Aerospaceanddefense
Aerospaceanddefense

ทำความรู้จักอุตสาหกรรม Aerospace & Defense รับธีมลงทุนใหม่ FAANG 2.0

ทำความรู้จักอุตสาหกรรม Aerospace & Defense รับธีมลงทุนใหม่ FAANG 2.0
FAANG2.0 Aerospace F.jpg

ลงทุนอย่างไรในไตรมาส 4 ที่ดอกเบี้ยและเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น แถมตลาดยังคงมีแนวโน้มแกว่งตัวลงเช่นนี้... วันนี้ BLS Global Investing จะพานักลงทุนไปรู้จัก โลกการลงทุนรูปแบบใหม่ หรือ FAANG 2.0 โดยจะพาไปเจาะลึกในกลุ่ม Aerospace and Defense หรือกลุ่มอากาศยานและการป้องกันประเทศ ซึ่งทางเราคัดสรรมาให้แล้วว่าเป็นกลุ่มที่กำลังมาแรงและน่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นกลุ่มการลงทุนที่ไม่มีในตลาดหุ้นไทย เหมาะสำหรับเป็นทางเลือกในการกระจายการลงทุนเป็นอย่างมาก...ไปติดตามกันได้เลยค่ะ


FAANG 2.0 คืออะไร?

การลงทุนในปี 65 ถือว่ามีความท้าท้ายเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นปีแห่งตลาดหมีของการลงทุน เห็นได้จากดัชนี S&P 500 ที่ยังคงปรับตัวลงอยู่ในช่วงต้นไตรมาส 4 ปี 65 นี้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการไม่ว่าจะเป็น... การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed, สงครามที่ยืดเยื้อของรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงสภาวะเงินเฟ้อ Inverted Yield Curve และความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลก
ดังนั้น การลงทุนในกลุ่ม FAANG แบบเดิม หรือ FAANG 1.0 ซึ่งเป็นกลุ่มที่หมายถึงการลงทุนในหุ้นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก อย่าง Facebook (Meta), Amazon, Apple, Netflix และ Google อาจไม่สามารถตอบโจทย์การลงทุนที่เหมาะสมได้ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ทำให้เกิดธีมการลงทุนใหม่ที่น่าสนใจและอาจเหมาะสมมากกว่า ซึ่งก็คือ FAANG 2.0!

faang2.jpg

FAANG 2.0 ประกอบไปด้วย 5 อุตสาหกรรมด้วยกัน ได้แก่
F – Fuel (พลังงานเชื้อเพลิง)
A – Aerospace and Defense (อากาศยานและการป้องกันประเทศ)
A – Agriculture (สินค้าเกษตรและอาหาร)
N – Nuclear and Renewables (พลังงานนิวเคลียร์และหมุนเวียน)
G – Gold and Metals/Minerals (โลหะและแร่ธาตุ)


Picture2.png
Source: https://monetary-metals.com/gold-mainstream/ ณ วันที่ 11 ก.ค. 65

ติดตามอ่านข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ FAANG 2.0 ได้ในรายงานฉบับเต็ม ผ่านเมนู Global Commentary ในหัวข้อ US Stocks > “US Special Report : FAANG 2.0 ธีมลงทุนใหม่ในช่วงดอกเบี้ยและเงินเฟ้อพุ่ง”


A – Aerospace and Defense


industries_industries_slice1a_GettyImages-504608750.jpghttps://www.keysight.com/us/en/industries/aerospace-defense.html

อากาศยานและป้องกันประเทศ เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ ที่เราจะหยิบมาพูดถึงกันในวันนี้ โดย Aerospace and Defense (A&D) เป็นคำที่ใช้อธิบายอุตสาหกรรมที่ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางทางอากาศและการป้องกันประเทศ อุตสาหกรรมนี้สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก

1. 
กลุ่มอากาศยาน การบิน และอวกาศเชิงพาณิชย์ ซึ่งรวมไปถึงบริษัทที่ผลิตเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์สำหรับการใช้งานพลเรือน

2. 
กลุ่มป้องกันประเทศ การบิน และอวกาศทางทหาร ซึ่งประกอบด้วยบริษัทที่ผลิตระบบอาวุธ ขีปนาวุธ และอุปกรณ์อื่น ๆ สำหรับกองทัพ หรือ จรวด

อุตสาหกรรม A&D มีความสำคัญสำหรับนักลงทุนเพราะสามารถเสนอโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่มีการเติบโตสูง บริษัทที่จัดอยู่ในกลุ่ม A&D นี้ หลาย ๆ แห่ง มีงบดุลที่แข็งแกร่งพร้อมกระแสเงินสดที่ดี ทำให้บริษัทเหล่านั้น มีตัวเลือกการลงทุนที่น่าสนใจในช่วงเวลาที่ผันผวน อีกทั้งมักมีการขยายขีดความสามารถไปสู่เทคโนโลยีใหม่ ควบคู่ไปกับความสามารถในการผลิตและการจัดหา นวัตกรรมดิจิทัลระดับสูง

แนวโน้มการเดินทางทางอากาศเชิงพาณิชย์และกิจกรรมการสั่งซื้อของลูกค้าเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น หลังจากเหตุการณ์โควิด-19 เริ่มมีการชะลอตัวลง ซึ่งเป็นสัญญาณเชิงบวกสำหรับอุตสาหกรรมนี้ ทำให้การเดินทางทางอากาศเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อีกทั้งในด้านของการบินและอวกาศทางทหาร ที่หลายประเทศเริ่มให้ความสนใจความมั่นคงทางการทหารเพิ่มขึ้น จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน การใช้จ่ายและเทคโนโลยีทางทหารก็ตกอยู่ภายใต้ความสนใจ โลกติดตามการจัดส่งอาวุธของตะวันตก และมุ่งเน้นการพัฒนา ส่งออก และปรับใช้กำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์กันมากขึ้น ทำให้ในปี 64 มีการใช้จ่ายด้านการทหารทั่วโลกสูงถึง 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน และสหรัฐฯ ยังเป็นประเทศที่ใช้งบทางการทหารมากที่สุดในโลก อยู่ที่ 8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมีสัดส่วนคิดเป็น 37.9% ของโลกในปี 64 ขณะที่แผนงบประมาณทางทหารในปี 66 ของสหรัฐฯ อยู่ที่ 7.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แสดงให้เห็นถึงการลงทุนจำนวนมากด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง

บริษัทวิจัย Grand View Research คาดมูลค่าตลาดการบินและอวกาศและวัสดุป้องกันอาจแตะ 28.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 70 ด้วยการขยายฝูงบินเครื่องบินรบในประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย จีน ซึ่งคาดเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโต และอาจส่งผลต่อจำนวนกองเรือพาณิชย์และการขนส่งสินค้าทั่วโลกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี 70 และการเพิ่มขึ้นของปริมาณผู้โดยสาร หนุนความต้องการวัสดุด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในระยะยาว และอาจมีการพัฒนาและใช้งานวัสดุขั้นสูงต่อเนื่อง เช่น คอมโพสิตคาร์บอนไฟเบอร์ และไททาเนียมอัลลอยด์ วัสดุเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องบิน!


ตัวอย่างบริษัทในกลุ่ม Aerospace and Defense


1. Boeing (BA.US)

Boeing_full_logo.svg.png

บริษัท Boeing เป็นบริษัทข้ามชาติสัญชาติอเมริกันที่ออกแบบ ผลิต และจำหน่ายเครื่องบิน โรเตอร์คราฟต์ จรวด ดาวเทียม อุปกรณ์โทรคมนาคม และขีปนาวุธทั่วโลก ณ เดือนต.ค. 65 Boeing มีมูลค่าตามราคาตลาดอยู่ที่ 78.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้โบอิ้งเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดอันดับที่ 146 ของโลกตามมูลค่าตลาด

2. 
Lockheed Martin (LMT.US)

Lockheed_Martin_logo.svg.png
บริษัทด้านการบินและอวกาศ อาวุธ การป้องกันประเทศ ความปลอดภัยของข้อมูล และเทคโนโลยีที่มีความสนใจทั่วโลก ก่อตั้งขึ้นจากการควบรวมกิจการของ Lockheed Corporation กับ Martin Marietta โดยตามรายงานทางการเงินของ Lockheed Martin มีรายได้ในปี 64 อยู่ที่ 67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 63 ที่ 65.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีรายได้ปัจจุบันอยู่ที่ 64.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา

3. 
Raytheon Technologies (RTX.US)

Raytheon_Technologies_logo.svg.png

กลุ่มบริษัทการบินและอวกาศข้ามชาติและการป้องกันประเทศสหรัฐฯ ที่มีสำนักงานใหญ่ในรัฐเวอร์จิเนีย เป็นหนึ่งในผู้ผลิตอากาศยานและการป้องกันประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยรายได้สำหรับ 12 เดือนสิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิ.ย. 65 อยู่ที่ 65.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมูลค่าตลาด ณ ต.ค. 65 อยู่ที่ 123.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดอันดับที่ 81 ของโลก

4. 
Northrop Grumman (NOC.US)

Northrop_Grumman_logo_blue-on-clear_2020.svg
บริษัทการบินและอวกาศ การป้องกันประเทศ และความปลอดภัยระดับโลก ที่มีธุรกิจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงกลาโหม Northrop Grumman ยังเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการจัดหาขีปนาวุธนำวิถีและอาวุธที่มีความแม่นยำซึ่งใช้จากแพลตฟอร์มทางอากาศ ทางบก และทางทะเล นอกจากนี้บริษัทยังนำเสนอโซลูชั่นให้กับลูกค้าทั่วโลกและลูกค้าเชิงพาณิชย์


เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับกลุ่มการลงทุน Aerospace and Defense ที่ทางเราได้นำมาฝากกันในวันนี้ เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่แปลกใหม่ และน่าสนใจไม่น้อยสำหรับนักลงทุนชาวไทย หากสนใจก็สามารถเป็นเจ้าของได้สะดวก เพียงลงทุนผ่านระบบ Global Invest จากหลักทรัพย์บัวหลวง จะได้ไม่พลาดเทรนด์การลงทุนในไตมาส 4 ปี 65 กันนะคะ


ที่มา:  
BLS Global Investing, OurCrowd, Visualcapitalist, Grandviewresearch, LockheedMartin, Companiesmarketcap, Macrotrends, Northropgrumman

เรียบเรียงโดย:
ศิวพรรณ ประดิษฐ์กุล Supervisor: Global Investing Solutions, บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง
ภัทริกา สุทนุจินดา Product Specialist: Global Investing Solutions, บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง
ข้อมูล ณ วันที่ 11 ต.ค. 65



📌 โอนเงินในวันอังคาร หรือพุธเวลาใดก็ได้ TRANSFREE ฟรี! ค่าธรรมเนียมการโอนเงินไปต่างประเทศ สูงสุดถึง 3,000 บาท อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://bls.tips/globalinvesttransfer

📌 ติดตามรายงานหุ้นต่างประเทศ “Global Commentary” ผ่าน Wealth CONNEX, เว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง หรือแอปฯ Streaming สะดวกสบาย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถอ่านได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://bls.tips/globalcommentary








 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง