short-selling-and-program-trading-regulations
short-selling-and-program-trading-regulations

รู้จักกลยุทธ์ชอร์ตหุ้น Short Selling สำหรับมือใหม่ และมาตรการตลาดหุ้นไทย

รู้จักกลยุทธ์ชอร์ตหุ้น Short Selling สำหรับมือใหม่ และมาตรการตลาดหุ้นไทย
เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) ได้มีการปรับปรุงมาตรการกำกับดูแลการขายชอร์ต และโปรแกรมเทรดดิ้ง เพื่อยกระดับการกำกับดูแลการซื้อขาย และเพิ่มความเชื่อมั่นผู้ลงทุน ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 67 เป็นต้นไป 


 

4 มาตรการใหม่การกำกับดูแล เริ่ม 1 ก.ค. 67 มีอะไรบ้าง?

  • คุณสมบัติของหุ้น non-SET100 ที่ขายชอร์ตได้
  • ปรับปรุงราคาขายชอร์ตให้ราคาเสนอขายสูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Uptick)
  • การขึ้นทะเบียนผู้ลงทุนที่ส่งคำสั่งซื้อขายด้วย HFT
  • การเปิดเผยข้อมูลผู้ลงทุนที่มีพฤติกรรมการส่งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสม
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากตลาดหลักทรัพย์ คลิก
 

BLS Tips: การขายชอร์ต (Short Selling) คืออะไร

การที่นักลงทุน "ยืมหุ้น" จากผู้ถือหุ้นอื่นแล้วขายในตลาดโดยคาดว่าราคาหุ้นจะลดลงในอนาคต จากนั้นซื้อหุ้นกลับมาในราคาที่ต่ำกว่าเพื่อคืนให้กับผู้ให้ยืม แบ่งออกเป็น 3 Steps ได้แก่

  1. ขอยืมหุ้นจากผู้ถือหุ้น
  2. ซื้อหุ้นคืนเมื่อราคาหุ้นลดลง
  3. ได้กำไรจากส่วนต่าง เนื่องจากซื้อหุ้นคืนในราคาที่ต่ำกว่าที่ยืมมา

 
มีบริการยืมหุ้น และให้ยืมหุ้น SBL สำหรับ Short Selling หรือไม่? 

บริการ Securities Borrowing and Lending (SBL) คือ บริการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ โดยบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวงจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้กับลูกค้าผู้ให้ยืม (Lender) และลูกค้าผู้ยืมหลักทรัพย์ (Borrower)
 
image.png

  • ผู้ให้ยืมหุ้น โดยลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวง สมัครบริการให้ยืมหลักทรัพย์ สำหรับสายถือหุ้นยาว ๆ ผ่านเว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง www.bualuang.co.th เมนู Trade > เลือก SBL แล้วกรอกข้อมูลได้เลย
  • ผู้ยืมหุ้น แสวงหาโอกาสในการทำกำไรในช่วงที่หุ้นปรับตัวลดลง หรือที่ต้องการป้องกันความเสี่ยง สามารถสมัครบริการยืมหุ้น ผ่านผู้แนะนำการลงทุนของท่าน
 
 รู้จักบริการ SBL เพิ่มเติม คลิก  
 

มาตรการที่ 1 ปรับปรุงคุณสมบัติของหุ้นในกลุ่ม non-SET100 ที่ขายชอร์ตได้

เกณฑ์หุ้นสามัญที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีหลักทรัพย์ SET100 Index ยังคงเดิม แต่จะปรับปรุงคุณสมบัติหุ้นที่ไม่ใช่ SET 100 (non-SET100) เพื่อให้มีขนาดที่ใหญ่และมีสภาพคล่องสูงขึ้น ดังนี้
  • มี Market Cap. เฉลี่ย 3 เดือน ไม่น้อยกว่า 7,500 ล้านบาท
  • Free Float ไม่น้อยกว่า 20% ของทุนชำระแล้ว
  • Monthly Turnover* เฉลี่ย 12 เดือน ไม่น้อยกว่า 2% ของหุ้นสามัญที่จดทะเบียน
   
short non SET100.JPG
   
*อัตราการซื้อขายหมุนเวียนต่อเดือน (Monthly Turnover) = จำนวนหุ้นที่ซื้อขายในเดือนนั้น ๆ หารด้วย จำนวนหุ้นจดทะเบียนชำระแล้ว X 100 โดยหุ้นนั้นจะต้องจดทะเบียนซื้อขายมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน (เริ่มทำการซื้อขายตั้งแต่วันทำการแรกของแต่ละเดือน)

ทั้งนี้ ตลท. ได้ประกาศรายชื่อหุ้น เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 67 เพื่อให้มีผลในรอบครึ่งปีหลัง (กรกฎาคม – ธันวาคม 2567) และประกาศอีกครั้งช่วงกลางเดือน ธ.ค. 67 เพื่อให้มีผลในรอบครึ่งปีแรก (มกราคม – มิถุนายน 2568) ของปีถัดไป ติดตามรายชื่อหุ้นเพิ่มเติม คลิก
  

มาตรการที่ 2 ปรับปรุงราคาขายชอร์ต ให้ราคาเสนอขายสูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Uptick) 

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับปรุงเกณฑ์ราคาขายชอร์ตทุกหลักทรัพย์ให้เข้มงวดขึ้น
  • กำหนดให้ราคาเสนอขายชอร์ตต้องเป็นราคาที่สูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Uptick) จากเดิมที่ให้เสนอขายชอร์ตได้ในราคาที่เท่ากับหรือสูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Zero-Plus Tick)  
  • ยกเว้น ให้แก่ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) เพื่อให้สามารถดูแสสภาพคล่องของสินค้าให้เหมาะสมและสอดคล้องกับราคาหลักทรัพย์อ้างอิง
 
short non SET100.JPG
 

 


มาตรการที่ 3 ขึ้นทะเบียนผู้ลงทุนกลุ่ม High Frequency Trading (HFT)

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนผู้ลงทุนที่ส่งคำสั่งซื้อขายด้วยความเร็วสูง (High Frequency Trading: HFT)* ก่อนเริ่มใช้งาน เพื่อยกระดับการกำกับดูแลผู้ลงทุนกลุ่มดังกล่าวให้เข้มงวดขึ้น

ลูกค้ากลุ่ม HFT คือใคร?
  • ลูกค้าที่ใช้ Algorithmic Trading ในการสร้างและบันทึกคำสั่งซื้อขาย (Generate Order)
  • Algorithmic Trading เพื่อลูกค้ารายหนึ่งรายใดหรือกลุ่มลูกค้ากลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเป็นการเฉพาะเจาะจง
  • ตั้งอยู่ที่ระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET Co-location (ลูกค้า HFT)
 

มาตรการที่ 4 เปิดเผยข้อมูลผู้ลงทุนที่ส่งคำสั่งซื้อขายที่ไม่เหมาะสม

เปิดเผยข้อมูลผู้ลงทุนที่ส่งคำสั่งซื้อขายไม่เหมาะสม (False Market) ให้แก่บริษัทสมาชิกทุกรายทราบ

  • คำสั่ง False Market คือ การส่งคำสั่งเสนอซื้อขาย หรือ ซื้อขายในฐานะนายหน้า หรือ ในนามสมาชิก ที่ทำให้หลักทรัพย์ผิดไปจากสภาพปกติ
     
ลักษณะคำสั่ง ผลต่อสภาพการซื้อขาย
1. ทำราคาปิด/เปิดทำให้ราคาสูง/ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
2. ใส่ถอนลวงให้คนอื่นเข้าใจผิดว่ามีความต้องการซื้อหรือขายสูง
3. จับคู่กันเอง (Wash Sale)ลวงปริมาณ หรือราคา
4. ผลักดัน/ชี้นำราคาทำให้ราคาสูง/ต่ำมาก เพื่อให้คนอื่นหลงผิดเข้ามาตาม
5. แตกย่อยคำสั่งพยุงราคาใส่ Order จำนวนน้อย ๆ เพื่อคุมราคา (เปลี่ยนแปลง หรือไม่ให้เปลี่ยนแปลง)

Source: SET, ASCO
 

นักลงทุนมือใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง

wconnex.jpg

อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service
 

📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก   👇

 
เปิดบัญชี.jpg
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง