46810
46810

ยื่นภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือน...ทำอย่างไร ?

ยื่นภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือน...ทำอย่างไร ?
เข้าสู่ช่วงเทศกาลการยื่นภาษีกันอีกแล้ว!! ซึ่งวิธีการยื่นภาษีนั้น มี 2 วิธี 1. ยื่นภาษีแบบกระดาษ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา 2. ยื่นภาษีแบบออนไลน์ โดยเข้าเว็ปไซต์ https://www.rd.go.th ซึ่งระยะเวลาในการยื่นภาษีตามปกติจะสิ้นสุดเดือนมีนาคมของทุกปี แต่ปีนี้กรมสรรพากรได้ขยายเวลายื่นและชำระภาษีออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของผู้เสียภาษี ช่วยให้ประชาชนมีเงินใช้หมุนเวียนมากขึ้น
เริ่มคำนวณภาษียังไง ?
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้ว่าต้องเสียภาษีเท่าไรนั้น มีวิธีการคำนวณง่ายๆ ดังนี้... 111 *ค่าใช้จ่าย (ตามประเภทของเงินได้) *ค่าลดหย่อน (มากน้อยแต่ละคนไม่เท่ากัน) จากนั้นนำเงินได้สุทธิ ไปคำนวณตามอัตราภาษีขั้นบันได ก็จะได้ผลลัพธ์ภาษีที่เราต้องจ่ายนั่นเอง!!
ตารางอัตราฐานภาษี
Tax
เงินได้ต่อปีเท่าไรถึงเสียภาษี ?
ในตัวอย่างนี้เราจะเปรียบเทียบถึงวิธีการคำนวณภาษีของมนุษย์เงินเดือน 2 คน ที่มีค่าลดหย่อนส่วนตัว และประกันสังคมเท่ากัน แต่ต่างกันที่เงินได้ทั้งปีมากน้อยไม่เท่ากัน Tax2 สรุปได้ว่าหากเงินได้ทั้งปีน้อยกว่า 319,000 บาท (ค่าใช้จ่าย 100,000 + ค่าลดหย่อยส่วนตัว 60,000 + ประกันสังคม 9,000 + 150,000 แรกที่ยกเว้น) นั้นไม่ต้องเสียภาษี!! ส่วนมนุษย์เงินเดือน...ที่มีเงินได้ทั้งปีมากๆ ถ้าไม่อยากเสียภาษีเยอะก็ต้องมีค่าลดหย่อนให้มากตามกันไปด้วย เพื่อหักค่าลดหย่อนแล้ว จะเหลือเงินได้สุทธิไปคำนวณตามฐานภาษีไม่มาก
ค่าลดหย่อนที่มนุษย์เงินเดือนต้องมี ?
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท 2. คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ 60,000 บาท 3. บุตรที่เรียนอยู่และอายุไม่เกิน 25 ปี คนละ 30,000 บาท และบุตรตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดปี 2561 จะลดหย่อนได้เพิ่มเป็นคนละ 60,000 บาท 4. ค่าฝากครรภ์หรือคลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาท 5. อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หักค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน คนละ 30,000 บาท (ถ้าบิดามารดาอายุเกิน 60 ปี หักค่าลดหย่อนรวมกันได้ 60,000) กรณีนี้หากมีพี่น้องที่เสียภาษีทั้งคู่จะไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาซ้ำกันได้!! แล้วอย่าลืมเตรียมหลักฐาน รย. 30 กันไว้ด้วย 6. อุปการะผู้พิการ หรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท 7. เงินสะสมกองกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund เป็นเงินสะสมจากลูกค้า และเงินสมบทจากนายจ้าง หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท โดยจะแบ่งเป็นสองก้อน 10,000 บาทหักเป็นค่าลดหย่อน ส่วนที่เหลือไม่เกิน 490,000 บาท ไปหักจากเงินได้ตรง 8. เบี้ยประกันสุขภาพ หักค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท 9. เบี้ยประกันชีวิต หักค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท *เบี้ยประกันสุขภาพ เมื่อรวมกับ เชี้ยประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท 10. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท 11. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หักค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 9,000 บาท 12. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หักค่าลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ทั้งปี ไม่เกิน 150,000 บาท 13. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., สงเคราะห์ครูฯ 15% ของเงินได้ รวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 15% ไม่เกิน 200,000 บาท, กองทุนออมแห่งชาติ ไม่เกิน 13,200 บาท แต่ทั้งหมดรวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ค่าลดหย่อนใหม่ในปี 2562
  1. ค่าซื้อสินค้าบริการ โครงการช้อปช่วยชาติ ซื้อสินค้า 3 อย่าง ได้แก่ สินค้าโอทอป ยาง และหนังสือ
  2. ค่าซ่อมบ้าน ซ่อมรถ
  3. ค่าเที่ยวเที่ยวในประเทศ เที่ยวเมืองหลัก เที่ยวเมืองรอง จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
วิธีการยื่นภาษีแบบออนไลน์ด้วยตนเอง!!
ก่อนที่เราจะยื่นภาษีกัน ต้องมาเตรียมเอกสารสำคัญเหล่านี้ก่อน ได้แก่ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ), เอกสารประกันสังคม, เอกสารอื่นๆ อาทิเช่น หลักฐานการซื้อประกัน กองทุน LTF ฯลฯ ขั้นตอนที่ 1 : เข้าสู่เว็ปไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th จากนั้นคลิก “ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91” thumbnail1 ขั้นตอนที่ 2 : ระบุหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และรหัสผ่าน จากนั้นคลิกตกลง เพื่อเข้าสู่ระบบ (หากยังไม่เคยลงทะเบียนให้คลิกลงทะเบียนก่อน) thumbnail2 ขั้นตอนที่ 3 : เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว จะพบกับหน้า “ข้อมูลผู้มีเงินได้” ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดอีกครั้ง หากมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ นามสกุล หรือที่อยู่ สามารถกดแก้ไขได้ จากนั้นกดทำรายการต่อไป thumbnail3 ขั้นตอนที่ 4 : เข้าสู่ขั้นตอนการยื่นภาษีหน้าหลัก
  • เลือกสถานภาพของผู้มีเงินได้ (ตามกฎหมาย)
  • เลือกสถานะการยื่นแบบ
thumbnail4 ขั้นตอนที่ 5 : เลือกเงินได้ / ค่าลดหย่อน เลือกให้ครบว่าเงินได้ประเภทใดบ้าง ซึ่งโดยปกติมนุษย์เงินเดือนก็จะต้องเลือก “มาตรา 40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำนาญ โบนัสฯ” เป็นหลัก และหากต้องการเครดิตภาษีเงินปันผลจากการลงทุน “มาตรา 40(4)(ข) เงินได้จากเงินปันผลจากบริษัทฯ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย” และตามด้วยระบุค่าลดหย่อนทางด้านขวามือ อ่านวิธีเครดิตภาษีเงินปันผล…คลิกที่นี่ thumbnail5 ขั้นตอนที่ 6 : บันทึกเงินได้
  1. ระบุเงินได้พึงประเมิน
  2. จำนวนภาษีที่บริษัทหัก ณ ที่จ่าย
  3. เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  4. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ให้กรอกเลขภาษีของบริษัทที่จ่ายเงินให้เรา
thumbnail6 ขั้นตอนที่ 7 : บันทึกค่าลดหย่อน กรอกข้อมูลการลดหย่อนต่างๆ ที่เตรียมไว้ thumbnail7 ขั้นตอนที่ 8 : คำนวณภาษี ระบบจะคำนวณภาษีให้เราอัตโนมัติ แต่อย่างไรก็ตามเราจะต้องตรวจสอบความถูกต้องว่ารายการตกหล่นหรือไม่ พร้อมต้องระบุรายละเอียดเพิ่มอีก 2 จุด
  • การแสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองของผู้มีเงินได้
  • คำร้องขอคืนภาษี
thumbnail8 ขั้นตอนที่ 9 : ยืนยันการยื่นแบบ ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง พร้อมกดยืนยันการยื่นแบบ การยื่นภาษีนั้นไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด!!  อย่าลืมยื่นภาษี ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2563 กันนะคะ :)
วิธีขอหนังสือรับรองเพื่อใช้ยื่นภาษี LTF - RMF ประจำปี 2562
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (KASSET) คลิกที่นี่
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (BBLAM) คลิกที่นี่
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด (Aberdeen) คลิกที่นี่
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) (MFC) คลิกที่นี่
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด (PHATRA) คลิกที่นี่
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTAM) คลิกที่นี่
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด (UOBAM) คลิกที่นี่
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด (PRINCIPAL) คลิกที่นี่
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (KSAM) คลิกที่นี่
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด (TISCO) สามารถขอข้อมูลได้ที่ Call Center 02-633-6000 กด 4
  • บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (Manulife) ขอข้อมูลผ่านทีมกองทุน บมจ.หลักทรัพย์บัวหลวง
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด (TMBAM) ขอข้อมูลได้ที่ Call Center 1725
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (LH) ขอข้อมูลผ่านทีมกองทุน บมจ.หลักทรัพย์บัวหลวง
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBAM) ขอข้อมูลผ่านทีมกองทุน บมจ.หลักทรัพย์บัวหลวง
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด (ASSET PLUS) ขอข้อมูลผ่านทีมกองทุน บมจ.หลักทรัพย์บัวหลวง
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บางกอกแคปปิตอล จำกัด (BCAP) ขอข้อมูลผ่านทีมกองทุน บมจ.หลักทรัพย์บัวหลวง
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด (ONEAM) ขอข้อมูลผ่านทีมกองทุน บมจ.หลักทรัพย์บัวหลวง
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส จำกัด (TALISAM) ขอข้อมูลผ่านทีมกองทุน บมจ.หลักทรัพย์บัวหลวง

เปิดบัญชีกองทุนเพื่อซื้อกองทุนไว้ลดหย่อนภาษี...ได้ครบจบที่เดียว 19 บลจ. สมัครเปิดบัญชีกองทุนออนไลน์ กับหลักทรัพย์บัวหลวง คลิกที่นี่
Open-funds ** เมื่อกรอกรายละเอียดแล้ว…กรุณาส่ง ฝ่ายบัวหลวงอินเวสเมนท์สเตชั่น (1-7 อาคารซิลลิคเฮ้าส์ Unit 1A ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500)
เปิดบัญชีกองทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง ซื้อขายกองทุนได้ครบจบที่เดียว 19 บลจ.
บัวหลวงเราเป็นตัวแทนขายกองทุนทั้งหมด 19 บลจ. โดย ปัจจุบันมี บลจ. ที่เข้าร่วมใน BLS FundConnext ทั้งหมด 17 บลจ. ซื้อขายออนไลน์ได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน Streaming for Fund และอีก 2 บลจ. สามารถซื้อขายได้ โดยกรอกแบบฟอร์มคำสั่งซื้อขาย 17 บลจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง