peg-ratio
peg-ratio

ส่องอนาคตหุ้น...ผ่าน PEG Ratio

ส่องอนาคตหุ้น...ผ่าน PEG Ratio


ที่มาที่ไปของ PEG Ratio?

PE Ratio แม้จะเป็นอัตราส่วนชั้นยอดที่มาพร้อมกับประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีข้อเสียข้อหนึ่งซึ่งพ่วงมากับประโยชน์ในการใช้ดูความถูกแพงของราคาหุ้นเทียบกับกำไรต่อหุ้น ว่าถ้าหุ้นตัวไหน PE สูง ก็หมายความว่าหุ้นตัวนั้นแพง

"ทำให้หลายครั้งเรามองข้ามหุ้นที่ดี มีโอกาสเติบโตสูง ด้วยเหตุผลที่ว่า PE ของมันแพงเกินไป..."

คุณเคยสงสัยบ้างไหมครับว่า "หุ้นบางตัวที่ PE สูงเป็น 50 เท่า 100 เท่า บางตัว 1,000 เท่า ทำไมคนยังยอมซื้อกันอยู่?" เหตุผลก็เพราะพวกเขาเชื่อว่าหุ้นตัวนี้มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก จากกำไรที่มีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้น

"วันนี้หุ้นมี PE 100 เท่า แต่ถ้าปีหน้าบริษัทมีกำไรโตขึ้น 100% ... PE ของหุ้นของบริษัทนี้ก็จะลดเหลือ 50 เท่า เท่านั้น"

เพราะเหตุนี้ จึงมีการพัฒนาอัตราส่วนทางการเงินขึ้นมาอีกตัวหนึ่งคือ PEG Ratio หรือ PE to Growth Ratio เพื่อใช้ประเมินความถูกแพงของหุ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกหุ้นที่มีอัตราการเติบโตสูง หรือ Growth Stock นั่นเองครับ

คำนวณยังไง?

capture-20161017-103023

 

PEG คำนวณง่ายๆ โดยเอา PE Ratio ของหุ้นตัวที่คุณสนใจตั้ง หารด้วยอัตราการเติบโต หรือ Growth (หน่วยเป็นจำนวนเต็ม ไม่ต้องใช้ %) เช่น หุ้นที่คุณสนใจมี PE 30 เท่า และมีอัตราการเติบโตที่ 50% คุณก็เอา 30/50 โต้งๆ เลย ค่าที่ออกมาก็จะเท่ากับ 0.6 เท่าครับ

"PEG ควรมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 0.9 หรือไม่ควรมีค่าเกิน 1 เท่า"

เพราะถ้ามีค่าเกิน 1 เท่า นั่นหมายถึงหุ้นตัวนี้มีเปอร์เซ็นการเติบโตน้อยกว่า PE Ratio หรือในอีกความหมายหนึ่งคือ "แพง" นั่นเองครับ

จะหาอัตราการเติบโต หรือ Growth ได้จากไหน?

นี่เป็นปัญหาใหญ่ของใครหลายๆ คน เพราะตัวแปรสำคัญอย่าง Growth ถ้าไม่เชี่ยวชาญชำนาญจริงๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะหยิบตัวเลขอะไรก็ได้มาใส่นะครับ เพราะถ้าผิดนิดเดียว หุ้นแพงๆ อาจกลายเป็นหุ้นถูกๆ ได้ทันที ฉะนั้นวิธีหนึ่งซึ่งง่ายสุดๆ นั่นก็คือเอาอดีตมาใช้ "โดยคำนวณหาอัตราการเติบโตเฉลี่ยย้อนหลังของกำไรของบริษัท" มาใช้แทน โดย Growth ที่ใช้ ยิ่งคำนวณย้อนหลังไกลเท่าไหร่ ยิ่งดี แต่สิ่งสำคัญก็อย่าลืมดูความเหมาะสมของมันด้วยนะครับ เพราะอย่าลืมว่าตัวเลขอัตราการเติบโตที่เรากำลังคำนวณมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต อนาคตอาจไม่ใช่แบบที่หวัง ฉะนั้นถ้าคำนวณออกมาแล้วคุณก็ต้องเอามาเปรียบเทียบกับปัจจุบัน แล้วลองวิเคราะห์ดูว่ามันสมเหตุสมผลกับความเป็นจริงหรือไม่ครับ อย่างถ้าคำนวณ Growth เฉลี่ยในอดีตได้ 30% ต่อปี แต่ปัจจุบันบริษัทกำลังมีปัญหาลูกค้าน้อยลง อุตสาหกรรมกำลังอิ่มตัว และการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ ตัวเลข 30% นั้นอาจจะมากไปก็ได้ครับ

สรุปสุดท้ายของ PEG Ratio

PEG นั้นถูกออกแบบมาเพื่อการลงทุนในหุ้น Growth หรือหุ้น PE สูงๆ โดยเฉพาะ เพราะหากการจะดูแค่ PE เพียงอย่างเดียว อาจทำให้เรามองข้ามหุ้นดีๆ มีอนาคตที่มี PE แพงไปได้ และข้อควรระวังในการใช้ PEG Ratio นั้นก็คือการใช้ Growth ที่จะมาเป็นตัวหาร ซึ่งถ้าหากคนใช้ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ ผมแนะนำให้ใช้อัตราการเติบโตเฉลี่ยย้อนหลัง และพิจารณาเพิ่มเติมถึงความสมเหตุสมผลกับความเป็นจริงในปัจจุบันครับ

พิเศษสำหรับเหล่า The Stock Master 2016 สามารถเรียนกันแบบเต็มๆ 10 เคล็ดลับพื้นฐานและเทคนิค คลิกที่นี่ 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง