economiccycle
economiccycle

มือใหม่เร่งพอร์ตหุ้นตาม...วัฏจักรเศรษฐกิจ (Economic Cycle) ทำยังไง?

มือใหม่เร่งพอร์ตหุ้นตาม...วัฏจักรเศรษฐกิจ (Economic Cycle) ทำยังไง?

ด้วยวัฏจักรเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งขาขึ้นและขาลง ซึ่งหุ้นแต่ละ Sector อาจจะมีช่วงเวลาน่าลงทุนได้ไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจและสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ...แล้วหุ้นอะไรจะน่าสนใจบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ


Economic cycle คืออะไร? 

Economic cycle หรือ วัฏจักรเศรษฐกิจ คือ การเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งวัฏจักรสามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้ง โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ อาทิ การขยายหรือหดตัวของเศรษฐกิจ GDP, เงินเฟ้อ, อัตราการว่างงาน และกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม  
 

Economic cycle มีกี่ช่วง และประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? 


economic cycle คือ วัฎจักรเศรษฐกิจ.jpg

วัฏจักรเศรษฐกิจประกอบไปด้วย 4 ช่วง ได้แก่ 

  1. Recovery ระยะฟื้นตัว คือ ช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัวหลังจากเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมา สังเกตได้จาก การปรับตัวที่ดีขึ้นของ GDP, ผลประกอบการภาคธุรกิจ, การผลิตและการจ้างงาน, อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของธนาคาร รวมถึงอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ 
  2. Peak ระยะเฟื่องฟู คือ ช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจเติบโตอย่างเต็มที่ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับที่ต่ำ และภาคครัวเรือนมีกำลังซื้อมาก แต่ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อ ราคาสินค้า รวมถึงอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินก็ปรับตัวขึ้นด้วย  
  3. Recession ระยะถดถอย คือ ช่วงที่เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ช่วงขาลงหลังจากมีการเติบโตอย่างเต็มที่มาแล้ว ซึ่งจะพบว่า GDP เริ่มชะลอการเติบโต เงินเฟ้อ, อัตราดอกเบี้ย และต้นทุนการผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งมีการลดลงของผลประกอบการบริษัท รวมถึงการผลิตและการจ้างงาน 
  4. Trough ระยะตกต่ำ คือ ช่วงที่เป็นจุดต่ำสุดของภาวะเศรษฐกิจ โดย GDP หดตัวหรือถึงขั้นติดลบ อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง มีการลดกำลังการผลิตของภาคธุรกิจ อัตราการว่างงานปรับตัวสูงขึ้น และภาคครัวเรือนมีกำลังซื้อที่อ่อนแอ  

 

Economic cycle ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างไร? เราอยู่จุดไหนใน Economic cycle

วัฏจักรเศรษฐกิจส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงโดย 

economic cycle คือ หุ้นน่าลงทุน.jpg

Recovery ระยะฟื้นตัว (WE ARE HERE!)

เนื่องจากในช่วงนี้อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับที่ต่ำ สินทรัพย์ที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนจะเป็นประเภทหุ้น โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น เช่น   

  • หุ้นกลุ่มพลังงานและสินค้าอุตสาหกรรม เนื่องจากเศรษฐกิจดีทำให้เพิ่มการผลิตได้มากขึ้น 
  • หุ้นกลุ่มธนาคารและการเงิน หุ้นกลุ่มนี้ได้รับประโยชน์จากแรงจูงใจในการลงทุนที่มากขึ้น ส่งผลให้มีการขยายตัวของสินเชื่อเพิ่มขึ้นไปด้วย 
  • หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง  ได้รับประโยชน์สินเชื่อที่มีดอกเบี้ยต่ำ และการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล  

 

Peak ระยะเฟื่องฟู

เป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น ดังนั้นสินทรัพย์ที่น่าลงทุนจะเป็น ทองคำ หรือกลุ่มหุ้นที่เติบโตตามภาวะเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจดีหุ้นก็จะดีตามไปด้วย เช่น  

  • หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค เนื่องจากเป็นช่วงที่มีกำลังซื้อมาก และประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น 
  • หุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ความต้องการของสินค้ากลุ่มนี้มีมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ จึงทำให้ผลประกอบการดีขึ้นด้วย 
  • หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและบริการ ได้รับประโยชน์จากการที่มีประชาชนมีกำลังซื้อมากเช่นกัน จึงทำให้มีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวมากขึ้น 

 

Recession ระยะถดถอย

เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยได้ปรับขึ้นถึงจุดสูงสุด ในการลงทุนควรเป็นสินทรัพย์ประเภทเงินฝากประจำ หรือกลุ่มหุ้นที่ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งมักจะเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น  

  • หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลและสุขภาพ เนื่องจากทุกคนมีโอกาสเจ็บป่วยได้ทุกเมื่อ จึงไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ 
  • หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นสิ่งพื้นฐานในประชีวิตประจำวันที่ทุกคนต้องใช้ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า น้ำประปา ระบบขนส่ง เป็นต้น 

 

Trough ระยะตกต่ำ

อยู่ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง สินทรัพย์ที่น่าสนใจในการลงทุนจึงเป็นประเภทตราสารหนี้ หรือกลุ่มหุ้นที่จะได้รับประโยชน์หากอยู่ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เช่น  

  • หุ้นกลุ่มสินค้าประเภท Inferior Goods สินค้ากลุ่มนี้จะได้รับความนิยมในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี เนื่องจากประชาชนไม่ค่อยมีกำลังซื้อ 
  • หุ้นกลุ่มบริหารสินเชื่อด้อยคุณภาพ เป็นช่วงที่มีโอกาสเกิดหนี้เสียมาก จึงมีการซื้อหนี้เสียเพื่อนำไปทำกำไรในอนาคต 
  • หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่เป็นเมกะเทรนด์  

 

พยากรณ์เศรษฐกิจ ได้จากอะไรบ้าง?

  1. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ: ตัวแปรที่จะปรับตัวก่อนเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง เช่น จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจก็จะเพิ่มตามตัวแปรอื่น ๆ อย่างเช่น การลงทุนภาคเอกชน, การส่งออก
  2. ดัชนีชี้พ้องเศรษฐกิจ: ตัวแปรที่จะปรับตัวไปพร้อมเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง เช่น การนำเข้า, ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ
  3. ดัชนีชี้ตามเศรษฐกิจ: ตัวแปรที่จะปรับตัวหลังเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง เช่น ระยะเวลาการว่างงานเฉลี่ย, จำนวนโรงงานเลิกกิจการ, การเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลเพิ่มขึ้น

Source: SET
 

ประเทศไทยกับวัฏจักรเศรษฐกิจใน ปี 2567

เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มดีขึ้น จากปัจจัยหนุน…การท่องเที่ยวฟื้นตัว, คนไทยจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น, รัฐบาลลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ, การส่งออกเริ่มดีขึ้น
เศรษฐกจไทยป-2567.pngSource: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (As of 19 Aug 2567)

 

สามารถดูตัวชี้วัดเศรษฐกิจได้จากที่ไหน? 

ลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวง ติดตามราคา หรือ ดูตัวเลขชี้วัดวัฎจักรเศรษฐกิจได้ง่าย ๆ

1. ผ่านแอป Aspen Bualuang Trade


จากนั้นล็อกอินบนแอปพลิเคชัน เลือกเมนู Chart พิมพ์ค้นหา ตัวเลขเศรษฐกิจที่สนใจ
ดูสัญลักษณ์ในการค้นหาข้อมูลบน Aspen เพิ่มเติม คลิกที่นี่ได้เลยนะคะ

aspen-กราฟเปรยบเทยบกราฟตวเลขทางเศรษฐกจ.pngแถมเพิ่มกราฟเปรียบเทียบกราฟตัวเลขทางเศรษฐกิจกับ SET ได้อีกด้วย


2. ผ่านโปรแกรม Aspen for browser
โดยล็อกอินเข้าสู่ระบบบนหน้าเว็บไซต์ www.bualuang.co.th เลือกเมนู Pre-Trade > Aspen
 
economic cycle คือ gdp aspen for browser.jpg
พร้อมเลือกตั้งค่า BLS Template สำหรับจับจังหวะซื้อขายที่คัดสรรมาให้กับนักลงทุน ได้ดังนี้
 

  1. เลือกเมนู View > Page Explorer
  2. เลือกโฟลเดอร์เป็น FX-Money-Econ > TH Econ Indicators
  3. กดเลือก รายชื่อตัวเลขชี้วัดที่ต้องการ เพื่อใช้วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจ

 

เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์ อนุมัติไว ง่าย ๆ ผ่านแอป Wealth Connex

 

download-wealth-connex-ios.png download-wealth-connex-android_1.png

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง