nav
nav

NAV คืออะไร ตัวเลขสำคัญ เมื่อลงทุนในกองทุนรวมต้องรู้

NAV คืออะไร ตัวเลขสำคัญ เมื่อลงทุนในกองทุนรวมต้องรู้
นักลงทุนที่เล่นหุ้นอยู่แล้ว ก็จะรู้ดีว่า...หุ้นหรือบริษัทที่เราได้ลงทุนอยู่ ก็จะมีทั้งทรัพย์สินที่เป็นทั้งส่วนของผู้ถือหุ้นและหนี้สินประกอบกัน หากบริษัทเหล่านั้นเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มูลค่าของสิ่งเหล่านี้ก็อาจสะท้อนในราคาหุ้น ซึ่งกองทุนก็เช่นเดียวกัน ที่มีราคาบ่งบอกมูลค่าของสินทรัพย์ที่กองทุนได้ลงทุนอยู่ หรือก็คือ NAV นั่นเอง
 

NAV คืออะไร?

NET Asset Value หรือย่อสั้น ๆ ว่า NAV คือ ทรัพย์สินสุทธิ หรือมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมดและผลประโยชน์ที่กองทุนรวมได้รับ หักลบกับค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่าง ๆ

ซึ่ง NAV นี้จะบ่งบอกถึง “มูลค่าที่แท้จริงของกองทุนรวม” ตามราคาตลาดในแต่ละวัน โดยถูกนำมาใช้วิเคราะห์ราคามูลค่าของหุ้น ETFs และกองทุนรวม 
 

วิธีการคำนวณ 

NAV เกิดจากการนำมูลค่าทรัพย์สินที่กองทุนนำไปลงในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามราคาตลาด รวมกับ กำไรผลตอบแทนและเงินสด ซึ่งเป็นตัวเลขที่จะบอกถึงประสิทธิภาพการดำเนินของกองทุนรวมได้ดีที่สุด เพราะจะสะท้อนว่ากองทุนนั้นได้กำไร หรือขาดทุนอย่างไรเมื่อเทียบกับราคาที่ลงทุนเริ่มแรก 
 
สูตร NAV คือ.jpg

 
NAV ต่อหน่วย สิ่งจำเป็นที่นักลงทุนควรรู้ 

หากเป็นหุ้นราคาซื้อขายจะปรากฏที่หน้าจอ Streaming App แต่หากเป็นกองทุนราคาซื้อ-ขายจะปรากฏที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่ตนเองซื้อกองทุนมา โดยราคาที่จะซื้อ ขายจะคิดจาก มูลค่าหลักทรัพย์สุทธิ ต่อ จำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด  

สูตร NAV ต่อหน่วย คือ.jpg
 

ยกตัวอย่าง 

เรามีเงิน 3,000 บาท ราคา NAV อยู่ที่หน่วยละ 10.3447 บาท เราจะได้หน่วยลงทุน 290 หน่วย (ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหรือจัดการ)  

ตัวอย่าง NAV คือ.jpg

แต่ถึงอย่างนั้นเราตอนซื้อกองทุน ก็อาจจะไม่ได้ราคาซื้อตามที่บอกไว้ เราก็จะไม่รู้ราคาตอนซื้อ รวมถึงราคาตอนขายด้วย เนื่องจากการซื้อขายกองทุน ไม่สามารถซื้อขายได้รวดเร็วแบบหุ้น ซึ่งราคา NAVของกองทุน จะประกาศเป็น “มูลค่าต่อหน่วยลงทุน” โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จะคำนวณราคา NAV และเปิดเผยให้ทุกคนทราบทุกสิ้นวันทำการ  

ทั้งนี้มูลค่านี้จะสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับภาวะการลงทุนของสินทรัพย์ในกองทุนแต่ละวัน และเมื่อซื้อแล้ว ก็จะไม่ได้หน่วยลงทุนในทันทีเพราะมีเวลาระบุไว้ เช่น T+3* ซึ่งก็คือ การปรับรอบระยะเวลางานชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ให้สามารถดำเนินการได้ใน 3 วันทำการ ไม่นับรวมวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์  

หรือหากเป็นกองทุนที่ไปลงทุนสินทรัพย์ในตลาดต่างประเทศ ก็จะต้องคำนึงถึงวันหยุดของตลาดต่างประเทศที่เราไปลงทุนด้วย หากเป็นช่วงวันหยุดก็จะไม่สามารถซื้อขายได้วันนั้นเช่นกัน 
 

⚠️ ข้อควรระวัง

การที่ NAV ของกองทุนมีตัวเลขที่น้อย ก็คือราคาต่อหน่วยถูก ไม่ได้การันตีว่ากองทุนนั้นน่าสนใจที่จะเข้าไปลงทุน เนื่องจากเราต้องพิจารณาถึงสินทรัพย์ที่กองทุนนั้น ๆ เข้าไปลงทุน และคำนึงถึงการเติบโตของ NAV ด้วย เฉกเช่นเดียวกับการไปลงทุนในหุ้นนั่นเอง
 

เครื่องมือติดตามข้อมูล NAV    

1. Streaming fund+  แอปพลิเคชันซื้อขายกองทุนรวม

ที่สามารถดูข้อมูลกองทุนรวม มูลค่า NAV ช่วยประกอบการตัดสินใจซื้อ-ขายกองทุนรวม และสามารถดูรายชื่อของกองทุนรวมได้ในหน้าจอ “ซื้อขายกองทุน” หรือจากหน้า “ค้นหากองทุน”  ในรายละเอียดของกองทุนก็จะมีมูลค่า NAV ณ ปัจจุบันรวมถึงประวัติมูลค่า NAV ที่ผ่านมาบอกไว้ 

NAV คือ ซื้อขายกองทุน streaming fund+.jpg

รวมถึงสามารถ “ซื้อขายกองทุน” ผ่านแอปพลิเคชัน ได้ง่าย ๆ ดังนี้
  1. กดค้นหาชื่องกองทุนที่สนใจ 
  2. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการซื้อกองทุนนั้น 
  3. กดชำระเงิน โดยสามารถเลือกได้ว่าจะให้หักการชำระเงินแบบใด 
  4. คลิกต่อไป 
รอจำนวนหน่วยลงทุนที่ทำการซื้อโดยประมาณ 2-3 วันซึ่งแล้วแต่ประเภทสินทรัพย์ที่กองทุนนั้นไปลงทุน 

2. Wealth Connex  แอปพลิเคชันเชื่อมต่อบริการลงทุน สรุปทุกสินทรัพย์ในหน้าจอเดียว

ติดตามความเคลื่อนไหวมูลค่า NAV กองทุนรวมที่ท่านได้ลงทุนอยู่ ได้ที่เมนู พอร์ตของฉัน > รวมพอร์ตลงทุน 

nav คือ wealth connex.jpgnav คือ wealth connex.jpg

หรือติดตามกองทุนแนะนำจาก BLS Top Funds รวมถึงข่าวสารลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX บนเมนู Wealth ในหัวข้อบทวิเคราะห์ & ข่าว นะคะ 🥰
 

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง

 

wconnex.jpg
อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service
 

📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก  👇

 
เปิดบัญชี.jpg
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง