ema
ema

EMA บอกอะไรได้บ้าง

EMA บอกอะไรได้บ้าง
ก่อนเข้าเนื้อหา ลองนึกภาพกันก่อนว่า เส้น EMA อยู่ตรงไหนของกราฟ ...เชื่อว่าทุกๆ คนต้องเคยเห็น เส้น 4-5 เส้น ที่วิ่งเกาะแท่งเทียน นั่นเเหละ มันคือ เจ้าเส้น EMA นั่นเอง set19
แล้วทำไมมันต้องไปวิ่งคู่กับแท่งเทียนล่ะ
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average : MA) เครื่องมือที่มีการเคลื่อนไหวตามเเนวโน้ม (Trend Following) จากชื่อก็บอกอยู่เเล้วว่า "เส้นค่าเฉลี่ย" หลักการทำงาน คือ ช้พิจารณาการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น เปรียบเทียบว่า นักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นตัวหนึ่ง ในช่วงเวลากี่วันที่ผ่านมา จะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ราคาเท่าไร นั่นเอง...
ประเภทเส้นค่าเฉลี่ย ที่นิยมใช้งาน ?
1.)  ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) ตัวย่อ SMA หลักการคำนวณนั้น ง่ายเหมือนชื่อเลย เช่น อยากทราบค่าเฉลี่ย 5 วันที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยของราคาอยู่ที่เท่าไร ? ...ให้นำข้อมูลราคาในช่วง 5 วันที่ผ่านมา บวกกัน จากนั้นหารด้วย จำนวนวัน 5 วัน ง่ายๆเท่านี้ ก็รู้ว่าราคาเฉลี่ย ภายใน 5 วัน มีค่าเท่าไร... ...เเล้วถ้าเกิดเริ่มมีการเคลื่อนไหวของราคาวันถัดไปล่ะ ก็คำนวณใหม่ โดยการตัดราคาวันที่ 1 ออก แล้วเอาราคาหุ้นตั้งเเต่วันที่ 2 ถึง 6 มาบวกกัน และหารด้วย 5 วัน 2.)  ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ (Exponential Moving Average) ตัวย่อ EMA ปรับปรุงจากวิธีการคำนวณเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย SMA หลักการทำงาน เป็นการถ่วงน้ำหนักโดยให้ความสำคัญกับวันสุดท้ายมากที่สุด ค่าทุกค่าบนเส้น EMA จะสะท้อนทุกการเปลี่ยนแปลงของราคา
คำถามฮิตๆ ได้ยินบ่อยๆ..."เส้นค่าเฉลี่ยเขาใช้กันกี่วัน ? "
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วัน (2 สัปดาห์) ใช้สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นระยะสั้น
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 25 วัน (5 สัปดาห์) ใช้สะท้อนการเคลื่อไหวของราคาหุ้นระยะสั้น ถึง ระยะกลาง
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 75 วัน (15 สัปดาห์) ใช้สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นระยะกลาง
  • ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (40 สัปดาห์) ใช้สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นระยะยาว
เพิ่มเส้นค่าเฉลี่ย...ลงบนกราฟ อย่างไร ?
  • เข้าโปรแกรม Aspen > เลือกเมนู Overlay > Moving Average (.MAV)
11
  • หากต้องการปรับวันของเส้นค่าเฉลี่ย > ให้คลิกที่ลูกศรหลัง ชื่อเส้นค่าเฉลี่ย
12
  • เลือก Parameters > ปรับเป็น EMA พร้อมตั้งค่าวันที่ Period ได้เลย 
13

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง