
อย่าลืม… กด Subscribe Bualuang Youtube ได้ที่ Bualuang Youtube และกดกระดิ่ง ? เพื่อติดตามความรู้จากทีมงาน แล้วคุณจะไม่พลาดทุกการอัปเดตของการลงทุนนะคะ
ROA คืออะไร
Return on asset (ROA) คือ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ เป็นสัดส่วนระหว่างกำไรสุทธิ (Net Profit) และสินทรัพย์รวม (Asset) ซึ่งวัดผลออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ บ่งบอกว่าบริษัททำกำไรได้มากน้อยเท่าไรเมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวมของบริษัทนั้น
- กำไรสุทธิ (Net Profit) คือ กำไรหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว
- สินทรัพย์ของบริษัท (Asset) คือ ส่วนของเจ้าของหรือส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) รวมถึงหนี้สิ้น (Debt) ของบริษัท
วิธีการดูค่าของ ROA
- ROA > 0 หมายถึง บริษัทสามารถสร้างกำไรสุทธิจากสินทรัพย์ได้
- ROA < 0 หมายถึง บริษัทไม่สามารถสร้างกำไรสุทธิจากสินทรัพย์ได้
ROA สูงหรือต่ำถึงจะดี ?
ROA เหมาะกับการเปรียบเทียบระหว่างบริษัทที่มีธุรกิจคล้ายคลึงกันหรือเปรียบเทียบกับ ROA เฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ยิ่ง ROA สูงบ่งบอกว่าบริษัทสามารถนำสินทรัพย์ไปสร้างกำไรสุทธิได้มากซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของบริษัท ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A มีสินทรัพย์ 500,000 บาท ทำกำไรสุทธิได้ 30,000 บาท ROA จะเท่ากับ 6% และ บริษัท B มีสินทรัพย์ 700,000 บาท ทำกำไรสุทธิได้ 50,000 บาท ROA จะเท่ากับ 7.14% ดังนั้น บริษัท B สามารถใช้สินทรัพย์ในการสร้างกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าบริษัท A
ยกตัวอย่างการใช้ ROA จากสถานการณ์จริง
ยกตัวอย่างการอ่านค่า ROA ตั้งแต่ปี 2017 จนถึงไตรมาส 1 ปี 2021 ของบริษัท บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน)
- ปี 2017 มีค่า ROA 13.37 % หมายความว่าบริษัทสามารถนำสินทรัพย์ 100 บาท ไปสร้างกำไรสุทธิได้ 13.37 บาท
- ปี 2018 มีค่า ROA 15.50 % หมายความว่าบริษัทสามารถนำสินทรัพย์ 100 บาท ไปสร้างกำไรสุทธิได้ 15.50 บาท
- ปี 2019 มีค่า ROA 18.59 % หมายความว่าบริษัทสามารถนำสินทรัพย์ 100 บาท ไปสร้างกำไรสุทธิได้ 18.59 บาท
- ปี 2020 มีค่า ROA 20.43 % หมายความว่าบริษัทสามารถนำสินทรัพย์ 100 บาท ไปสร้างกำไรสุทธิได้ 20.43 บาท
- ในไตรมาส 1 ของปี 2021 มีค่า ROA 21.70 % หมายความว่าบริษัทสามารถนำสินทรัพย์ 100 บาท สร้างกำไรสุทธิได้ 21.70 บาท
สรุปได้ว่าจากปี 2017 จนถึง ไตรมาสที่ 1 ปี 2021 แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีความสามารถในการนำสินทรัพย์ไปสร้างกำไรสุทธิได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี บ่งบอกถึงความมีประสิทธิภาพของบริษัท แต่ ROA เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เราต้องดูอัตราส่วนการเงินอื่นๆเพื่อประกอบตัดสินใจลงทุนด้วย
แล้วเราสามารถดูค่า ROA ได้จากที่ไหน ?
วิธีที่ 1 เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม TradeMaster
- Login เข้าโปรแกรม TradeMaster
- เลือกเมนู Market Info
- ไปที่ฟังก์ชัน Fundamental
- พิมพ์ชื่อหุ้นที่ท่านสนใจในช่องค้นหา
- สามารถดูค่า ROA ของหุ้นตัวที่เลือกได้ด้านล่าง ดังนี้
วิธีที่ 2 เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม Stock Signals บนหน้า เว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง
- Login เข้าใช้งาน เว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง
- เลือกเมนู Stock Signals
- เลือกฟังก์ชัน Summary
- พิมพ์ชื่อหุ้นที่ท่านสนใจในช่องค้นหา เมื่อเลือกเรียบร้อยแล้ว สามารถดู ROA ของหุ้นตัวที่เลือกได้ด้านล่าง ดังหน้านี้
วิธีที่ 3 เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม Aspen for browser
- Login เข้าใช้งาน Aspen เว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง
- เลือกฟังก์ชัน Fundamental > Financial
- พิมพ์ชื่อหุ้นที่ท่านสนใจในช่องค้นหา
สแกนหาหุ้นหรือบริษัทที่มี ROA มากกว่า 15% ได้อย่างไร ?
เด็ดยิ่งกว่า!!! ลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวงสามารถสแกนหาหุ้นอัตโนมัติด้วย Strategy Builder จากการสร้างเงื่อนไขที่คุณสนใจง่ายๆผ่านโปรแกรม Trade Master ดังนี้...
- สร้างเงื่อนไขด้วยเมูด้านซ้ายมือ และเลือกตั้งค่าเงื่อนไข (condition) โดยหา ROA ตั้งแต่ 15 – 100% ขึ้นไป
- เมื่อสร้างกลยุทธ์ (Strategy) ของเราเรียบร้อยแล้ว หน้าจอจะปรากฎหุ้นที่มี ROA ตั้งแต่ 15 ถึง 100% หรือหุ้นที่เข้าเงื่อนไขจากหน้า Results
หรือจะสแกนหาหุ้นผ่านโปรแกรม Stock Signals ก็สามารถทำได้ดังนี้
- หาหุ้นจากปัจจัยพื้นฐานด้วยฟังก์ชัน Fundamental และเพิ่มเงื่อนไขจาก Add a new rule พร้อมปรับการตั้งค่าให้มากกว่า 15%
- กราฟด้านล่างจะแสดงหุ้นที่เข้าเงื่อนไขจากจุดบนกราฟ หากเรานำเมาส์ไปชี้ที่จุดดังกล่าว ระบบจะแสดงชื่อหุ้นพร้อมค่า ROA ที่ค้นหา
รับชมคลิปวิดีโอ ทริปเด็ด ๆ จากกูรูหลักทรัพย์บัวหลวงต่อได้ที่นี่
หากนักลงทุนสนใจศึกษาวิธีการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ ต่อได้ที่นี่
📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก 👇
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก
ผู้ลงทุนจะต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน…สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง โทร. 0-2618-1111