
พลิกวิกฤต เป็นโอกาส...บางท่านที่บอกว่า ช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวน จึงเป็นโอกาสของนักลงทุนที่จะศึกษาด้านการลงทุนให้มากขึ้น เสริมภูมิคุ้มกันให้กับนักลงทุนให้ลงทุนด้วยความเข้าใจ ความรู้ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงสั่งสมประสบการณ์และความรู้นั่นเอง!
อย่างที่นักลงทุนทราบกัน...การลงทุนที่ดี ควรจะมีการกระจายความเสี่ยง หรือ Diversification เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนที่กระจุกตัวมากเกินไป ซึ่งบางครั้ง นักลงทุนจำเป็นต้องมีการทำ Asset Allocation กระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน ดังนั้นการลงทุนในกองทุน ETF หรือ Exchange Traded Fund ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่มีข้อดีที่เห็นได้ชัดคือ สามารถกระจายการลงทุนได้ด้วยเงินไม่สูง โดย ETF มีหลากหลายประเภท เราจะมีนำมาเล่าในบทความถัด ๆ ไป หนึ่งในนั้นคือการจำแนกประเภท ETF ด้วย กลุ่มสินทรัพย์ หรือ Asset Class นั่นเอง ซึ่งวันนี้เราจะพูดถึงการลงทุนในสินทรัพย์ที่ถูกนับว่ากำลังเป็น Safe Heaven! ในช่วงที่ตลาดหุ้นอยู่ในขาลง และยังมีความผันผวนจากความไม่แน่ใจของหลายปัจจัย เช่น ภาวะเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ และนโยบายการเงิน/ การคลังของแต่ละประเทศ เป็นต้น
ETF ย่อมาจาก Exchanged Traded Fund หมายถึง กองทุนรวมชนิดหนึ่ง ที่นักลงทุนสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนแบบเรียลไทม์ เสมือนลงทุนในหุ้น ผ่านตลาดหลักทรัพย์ต่าง ทำให้ซื้อขายสะดวก แถมยังช่วยกระจายความเสี่ยงให้นักลงทุนได้ดี ไม่ต้องใช้เงินจำนวนสูงในการลงทุน
ตามที่ได้เกริ่นไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึง ETF ที่ลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ อาทิ ตราสารหนี้ หุ้นกู้, ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยน, สินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น ที่บางสินทรัพย์นักลงทุนมองว่าเป็น Safe Heaven! เลยก็ว่าได้ จะมี ETF ไหนบ้าง ลองมาดูกันค่ะ
1. ETF ที่เข้าลงทุนใน ‘ตราสารหนี้ (Fixed Income)’
ทำไม ETF หุ้นกู้ หรือ Bond ถึงถูกมองว่าเป็น Safe Heaven?
การลงทุนใน ETF ตราสารหนี้ หรือ การลงทุนใน ETF หุ้นกู้ ซึ่งนับเป็นตราสารหนี้ชนิดหนึ่ง ผู้ถือตราสารมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ดังนั้นจะได้รับผลตอบแทนที่มีความสม่ำเสมอและแน่นอนในรูปแบบของดอกเบี้ย (Interest) ตลอดอายุของตราสารนั้น ๆ โดยหากเข้าลงทุนใน ETF หุ้นกู้แล้ว นับว่ามีการกระจายการลงทุนจำนวนหลายสัญญาได้ เป็นการกระจายความเสี่ยงที่เรียกว่า ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ หรือ Default risk ที่นักลงทุนไม่จำเป็นต้องแบกรับความเสี่ยงอยู่องค์กรที่เป็นผู้ออกตราสารหนี้นั้น ๆ เพียงองค์กรเดียว
นอกจากนี้ ยังมีข้อดีอื่น ๆ จากการเข้าลงทุนใน ETF ตราสารนี้ แทนที่จะเข้าลงทุนในตราสารหนี้เพียง 1 ตราสารที่ต้องการเงินลงทุนจำนวนมาก...
1. ใช้เงินลงทุนต่ำ นักลงทุนสามารถลงทุนใน ETF ได้ตั้งแต่ 1 หน่วย (เนื่องจากหุ้นและ ETF สหรัฐฯ 1 หน่วยก็ลงทุนได้) พูดง่าย ๆ นักลงทุนสามารถใช้เงินหลักพันบาทในการลงทุนใน ETF แต่กับการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไปโดยตรง อาจต้องใช้เงินหลักแสนบาทอย่างต่ำ
2. กระจายการลงทุน กอง ETF ตราสารหนี้ รวมถึง หุ้นกู้ มักมีการกระจายการลงทุนในหลากหลายตราสารหนี้ ซึ่งช่วยกระจายความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ หรือ Default risk ได้ และบางกองเลือกลงทุนในทุกตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หรือแม่แต่ Mortgage-backed securities ก็มีเช่นกัน
ยกตัวอย่าง ETF ที่น่าสนใจ
1. iShares 1-3 Year Treasury Bond ETF (SHY.US)
ETF ที่เข้าลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ที่เรียกกันทั่วไปว่า Treasury Bill (T-Bill) ปัจจุบันได้รับความนิยมทั่วโลก เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำ หากเทียบกับตราสารหนี้ชนิดอื่น และหุ้น และการครบกำหนดระยะเวลาค่อนข้างสั้น เน้นลงทุนใน T-Bill ที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี
SHY ETF เป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนอาจใช้ในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงประเภทหนึ่งในช่วงตลาดหุ้นมีความผันผวน และถึงแม้จะไม่ได้ผลตอบแทนที่มากนักในปัจจุบัน แต่ก็นับว่ามีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย (Interest rate risk) และความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit risk) ที่ค่อนข้างต่ำด้วยเช่นกัน (นับว่าเป็นการ trade off เลยหล่ะ)
ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ SHY ETF (ข้อมูล ณ 13 พ.ค. 65)
- บริษัทผู้ออก (Issuer): Blackrock Financial Management ETF
- ค่าใช้จ่ายรวมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยต่อปี (Expense Ratio): 0.15%
มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 22,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ราคาต่อ ETF 1 หน่วย: 83.14 ดอลลาร์สหรัฐ
2. Vanguard Intermediate-Term Corporate Bond ETF (VCIT.US)
VCIT เป็น ETF ที่ลงทุนในหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัท หรือที่เรียกว่า Corporate bond (ฝั่งเอกชน ไม่ใช่ฝั่งรัฐฯ เหมือนกับ SHY แล้ว) ข้อแตกต่างที่สำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล คือ หุ้นกู้บริษัทมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้การชำระเงินคืนมากกว่า ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
VCIT ETF มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยมากกว่า SHY เช่นกัน หรือมากกว่า ETF ที่เข้าลงทุนในตราสารหนี้ประเภทพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจาก ETF นี้ จะเข้าลงทุนในกลุ่มหุ้นกู้ที่มีอายุของหุ้นกู้อยู่ในระดับกลาง ซึ่งหมายถึงการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอายุครบกำหนดชำระ (Maturity) ยาวนานถึง 5-10 ปี ถึงแม้หุ้นกู้เหล่านั้น จะมีระดับความน่าเชื่อถือสูง หรือที่เรียกว่า Investment-grade
ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ VCIT ETF (ข้อมูล ณ 13 พ.ค. 65)
- บริษัทผู้ออก (Issuer): Vanguard
- ค่าใช้จ่ายรวมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยต่อปี (Expense Ratio): 0.04%
- มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 44,190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ราคาต่อ ETF 1 หน่วย: 81.25 ดอลลาร์สหรัฐ
3. iShares Core U.S. Aggregate Bond ETF (AGG.US)
ETF เข้าลงทุน ทั้งพันธบัตรรัฐบาล (Treasury Bond) (Bond มีอายุของตราสารนานกว่า Bill) และหุ้นกู้บริษัท (Corporate Bond) เป็นหลัก โดยอาจมีตราสารหนี้ชนิดอื่นร่วมด้วยแล้วแต่ช่วงเวลา อาทิ MBS หรือ Mortgage-backed securities ซึ่งเป็นตรวสารหนี้หนึ่งที่มักเข้าลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์
AGG ETF เน้นจะเข้าลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุของตราสารที่ยาวนาน เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุน และลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนในระยะยาว
ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ AGG ETF (ข้อมูล ณ 13 พ.ค. 65)
- บริษัทผู้ออก (Issuer): Blackrock Financial Management ETF
- ค่าใช้จ่ายรวมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยต่อปี (Expense Ratio): 0.03%
- มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 82,570 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ราคาต่อ ETF 1 หน่วย: 102.51 ดอลลาร์สหรัฐ
2. ETF ที่เข้าลงทุนใน ‘ทองคำ (Gold)’
หลาย ๆ คนก็บอก ทองคำเป็น Safe Heaven จริงหรอ ?!
นักลงทุนหลายคนมองว่า ทองคำเป็นสินทรัพย์คงที่และเป็นการลงทุนปลอดภัย เหมาะกับการลงทุนในระยะยาว อีกทั้งทองคำยังสามารถป้องกันความเสี่ยงจากอตราเงินเฟ้อได้ เนื่องจากเมื่ออัตราเงินเฟ้ออยู่ปรับตัวขึ้น ราคาทองคำก็มักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแปรผันตรงตามกับอัตราเงินเฟ้อ หรือแม้แต่บางครั้ง ราคาทองคำก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราเงินเฟ้อด้วย ทำใไห้นักลงทุนสามารถรักษาอำนาจการซื้อหรือ Purchasing power ได้
และข้อดีอีกข้อหนึ่งก็คือ นักลงทุนไม่มีต้นทุนในการจัดเก็บ เหมือนกับการซื้อทองคำโดยตรง เพียงมีค่าใช้จ่ายที่กอง ETF เรียกเก็บนั่นเอง...หลาย ๆ คนมองว่า ทองคำเป็นโลหะที่มีค่าที่นักลงทุนมักลงทุนเพื่อใช้ในการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ในสภาวะเศรษฐกิตกต่ำ และสภาวะเงินเฟ้อด้วย
ยกตัวอย่าง ETF ที่น่าสนใจ
1. SPDR Gold Shares (GLD.US)
GLD เป็นหนึ่งใน ETF ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก! นับว่าเป็นสินทรัพย์ทองคำที่หลาย ๆ คน ใช้กระจายการลงทุนหรือเลือกจัดพอร์ต โดยกลุ่มสินทรัพย์นี้ก็ยังมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ แนวทางการลงทุน สามารถลงทุนได้ทั้งระยะสั้น กลาง ยาว และอาจเป็นอีกสินทรัพย์ที่หมาะกับการลงทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวน หรือแม้แต่ในสภาวะเงินเฟ้อก็เช่นกัน
GLD ETF เข้าลงทุนในกองทรัสต์ ที่หนุนด้วยทองคำแท่งและเก็บไว้ในห้องนิรภัย ที่ซื้อขายอยู่ในตลาดรอง OTC โดยราคาของ GLD นั้น เคลื่อนไหวล้อตามราคาทองคำนั่นเอง
ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ GLD ETF (ข้อมูล ณ 13 พ.ค. 65)
- บริษัทผู้ออก (Issuer): World Gold Council
- ค่าใช้จ่ายรวมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยต่อปี (Expense Ratio): 0.40%
- มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 67,240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ราคาต่อ ETF 1 หน่วย: 168.79 ดอลลาร์สหรัฐ
2. iShares Gold Trust (IAU.US)
IAU ETF เป็นอีกหนึ่งกองทุนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก ก่อตั้งหลังจาก GLD ETF ข้างต้น แต่ให้ผลตอบแทนสอดคล้องกับราคาทองคำเหมือนกับ GLD (หรืออาจเป็นเพราะออก ETF เพื่อแย่งชิงปริมาณการลงทุนจาก GLD ก็เป็นไปได้ แต่ไม่มีแหล่งข่าวอย่างแน่ชัด) ข้อดีหนึ่งข้อหลักที่อาจตอบโจทย์นักลงทุนบางท่านคือ ค่าใช้จ่ายรวมต่อปี อยู่ที่ 0.25% ขณะที่ GLD ETF มีค่าใช้จ่ายต่อปี อยู่ที่ 0.40% ต่างกันกว่า 0.15% อย่างไรก็ดี นักลงทุนบางท่านอาจคิดถึงปัจจัยแนวทางการบริหารของผู้ออกกอง หรือสภาพคล่องที่ GLD นั้นมีมากกว่า รวมถึง GLD ETF มีขนาด AUM ใหญ่กว่า IAU ราว 2 เท่า
ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ IAU ETF (ข้อมูล ณ 13 พ.ค. 65)
- บริษัทผู้ออก (Issuer): Blackrock Financial Management ETF
- ค่าใช้จ่ายรวมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยต่อปี (Expense Ratio): 0.25%
- มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 31,970 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ราคาต่อ ETF 1 หน่วย: 34.39 ดอลลาร์สหรัฐ
3. ETF ที่เข้าลงทุนใน ‘อัตราแลกเปลี่ยน (Currency)’
ทำไมจึงเป็นอีกสินทรัพย์ ที่ถูกมองว่าเป็น Safe Heaven?
เมื่อตลาดหุ้นมีความผันผวนอย่างเช่นในปัจจุบัน นักลงทุนบางท่านจึงหันมาเข้าลงทุนในเงินสดแทน โดยหนึ่งในนั้นก็คือเงินสดที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลก เศรษฐกิจแข็งแกร่ง ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
วันนี้เราจึงชวนมาดูว่า 2 ETF ที่ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตามมุมมองของนักลงทุนทุกท่านต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในอนาคตกันค่ะ
กรณีแรก...หากนักลงทุนมองว่า ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อาจแข็งค่าขึ้นต่อ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน ค่าเงิน USD แข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจน อาทิ หากเทียบกับเงินบาทไทย ปัจจุบันค่าเงินอยู่ที่ 34.735 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว เหตุผลก็คืองิน USD เริ่มแข็งค่าขึ้นมาในปัจจุบันค่ะ ดังนั้นหากค่าเงิน USD แข็งค่าต่อ จะส่งผลดีต่อ ราคา UUP ETF ที่เข้าลงทุนในดัชนีดอลลาร์สหรัฐ อาทิ Invesco DB US Dollar Index Bullish (UUP.US)
ETF ที่เข้าลงทุนในตะกร้าสกุลเงินต่างประเทศเทียบกับสกลุเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นราคาของ ETF ดังกล่าว จะลดลงเมื่อสกุลเงินอื่นแข็งค่า และจะเพิ่มขึ้น เมื่อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ดังนั้นกองนี้ อาจเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มองว่า เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าขึ้นต่อในอนาคต เทียบกับสกุลเงินอื่น เฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว
ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ UUP ETF (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พ.ค. 65)
- บริษัทผู้ออก (Issuer): World Gold Council
- ค่าใช้จ่ายรวมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยต่อปี (Expense Ratio): 0.78%
- มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 1,115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ราคาต่อ ETF 1 หน่วย: 27.97 ดอลลาร์สหรัฐ
2. Invesco DB US Dollar Index Bearish Fund (UDN.US)
ในทางตรงกันข้าม UDN ETF เข้าลงทุนในสกุลเงินอื่นในประเทศพัฒนาแล้ว เทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเช่นกัน แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ ราคา UDN ETF จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อสกุลเงินอื่นเหล่านี้แข็งค่า และสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า นอกจากนี้ UDN ETF อาจเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือเดิมพันกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ UDN ETF (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พ.ค. 65)
- บริษัทผู้ออก (Issuer): Invesco
- ค่าใช้จ่ายรวมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยต่อปี (Expense Ratio): 0.77%
- มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM): 43.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ราคาต่อ ETF 1 หน่วย: 18.41 ดอลลาร์สหรัฐ
🚨 เปิดบัญชีลงทุนต่างประเทศออนไลน์ง่าย ๆ สไตล์ BLS Global Investing ลงทุนได้ทั้งหุ้นและ ETF ที่จดทะเบียนในตลาดต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ตลาดสหรัฐฯ ตลาดฮ่องกง และตลาดเวียดนาม ได้ที่ https://bls.tips/openglobalinvesting หรือโทร 0-2618-1111
🔥 โปรฯ แรง “TRANSFREE” ฟรีค่าธรรมเนียมโอนเงินไปต่างประเทศ ทุกวันอังคาร และ วันพุธ ตลอดวัน ไปจนถึงสิ้นปี 2565 พร้อมกับรายงานหุ้นต่างประเทศ ส่งตรงถึงมือท่านทุกวันสม่ำเสมอ https://bls.tips/reportblsglobalinvesting
#หุ้นต่างประเทศ #ลงทุนต่างประเทศ #BLSGlobalInvesting #หลักทรัพย์บัวหลวง
ที่มา: Bloomberg, NYSE, Nasdaq, ETFdb.com, ETF.com, Yahoo Finance, Vanguard, Investopedia, SPDR, iShares, Investing.com, Statista
เรียบเรียงโดย:
ศิวพรรณ ประดิษฐ์กุล, Supervisor: Global Investing Solutions, บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง
รตนพร อมฤตวาริน, Product Specialist: Global Investing Solutions, บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง
ข้อมูล ณ วันที่ 13 พ.ค. 65