IPO-scripless
IPO-scripless

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศส่งมอบหลักทรัพย์สำหรับการจองซื้อหุ้น IPO เป็นแบบ scripless ทั้งหมด เริ่ม 1 ม.ค. 65 นี้!!

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศส่งมอบหลักทรัพย์สำหรับการจองซื้อหุ้น IPO เป็นแบบ scripless ทั้งหมด เริ่ม 1 ม.ค. 65 นี้!!

สำนักงาน ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ชมรมวาณิชธรกิจ (“IB Club”) และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (“ASCO”) ร่วมกันดำเนินนโยบายสนับสนุนให้การส่งมอบหลักทรัพย์สำหรับการจองซื้อหุ้น IPO เป็นแบบ scripless ทั้งหมด ดังนี้
ทำความรู้จักบัญชี 600.jpg

ทางเลือกการรับจัดสรรหุ้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

  • รับหุ้นเข้าบัญชีหลักทรัพย์ของตนที่เปิดไว้กับบริษัทหลักทรัพย์
  • รับหุ้นเข้าบัญชีหลักทรัพย์ของผู้ออกหลักทรัพย์ที่เปิดไว้กับ TSD (“บัญชี 600”)

Tips : หากผู้ลงทุนที่ประสงค์อยากได้ใบหุ้น สามารถขอออกใบหุ้นจากศูนย์รับฝาก หลักทรัพย์ (TSD) ได้ภายหลังจากที่ได้รับจัดสรรหุ้นในบัญชี 600 แล้ว 

เพื่อให้กระบวนการทำธุรกรรมในตลาดทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล เดินหน้าสู่  scripless 100%

การรับหุ้นแบบไร้ใบหุ้น (scripless) ช่วยลดปัญหาที่พบมาก จากการเลือกรับใบหุ้น ไม่ว่าจะเป็น

  • ปัญหาได้รับใบหุ้นล่าช้า
  • ใบหุ้นสูญหายระหว่างจัดส่ง
  • ขายหุ้นได้ล่าช้าเพราะต้องแปลงใบหุ้นเป็นไร้ใบหุ้นก่อน (scripless) 

บัญชี 600 คืออะไร?

บัญชี 600 คือ บัญชีที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ (Issuer Account) เปิดไว้กับบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) เพื่อเก็บรักษาหุ้นให้กับผู้ลงทุน ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ที่ทำ IPO หรือเสนอขาย หลักทรัพย์ที่จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะมีบัญชีนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ ผู้ลงทุนที่ยังไม่มีบัญชีหลักทรัพย์ สามารถนำหลักทรัพย์มาฝากไว้ในบัญชีนี้ได้เพียงแจ้งความประสงค์ใน ใบจองหุ้น

ดังนั้น การได้รับหุ้นผ่านบัญชี 600 จะรวดเร็ว โดยเมื่อปิดการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ทางบริษัทจะ ดำเนินการจัดสรรหุ้นให้กับผู้ที่จองซื้อและชำระค่าจองซื้อแล้ว โดยผู้ได้รับการจัดสรรจะได้รับหุ้นเข้าบัญชี 600 เช่นเดียวกับผู้ที่รับหุ้นเข้าบัญชีหลักทรัพย์

ข้อดีของบัญชี 600 

ข้อดีของบัญชี 600 คือ ผู้ลงทุนไม่ต้องมีบัญชีหลักทรัพย์ก็ซื้อหุ้นที่เสนอขายได้ และหุ้นจะถูกเก็บรักษาไว้กับ TSD จนกว่าเจ้าของจะทำธุรกรรม

นอกจากนี้ ยังได้รับหุ้นรวดเร็วเทียบเท่ากับผู้ที่รับหุ้นเข้าบัญชีหลักทรัพย์ โดยไม่ต้องจัดส่งใบหุ้นทางไปรษณีย์ ซึ่งอาจล่าช้ากว่าที่คาดไว้ หรืออาจเกิดเหตุที่ทำให้ใบหุ้นชำรุดหรือสูญหาย ซึ่งการนำหุ้นเข้าบัญชี 600 จะไม่มี ปัญหาเหล่านี้

อย่างไรก็ดีหากจะทำธุรกรรม เช่น ต้องการเปลี่ยนชื่อผู้ถือหรือขายหุ้นให้ผู้อื่น ก็สามารถดำเนินการผ่าน TSD หรือหากต้องการขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถโอนหุ้นจากบัญชี 600 เข้าบัญชีหลักทรัพย์ที่นักลงทุนไป เปิดกับบริษัทหลักทรัพย์ได้เช่นกัน

ซื้อขายหุ้นที่ฝากในบัญชี 600 ต้องทำอย่างไร

กรณีต้องการนำไปขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ

ผู้ลงทุนต้องเปิดบัญชีหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์แล้ว มอบหมายให้กับบริษัทหลักทรัพย์ ทำเรื่องโอนหุ้นจากบัญชี 600 เข้าบัญชีหลักทรัพย์ของผู้ลงทุน
Tips : การโอนหุ้นจากบัญชี 600 เข้าบัญชีหลักทรัพย์ต้องเป็นชื่อเดียวกันเท่านั้น และผู้ที่ต้องการขายหุ้นในวันแรกของการเปิดซื้อขายบนกระดาน (first day trading) ควรทำเรื่องโอนหุ้นจากบัญชี 600 เข้าบัญชีหลักทรัพย์ล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในการซื้อขาย

กรณีตกลงขายหุ้นให้ผู้อื่นแบบเจาะจงนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ

เจ้าของหุ้นและผู้ซื้อต้องไปทำเรื่องโอนหุ้นที่ TSD เพื่อเปลี่ยนชื่อเจ้าของหุ้นในบัญชี 600 เป็นชื่อผู้ซื้อหรือเจ้าของใหม่

ที่มา : www.sec.or.th

📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก 👇

MicrosoftTeams-image-635.png

หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก  
 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง