
Tips
เมื่อผู้บริโภคเริ่มไม่นิยมเสพหนังวัว เหล่าเจ้าของแบรนด์ชั้นนำของโลกหลายแห่ง จำต้องหันมาใช้ผ้าเป็นวัสดุหลักทดแทนหนังวัว สถานการณ์ไม่เป็นใจเช่นนี้ บมจ.ซีพีแอล กรุ๊ป หนึ่งในผู้ผลิตหนังวัวฟอกสำเร็จรูปรายใหญ่ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ “ตระกูลวงษ์เจริญสิน” จะปรับตัวให้อยู่รอดอย่างไร “เม่าจำไม By Bualuang Securities” บุกไปหาคำตอบถึงโรงงานฟอกหนังครบวงจรในจังหวัดสมุทรปราการ ไปติดตามอ่านกันค่ะ :)
ปัจจุบัน CPL มีปริมาณการผลิตหนังวัวฟอกสำเร็จรูปเฉลี่ย 2.5 ล้านตารางฟุตต่อเดือน คิดเป็นการใช้กำลังการผลิตราว 85% โดยตลาดส่งออกสำคัญ คือ ประเทศจีน, เวียดนาม, อินโดนีเซีย และอินเดีย รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่เป็นฐานการผลิตรองเท้าแบรนด์ชั้นนำ
คุณหนึ่ง บอกว่า แม้อุตสาหกรรมฟอกหนังของไทยจะตกอยู่ในสถานการณ์ไม่สู้ดีนัก แต่ธุรกิจการให้บริการฟอกหนังของ CPL คงไม่ถูกกระแส Disruption เพราะลูกค้าของเราไม่ขี้เหร่ หลายรายล้วนแล้วเป็นแบรนด์ชั้นนำของโลกแทบทั้งสิ้น เช่น อาดิดาส (ADIDAS),ลาคอสต์ (LACOSTE), ทิมเบอร์แลนด์ (TIMBERLAND), พูม่า (PUMA) สเก็ตเชอร์ส (SKECHERS) ดร.มาร์ตินส์ (Dr. Martens) และ เฟร็ด เพอร์รี (fred perry) เป็นต้น
จริงๆ เราเห็นเทรนด์การลดใช้หนังวัวมาสักพักใหญ่แล้ว ทำให้ในปี 2560 ตัดสินใจปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ ด้วยการรับโอนกิจการทั้งหมดของ บริษัท แพงโกลิน เซฟตี้ โปรดักส์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ได้แก่ รองเท้านิรภัย (Safety Shoes) ภายใต้แบรนด์ “แพงโกลิน” และสินค้าอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ จัดซื้อภายในประเทศ รวมทั้งเป็นสินค้ารับจ้างผลิต (OEM) ซึ่งเป็นกิจการในกลุ่มบริษัทเจริญสิน
ทำให้ตั้งแต่ปี 2561 บริษัทมีสัดส่วนรายได้มาจาก 3 ส่วน คือ 1.กลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายหนังสำเร็จรูป 2.กลุ่มธุรกิจการให้บริการฟอกหนัง และ 3.กลุ่มธุรกิจรองเท้านิรภัยและอุปกรณ์นิรภัย ปัจจุบัน “แพงโกลิน” สร้างยอดขายให้บริษัทคิดเป็น 1 ใน 4 เรียกว่า “พระเอกของ CPL” ก็ว่าได้
“สมัยก่อนเรานำหนังวัวดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของบริษัทในการผลิตรองเท้ากีฬา และรองเท้าลำลองมาจากสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เพราะลูกค้าหลักหลายคนต้องการใช้หนังจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น เช่น Timberland เป็นต้น แต่ในปีนี้เราเริ่มเติมหนังจากบราซิลเข้ามาบ้าง เพราะการใช้หนังวัวจากสหรัฐอเมริกาเพียงอย่างเดียวจะทำให้เราแข่งขันได้ยากขึ้น”
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทิ้งท้ายบทสนทนา ก่อนพาไปเยี่ยมชมหน่วยการผลิตว่า โจทย์สำคัญในการทำธุรกิจจากนี้เราต้องทำธุรกิจฟอกหนังให้นิ่งมากที่สุด ขณะเดียวกันหากมีโอกาสและจังหวะในการขยายตัวก็จะไม่รีรอ ส่วนธุรกิจเซฟตี้ โปรดักส์ แบรนด์ “แพงโกลิน” จากนี้จะขยายตัวไปเรื่อยๆ หลังเมื่อ 8 ปีก่อน เข้าไปทำการตลาดในประเทศพม่า ยอดขายก็ค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้กำลังมองเวียดนาม เพราะประเทศกำลังอยู่ในช่วงของการขยายตัว ฉะนั้นผลิตภัณฑ์ประเภทเซฟตี้จะเป็นที่ต้องการอย่างมาก
ในปีที่ผ่านมาแบรนด์ “แพงโกลิน” สร้างการเติบโตได้อย่างน่าพอใจ (มีทั้งหมด 17 สาขาทั่วประเทศ) เป็นผลจากการทำการตลาดแบบตรง หรือ Direct Marketing ที่ใช้วิธีเจาะเข้าสู่องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่มีความต้องการซื้อสินค้าอยู่แล้ว ส่วนในปีนี้ตั้งเป้าการเติบโตของธุรกิจเซฟตี้ โปรดักส์ ประมาณ 15% เน้นเพิ่มสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้น “แม้วันนี้ธุรกิจฟอกหนังจะทำแล้วไม่รวยเท่ารุ่นพ่อ แต่ เจเนอเรชั่น 3 จะทำหน้าที่ประคับประคองธุรกิจของตระกูลไว้ให้ดีที่สุด”
“ยากมากหากใครคิดจะร่ำรวยจากอุตสาหกรรมฟอกหนังเหมือนสมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่”การยอมรับตรงๆ แบบไม่มีอ้อมค้อม ของ “คุณหนึ่ง ภูวสิษฏ์ วงษ์เจริญสิน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพีแอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ผลิตหนังวัวฟอกสำเร็จรูปรายใหญ่ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (เซฟตี้ โปรดักส์) ภายใต้แบรนด์ “แพงโกลิน” ดูเหมือนคำยืนยันของคุณหนึ่งจะสอดคล้องกับรายงานเรื่องอุตสาหกรรมหนังในสหรัฐอเมริกาของสำนักข่าวบลูมเบิร์กที่ระบุว่า ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมหนังในสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญหน้ากับความยากลำบาก แม้ปัจจุบันผู้บริโภคจะรับประทานเนื้อวัวมากที่สุดในรอบ 10 ปี ก็ตาม เนื่องจากผู้บริโภคที่เคยนิยมแจ็กเก็ตหรือรองเท้าหนัง เริ่มมาซื้อเสื้อผ้าและรองเท้าที่ผลิตจากใยสังเคราะห์ที่มีราคาถูกกว่า ขณะที่ผู้ออกแบบรองเท้าและเสื้อผ้าหันมาใช้วัสดุอย่างอื่นทดแทนหนังสัตว์ หลังเมื่อ 5 ปีก่อนหนังสัตว์มีราคาสูงขึ้น เพราะความแห้งแล้งได้ส่งผลต่อแหล่งอาหารของวัว (อ้างอิงข้อมูลจาก posttoday)

ธุรกิจฟอกหนัง CPL จะรอดมั้ย!!! เมื่อ “ผ้า” กลายเป็นวัสดุ “ยอดฮิต”เจเนอเรชั่น 3 ของตระกูลวงษ์เจริญสิน หัวเราะแล้วตอบคำถามนี้ว่า แม้ธุรกิจการให้บริการฟอกหนังจะไม่ได้สร้างกำไรมากมายให้บริษัท หลังผู้บริโภคบางส่วนไม่นิยมใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากหนังสัตว์ จนทำให้แบรนด์ดังหลายรายหันมาใช้วัสดุชนิดผ้าแทนหนังมากขึ้น ขณะเดียวกันที่ผ่านมาราคาหนังวัวก็ต่ำเตี้ยเฉลี่ย 30 เหรียญสหรัฐต่อตัว เมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อนที่ราคาสูงถึงตัวละ 110-120 เหรียญสหรัฐ แต่ด้วยความเป็น CPL เป็นธุรกิจดั่งเดิมของตระกูล ทำให้ผมในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารจำเป็นต้องบริหารกิจการให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งให้ได้ ที่ผ่านมาเราได้เข้าไปปรับปรุงระบบเครื่องจักรให้มีความทันสมัยมากขึ้นแล้ว เพราะตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา โรงงานของ CPL ไม่ได้มีการพัฒนาระบบให้ทันต่อโลกเลย



“เม่าจำไม By Bualuang Securities” จะมาเล่าเรื่องอะไรให้ฟังอีก รอติดตามนะคะ...
