิดฐานะระหว่างวัน (Force Close Margin: FM) คือ ระดับหลักประกัน ซึ่งคิดเป็นราว 30% ของระดับหลักประกันเริ่มต้น (IM) ถ้าเงินคงเหลือในพอร์ตต่ำกว่าระดับดังกล่าว นักลงทุนจะถูกเรียกให้วางเงินหลักประกันเพิ่มให้กลับมาเท่ากับระดับหลักประกันรักษาสภาพ (MM) หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดจะถูกบังคับปิดสถานะ (Force Close)
นอกจากนี้ ยังมีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการวางหลักประกันใน TFEX ที่ควรรู้อีก ได้แก่
- Equity Balance (EB) คือ มูลค่าเงินในพอร์ตทั้งหมด รวมผลกำไร/ขาดทุนที่ยังไม่ได้ปิดสถานะ
- Excess Equity (EE) คือ เงินส่วนที่เหลือหลังจากหักหลักประกันขั้นต้นแล้ว ซึ่งสามารถนำเงินส่วนนี้มาเปิดสถานะเพิ่มได้
ประเภทของการคำนวณหลักประกัน
การคำนวณหลักประกันแบบทางเดียว (Outright)
คือ การซื้อ (Long) หรือขาย (Short) สัญญา Futures ข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งระบบจะคิดหลักประกันเท่ากับระดับหลักประกันเริ่มต้น (IM)
เช่น เปิดสถานะ Long S50H25 จำนวน 1 สัญญา จะวางเงินหลักประกัน 10,395 บาท เป็นต้น (ข้อมูลหลักประกัน ณ วันที่ 12 มี.ค. 68)
- การคำนวณหลักประกันแบบส่วนต่าง (Spread)
คือ การซื้อ (Long) และขาย (Short) สัญญา Futures ที่มีสินค้าอ้างอิงตัวเดียวกัน แต่มีวันครบกำหนดอายุของสัญญาที่แตกต่างกัน ซึ่งการซื้อขายสัญญา Futures 1 คู่ Spread จะทำให้ระดับหลักประกันลดลงเหลือ 25% ของหลักประกันทางเดียว (Outright) 1 สัญญา
เช่น เปิดสถานะ Long S50H25 จำนวน 1 สัญญา และเปิดสถานะ Short S50M25 จำนวน 1 สัญญา จะวางเงินหลักประกันเพียง 2,598.75 บาท เป็นต้น (ข้อมูลหลักประกัน ณ วันที่ 12 มี.ค. 68)
ตัวอย่างการคำนวณหลักประกัน
สมมตินักเก็งกำไรคาดการณ์ว่า SET50 Index จะปรับขึ้นในอนาคต จึงเปิดสถานะ Long SET50 Index Futures จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 740 จุด โดยมีเงินลงทุนเริ่มต้น 20,000 บาท
กำหนดให้หลักประกันของ SET50 Index Futures มีระดับดังนี้
- นักลงทุนจะต้องวางเงินระดับหลักประกันเริ่มต้น
= 10,395 x 1 สัญญา = 10,395 บาท ก่อนถึงจะสามารถเปิดสถานะได้
เมื่อราคา SET50 Index Futures เปลี่ยนแปลง จะส่งผลต่อพอร์ตอย่างไร?
กรณี Margin Call (EB < MM)
เมื่อนักลงทุนคาดการณ์ราคาผิดทาง ส่งผลให้ราคา SET50 Index Futures ปรับลงจาก 740 จุด มาที่ 670 จุด
- ทำให้พอร์ตขาดทุนเท่ากับ (670 - 740) x ตัวคูณดัชนี 200 x 1 สัญญา = -14,000 บาท
- มูลค่าเงินในพอร์ตลดลงเหลือ 20,000 - 14,000 = 6,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าระดับหลักประกันรักษาสภาพ (MM) ที่ 7,306.2 บาท
- ดังนั้น นักลงทุนจะถูกเรียกให้วางหลักประกันเพิ่ม (Margin Call) เท่ากับ IM-EB = 10,395 - 6,000 = 4,395 บาท เพื่อให้ Equity Balance กลับมามากกว่าระดับหลักประกันเริ่มต้น (IM) ภายในวันที่ T + 1 ก่อนตลาดปิดทำการซื้อขายภาคปกติหนึ่งชั่วโมง
กรณี Force (EB < FM)
เมื่อราคา SET50 Index Futures ปรับลงต่อสู่ระดับ 655 จุด
- ทำให้พอร์ตขาดทุนเท่ากับ (655 - 740) x ตัวคูณดัชนี 200 x 1 สัญญา = -17,000 บาท
- มูลค่าเงินในพอร์ตลดลงเหลือ 20,000 -17,000 = 3,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าระดับหลักประกันปิดฐานะระหว่างวัน (FM) ที่ 3,148.2 บาท
- ดังนั้น นักลงทุนจะถูกเรียกให้วางหลักประกันเพิ่ม (Margin Call) เท่ากับ MM-EB = 7,306.2 - 3,000 = 4,306.2 บาท เพื่อให้ Equity Balance กลับมามากกว่าระดับหลักประกันรักษาสภาพ (MM)
หมายเหตุ: ตัวอย่างดังกล่าวยังไม่รวมค่าธรรมเนียมการซื้อขาย
โดยนักลงทุนสามารถตรวจสอบสถานะ Margin Call/Force ได้ผ่านแอปฯ Streaming
ตัวอย่าง สถานะ Call/Force Flag แอปฯ Streaming บน PC
สนใจเปิดบัญชี TFEX/Block Trade ออนไลน์ กับหลักทรัพย์บัวหลวง คลิกที่นี่
เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์ อนุมัติไว ง่าย ๆ ผ่านแอป Wealth Connex