whatisvi
whatisvi

ออมหุ้นไทยไม่มีหวั่นแบบ VI ที่มือใหม่ทำตามได้

ออมหุ้นไทยไม่มีหวั่นแบบ VI ที่มือใหม่ทำตามได้

นักลงทุนสายปัจจัยพื้นฐาน หรือ Value Investor (VI) มักจะเป็นคนที่มองภาพในระยะกลางถึงระยะยาว มีการวิเคราะห์การเติบโตของบริษัทที่ลงทุนที่เกิดจากการดูด้านปัจจัยพื้นฐาน  รวมถึงต้องมีความอดทนต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ผันผวนในระยะสั้น

ไปรู้จักกับนักลงทุนสาย VI ให้มากขึ้น รวมไปถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน ไปเริ่มกันเลย…


 

นักลงทุนสาย VI คือ อะไร?

นักลงทุนสาย VI คือ นักลงทุนที่สนใจเลือกลงทุนในหุ้นคุณค่า (Value Stock) โดยหัวใจหลัก คือ การประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Intrinsic Value) เพื่อตัดสินใจเข้าซื้อหรือขาย

  • ตัดสินใจซื้อหุ้น เมื่อ ราคาปัจจุบัน ต่ำกว่า มูลค่าที่แท้จริง
  • ตัดสินใจขายหุ้น เมื่อ ราคาปัจจุบัน สูงกว่า มูลค่าที่แท้จริง
 

สมมติ การประเมินมูลค่าที่แท้จริงหุ้น BBL อยู่ที่ 200 บาท/หุ้น 

 
 

Tips ดูมูลค่าที่แท้จริงหุ้น ไม่ต้องคำนวณเอง 

มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value)  สามารถคำนวณได้จากการคิดคาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตให้อยู่ในรูปแบบของมูลค่าในปัจจุบัน (DCF) ซึ่งอาจเป็นการคำนวณได้ยากสำหรับนักลงทุนที่มีข้อมูลของกิจการนั้น ๆ ไม่เพียงพอ แต่เราสามารถดูมูลค่าที่แท้จริงได้ง่ายๆ ผ่าน Bualuang Research โดย...
 

  • Login หน้าเว็บไซต์ www.bualuang.co.th > เลือกแถบ Pre-Trade > คลิก Bualuang Research  
  • Login Streaming > เลือกแถบ BLS > คลิก Research 

 
 

วิธีการวิเคราะห์หุ้น สำหรับนักลงทุนสาย VI

สามารถทำได้ผ่านการวิเคราะห์ อีก 2 ด้านด้วยกัน ได้แก่

  1. การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ คือ การวิเคราะห์ที่แสดงออกให้เห็นแบบนามธรรม ไม่อาจวัดค่าได้ แต่สามารถมองจากข้อมูลอื่น ๆ ได้ เช่น โครงสร้างผู้ถือหุ้น ความสามารถของผู้บริหาร การเติบโตของบริษัท รวมไปถึงความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ขององค์กร เป็นต้น
  2. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ คือ การวิเคราะห์ที่แสดงออกให้เห็นแบบรูปธรรม สามารถคำนวณเพื่อวัดค่าได้ เช่น การวิเคราะห์งบการเงิน ไม่ว่าจะเป็น งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน หรืองบกระแสเงินสด โดยนำมาวิเคราะห์เป็นอัตราส่วนทางการเงินร่วมกับการดูข้อมูลในอดีต นำไปสู่การคาดการณ์ผลตอบแทนในอนาคตของบริษัท
 

เทคนิคการเลือกหุ้นของนักลงทุนสาย VI

การวิเคราะห์หุ้นของนักลงทุนสายปัจจัยพื้นฐาน หรือนักลงทุนสาย VI สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่..

กรณีที่ 1 :การวิเคราะห์แบบ Top Down Analysis

KS1-2..png

เหมาะสำหรับ : นักลงทุนที่ต้องการเห็นภาพรวมเศรษฐกิจแล้วค่อยมองหุ้นที่เราสนใจ

การวิเคราะห์แบบ Top Down Analysis คือ การมองภาพกว้างที่สุดลงมาที่ภาพเล็ก โดยเริ่มพิจารณาจากเศรษฐกิจโดยรวมเป็นลำดับแรก และดูว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้น เอื้อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมใดบ้าง (Mega Trend) เพื่อเลือกลงทุนในหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์มากที่สุดในลำดับถัดไป ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวยังคงเป็นที่นิยมสำหรับนักวิเคราะห์ ผู้จัดการกองทุน และนักลงทุนสถาบันอีกด้วย
 

กรณีที่ 2 :การวิเคราะห์แบบ Bottom Up Analysis

KS1-3..png

เหมาะสำหรับ : นักลงทุนที่เชื่อมั่นว่ากิจการของหุ้นตัวนี้มีความมั่นคงและมีโอกาสในการเติบโต 

การวิเคราะห์แบบ Bottom Up Analysis เป็นการมองภาพย้อนจากภาพเล็กขึ้นไปหาภาพใหญ่  โดยวิเคราะห์จากความสามารถในการทำกำไรจากภาพรวมของบริษัทไปจนถึงเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งจะมองในทิศทางตรงกันข้ามกับ Top Down Analysis แต่หลักการดูในแต่ละอุตสาหกรรมยังสามารถใช้วิธีเดียวกันได้
 

คนเล่นหุ้นชอบดูอะไรในงบการเงิน

1. พิจารณาจากรายงานความเห็นของผู้สอบบัญชี

  • ก่อนเริ่มใช้งบการเงินในการวิเคราะห์ ต้องพิจารณาก่อนว่างบการเงินนั้นมีความน่าเชื่อถือและถูกต้องหรือไม่ ซึ่งสามารถดูได้จาก ส่วนความเห็นผู้สอบบัญชีที่ระบุว่างบนั้นมีความถูกต้องเหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐาน 


2. ดูการเติบโตของรายได้ กำไรสุทธิ สินทรัพย์ ของกิจการ 

  • ควรมีแนวโน้มเติบโตให้เห็นได้ โดยดูงบย้อนหลังประมาณ 5 ปี โดยไม่จำเป็นต้องโตทุกปีก็ได้ เพราะในบางปีอาจเป็นผลกระทบจากเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ใช่เพราะกิจการ 


image
 
3. ดูอัตราส่วนทางการเงินที่บ่งชี้คุณภาพบริษัท  

 

  • Net Profit Margin 

 

Net Profit Margin บอกความสามารถในการทำกำไรยิ่งสูงยิ่งดี 

เช่น ค่า NPM = 2.70% คือ ยอดขาย 100 บาท ขายได้กำไรสุทธิ 2.70 บาท 

 

  • ROE 

 

ROE วัดความสามารถในการสร้างผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ 

เช่น ค่า ROE = 50% คือ ส่วนของเจ้าของ 100 บาท สร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น 50 บาท 

 

  • D/E ratio   

 

D/E ratio  บอกภาระหนี้สินของบริษัท ถ้ามีค่าสูง แสดงถึงบริษัทมีความเสี่ยงสูง 

เช่น D/E = 1.5 คือบริษัทมีหนี้มากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น 1.5 เท่า 
 

หาหุ้นดีถือนานได้ไม่หวั่น ด้วยเครื่องมือออนไลน์

1. คัดหุ้นด้วย Stock Signals โดย...

  • Login หน้าเว็บไซต์ www.bualuang.co.th > เลือกแถบ Pre-Trade > คลิก Stock Signals > Fundamental > เลือกเงื่อนไขและตั้งค่าช่วงที่ต้องการ หรือ
  • Login Streaming > เลือกแถบ BLS > คลิก Stock Signals
 

 2. คัดหุ้นบน Streaming ด้วย Screener โดย...

  • Login หน้าเว็บไซต์ www.bualuang.co.th > เลือกแถบ Trade > คลิก Streaming > Screener > My Screener > Add Screener > ติ๊กเพื่อเลือกเงื่อนไข และตั้งค่าช่วงที่ต้องการ
  • Login Streaming > เลือกแถบ My Menu > คลิก Stock Screener > My Screener > Edit > ติ๊กเพื่อเลือกเงื่อนไข > Save เพื่อดูผล
 

 
 

เครื่องมืออ่าน งบการเงินง่าย ๆ

1. ดูงบการเงินผ่านโปรแกรม Stock Signals 

  • Login Streaming > เลือกแถบ BLS > คลิก Stock Signals > Summary > พิมพ์ชื่อหุ้นที่สนใจ
 

 
 

2. ดูตัวเลขพื้นฐานผ่านแอป Trade Master

  • Login Trade Master > Login แอป Trade Master > คลิก > เลือกเมนู Fundamental  > พิมพ์ชื่อหุ้นที่ต้องการ


 

3.  ดูงบการเงินด้วยกราฟ ผ่าน Trade Master (PC)

  • Login Trade Master > เลือกแถบ Market Info > คลิก Fundamental > Fin. Chart > พิมพ์ชื่อหุ้นที่สนใจ

 


นักลงทุนมือใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง

wconnex.jpg

อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service
 

📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก   👇

 
เปิดบัญชี.jpg
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง