investmentwords
investmentwords

คำศัพท์ที่พบบ่อยในบทวิเคราะห์

คำศัพท์ที่พบบ่อยในบทวิเคราะห์

สำหรับคนที่ทำการบ้านก่อนลงมือเทรดนั้น มักจะชอบอ่านบทวิเคราะห์หุ้นอยู่เสมอ แต่นักลงทุนมือใหม่หลายคนที่เพิ่งเริ่มอ่าน…อ่านไปอ่านมาก็เกิดความสงสัยว่า “คำศัพท์บางคำที่แทรกอยู่ในบทวิเคราะห์นั้นมีหมายความว่าอย่างไรบ้าง

เรามาดูกันว่าคำศัพท์ที่มักเจอบ่อยๆในบทวิเคราะห์ แต่ละคำมีความหมายว่าอย่างไร ?

คำศัพท์ความหมาย
Yieldอัตราผลตอบแทน
PER / PEPrice to earning per share หรือ อัตราส่วนระหว่างราคาหุ้น และกำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share : EPS)
Fair valueราคาที่เหมาะสม หรือราคาเป้าหมายที่กำหนดไว้
YoY หรือ y-yYear on Year การเปรียบเทียบผลประกอบการในช่วงเวลาเดียวกันแบบรายปี โดยเทียบปีปัจจุบันกับปีก่อนหน้า
QoQ หรือ q-qQuarter on Quarter การเปรียบเทียบผลประกอบการในช่วงเวลาเดียวกันแบบรายไตรมาส โดยเทียบไตรมาสปัจจุบันกับไตรมาสก่อนหน้า
1Q19
2Q19
3Q19
4Q19
ไตรมาสที่ 1 ของปี 2019
ไตรมาสที่ 2 ของปี 2019
ไตรมาสที่ 3 ของปี 2019
ไตรมาสที่ 4 ของปี 2019
Coverageหุ้นที่บริษัทหลักทรัพย์นั้นๆ cover อยู่ ในที่นี้หมายถึงมีการทำบทวิเคราะห์หรือติดตามการดำเนินงานของหุ้นตัวนั้นๆอยู่
Consensusการสำรวจความเห็นของการวิเคราะห์หุ้นจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น จากโบรกเกอร์ต่างๆ / Bloomberg ที่ติดตามข้อมูลรายบริษัทอย่างใกล้ชิด โดยจะนำเสนอในรูปตารางสรุปตัวเลขสำคัญทางการเงินรายบริษัท เช่น กำไรสุทธิ, กำไรต่อหุ้น (EPS), อัตราเงินปันผล (DIY), มูลค่าตามปัจจัยพื้นฐาน (Target Price), คำแนะนำสำหรับการลงทุน เป็นต้น
Overweightเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นตัวนั้นเมื่อเทียบกับน้ำหนักลงทุนปกติ
Underweightลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นตัวนั้นเมื่อเทียบกับน้ำหนักลงทุนปกติ
Strong-Buy หรือ Outperformหุ้นน่าสนใจ น่าซื้อ เพราะถูกกว่าราคาประเมินจากพื้นฐาน และอาจจะมีปัจจัยด้านบวกที่จะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นได้ในเร็วๆนี้ และคาดว่าจะทำให้อัตราผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดหุ้นโดยรวม (%)
Neutralให้น้ำหนักการลงทุนของหุ้นเทียบเท่ากับสัดส่วนน้ำหนักถ่วงในตลาดหุ้น และคาดว่าจะให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีกลุ่ม หรือ อัตราผลตอบแทนโดยรวม (%)
Sell หรือ Underperformขาย เนื่องจากราคาหุ้นไม่น่าสนใจ ประเมินแนวโน้มรายได้/กำไรของบริษัทว่ามีโอกาสปรับตัวลงต่อไป หรือราคาหุ้นยังไม่สะท้อนปัจจัยลบได้ทั้งหมด หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ซึ่งจะสร้างผลกระทบระยะยาวต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ไม่ใช่ผลกระทบที่เข้ามาเพียงระยะสั้น และคาดว่าจะให้อัตราผลตอบแทนแย่กว่าดัชนีกลุ่มเดียวกัน หรือตลาดหุ้นโดยรวม (%)
Buy on dipการซื้อหุ้นเมื่อราคาย่อตัวลงชั่วคราวในแนวโน้มขาขึ้น
Accumulative-Buyทยอยซื้อหุ้นสะสม เนื่องจากปัจจัยบวกยังไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้
Trading buy / Speculative Buyซื้อเก็งกำไร
Sell on factการขายหุ้นทำกำไรเมื่อบริษัทประกาศข่าวดี
Laggardหุ้นที่ตอบสนองต่อการปรับตัวของราคาช้ากว่าดัชนี SET หรือช้ากว่ากลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ในจังหวะที่ดัชนีหรือหุ้นในกลุ่มปรับตัวขึ้น หุ้นกลุ่มนี้จะทรงตัวในระดับที่ต่ำกว่า ทำให้มีราคาถูกเมื่อเทียบกับดัชนีหรือหุ้นในกลุ่ม และมีโอกาสที่ราคาหุ้นจะสะสมแรงไว้เพื่อวิ่งไล่ตามดัชนีหรือกลุ่มได้ในอนาคต
Turnaroundหุ้นพลิกฟื้น หรือหุ้นที่มีผลประกอบการขาดทุนแล้วกลับมามีกำไรอีกครั้ง
Sidewaysการที่ราคาหุ้นไม่ขึ้น ไม่ลง หรือขึ้นลงในกรอบราคาแคบๆ
Small CapSmall Capitalization หุ้นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดน้อย หรือต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
Mid CapMiddle Capitalization หุ้นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดปานกลาง ระหว่าง 5,000 – 20,000 ล้านบาท
Growth Stockบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูง มักเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดในกลุ่ม Mid cap ที่มีรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถทดแทนการดำเนินธุรกิจแบบเดิม
Big Cap หรือ Large CapsBig Capitalization หุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงมากกว่า 20,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทชั้นนำในแต่ละธุรกิจ โดยทั่วไปหุ้นในกลุ่ม Big Cap จะมีความมั่นคงสูง อัตราเติบโตปานกลาง หรือเรียกอีกชื่อว่าหุ้นกลุ่ม Blue Chip หรือ หุ้นบริษัทในดัชนี SET50

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง