
สำหรับคำถามที่นักเทรด DW ให้ความสนใจอันดับต้นๆและสอบถามกันเข้ามาเยอะว่า DW มีให้เลือกหลายรุ่น เมื่อเราเลือกทิศทางของหลักทรัพย์อ้างอิงได้แล้ว ไม่ว่าจะมองขึ้นเลือก Call หรือมองลงเลือก Put เราต้องมาเลือกต่อว่าจะเลือก DW รุ่นไหน วันหมดอายุเป็นอย่างไร สั้นหรือยาวดีกว่ากัน แล้วเราจะเลือกอย่างไรดี...
แล้ว DW อายุสั้น vs อายุยาว ดูอย่างไร?
สำหรับใครที่ยังนึกภาพไม่ออก เราจะมาทำความเข้าใจแบบง่ายๆกันว่า DW อายุสั้น คือ DW ที่มีอายุคงเหลือน้อย ประมาณอีก 1 – 2 เดือน เช่น PTTE01C1901A คือ Call DW01 อ้างอิงหุ้น PTTEP ที่จะหมดอายุ เดือนมกราคม ค.ศ. 2019 ส่วน DW อายุยาว โดยปกติคือรุ่นที่มีอายุคงเหลือไกลที่สุดที่มีให้เทรดในตลาด อาจจะมีอายุประมาณ 5-6 เดือน เช่น PTTE01C1907A คือ Call DW01 อ้างอิงหุ้น PTTEP ที่จะหมดอายุ เดือนกรกฏาคม ค.ศ. 2019 นั่นเอง
เมื่อเรารู้ว่า DW อายุสั้น และ อายุยาวหน้าตาเป็นอย่างไรแล้ว...
สิ่งที่นักเทรด DW ส่วนใหญ่อยากรู้และควรรู้ถัดมาคือค่า Indicator ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอัตราทด, Sensitivity, ค่าเสื่อมเวลา, สถานะของ DW รวมถึงค่าอื่นๆมีค่าเป็นอย่างไรและแตกต่างกันอย่างไรแล้ว... อัตราทดและค่าเสื่อมเวลาเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป ?
จากการจำลอง (Simulation) จะเห็นว่าเมื่ออายุคงเหลือ DW ลดลง อัตราทดและค่าเสื่อมเวลาจะเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง ดังนั้นอาจพอพูดได้ว่าโดยปกติแล้ว “อัตราทด และค่าเสื่อมเวลาของ DW จะเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้หมดอายุ”
- อัตราทด: เป็นค่าที่บอกว่าถ้าราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลงไป 1% ราคา DW จะเปลี่ยนแปลงไปประมาณกี่ %
เมื่อเปรียบเทียบอัตราทด DW อ้างอิงหุ้นรายตัวทั้ง 3 หุ้น (ที่อายุคงเหลือแตกต่างกัน) อาจได้ข้อสังเกตว่า “DW ที่อายุคงเหลือสั้น โดยส่วนใหญ่ อัตราทดจะสูงกว่า”และจากข้อมูลค่าเฉลี่ยอัตราทด DW อ้างอิงหุ้นรายตัวทั้งอุตสาหกรรม แยกตามอายุคงเหลือ พบว่า “DW ที่อายุคงเหลือสั้น ค่าเฉลี่ยของอัตราทดจะสูงกว่า DW ที่อายุคงเหลือยาว”
- ค่าเสื่อมเวลา : เป็นค่าที่บอกว่าเมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน ราคา DW จะลดลงประมาณกี่เปอร์เซนต์
ถัดมาเรามาเปรียบเทียบค่าเสื่อมเวลา DW อ้างอิงหุ้นรายตัวทั้ง 3 หุ้น (ที่อายุคงเหลือแตกต่างกัน) จะเห็นได้ว่า "DW ที่มีอายุคงเหลือยาว โดยส่วนใหญ่ ค่าเสื่อมเวลาจะต่ำกว่า”ข้อมูลค่าเสื่อมเวลา DW อ้างอิงหุ้นรายตัวทั้งอุตสาหกรรม แยกตามอายุคงเหลือ แสดงว่า “DW ที่มีอายุคงเหลือสั้น ค่าเสื่อมเวลาจะสูงกว่า DW ที่มีอายุคงเหลือยาว”
"DW แบบไหนเหมาะกับเรา ?"
เมื่อเราได้รู้ความแตกต่างในภาพรวมระหว่าง DW อายุสั้น และ DW อายุยาว โดยเปรียบเทียบในแต่ละ Indicator ทำให้พอจะเห็นภาพได้ว่า DW แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน โดยเราอาจหยิบยกคุณสมบัติเหล่านั้นที่เหมาะกับเรามาประกอบการเทรด ซึ่งพอสรุปได้คร่าวๆคือโดยส่วนใหญ่ DW อายุสั้น อัตราทดจะสูงกว่า และค่าเสื่อมเวลามากกว่า เหมาะกับการเทรดสั้น ต้องมีวินัยในการเทรด ควรจะถือครองไม่นานนัก ส่วน DW อายุยาว ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ อัตราทดและค่าเสื่อมเวลาจะต่ำกว่า ทำให้ต้นทุนในการถือครองต่ำกว่า พอถือครองได้ เหมาะกับมือใหม่ที่เริ่มเทรด DW
แล้วคนส่วนใหญ่เทรด DW อายุสั้น หรือ DW อายุยาว ?จากข้อมูลมูลค่าซื้อขาย DW อ้างอิงหุ้นรายตัวทั้งอุตสาหกรรม แยกตามอายุคงเหลือ ย้อนหลังเกินกว่า 1 ปี พบว่า นักลงทุนนิยม DW ที่มีอายุคงเหลือประมาณ 80 วันมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม DW ที่มีอายุคงเหลือประมาณ 80 วันได้รับความนิยมสูงสุดไม่ได้ฟันธงว่า DW อายุสั้น หรือ DW อายุยาวได้รับความนิยมมากกว่ากัน ในทางกลับกัน คนส่วนใหญ่เทรด DW ที่มีอายุคงเหลือประมาณกลางๆ ไม่สั้นหรือไม่ยาวจนเกินไป
การเลือกเทรด DW อายุสั้น หรือ อายุยาว ขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรด คำถามคือเรารู้ตัวเองหรือไม่ว่าเราเทรดสไตล์ไหน เทรดสั้นหรือยาว รับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน การรู้จักประยุกต์ใช้กลยุทธ์และนำไปใช้อย่างไร รวมถึงอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงในการเทรด ดังนั้นการเลือก DW อายุสั้น หรือ อายุยาว เป็นเพียงการเลือกเทรด DW ให้ตรงกับสไตล์การเทรดของเรานั่นเอง...
ติดตามข้อมูลข่าวสาร DW01 และ ตรวจสอบ Indicator ของ DW01 ได้หลากหลายช่องทาง ดังนี้
- Blswarrant.com คลิกที่นี่
- Facebook Messenger “น้องบัว แชทบอท” คุยกับน้องบัว คลิกที่นี่
- LINE: @DW01 Add LINE DW01 คลิกที่นี่
- ASPEN BUALUANG TRADE iOS คลิกที่นี่ , Andriod คลิกที่นี่
รับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่…ฝ่าย Structured Products โทร. 02 618 1492 – 4