
Bond Yield คืออะไร?
Bond Yield คือ อัตราผลตอบแทนจากการถือครองพันธบัตรคือผลตอบแทนที่ผู้ถือครองพันธบัตรจะได้รับในรูปแบบของดอกเบี้ย ซึ่งมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับต่อปี (%)การคำนวณผลตอบแทนของพันธบัตร

ตัวอย่าง หากคุณลงทุนในพันธบัตรอายุ 10 ปี มีมูลค่าหน้าตั๋วราคา 1,000 บาท (Face Value) และมีอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้หน้าตั๋วที่ 3% ต่อปี ถ้าหากคุณถือพันธบัตรนี้ครบ 10 ปี คุณจะได้รับผลตอบแทนจากการถือครองพันธบัตร (Coupon Payment) เท่ากับ 1,000 บาท x 3% ต่อปี x 10 ปี หรือคิดเป็น 300 บาท
ความสัมพันธ์ระหว่าง Bond Yield และอายุของตราสาร
เนื่องจากอายุของหน้าตั๋วถือเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ตัดสินใจลงทุนหรือไม่ลงทุนด้วย เพราะนั่นก็คือความถี่ในการที่เราจะได้รับผลตอบแทน ซึ่งโดยทั่วไป พันธบัตรที่มีอายุยาว มักจะมี Bond Yield ที่สูงกว่าพันธบัตรอายุสั้น เนื่องจากยิ่งถือครองนาน ๆ ก็อาจจะมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูงกว่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงนั้นและอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากความสัมพันธ์ระหว่าง Bond Yield และอายุของพันธบัตร จึงเกิดกราฟ Yield Curve หรือเส้นอัตราผลตอบแทน ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Bond Yield กับอายุของพันธบัตร โดยแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะหลัก ๆ ดังนี้

1. แบบปกติ (Normal Yield Curve)
- Curve ลักษณะนี้ เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะที่ช่วงเศรษฐกิจกำลังขยายตัว
- บ่งบอกว่า Yield ของพันธบัตรระยะยาวสูงกว่า Yield ของพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งเป็นภาวะปกติ
- Curve ลักษณะนี้ เป็นลักษณะที่พบได้ในช่วงเศรษฐกิจกำลังถดถอย ในช่วงลักษณะนี้ นักลงทุนจะเลือกซื้อพันธบัตรระยะยาวเพื่อความปลอดภัย ราคาของพันธบัตรระยะยาวจึงเพิ่มขึ้น และ Yield ลดลง
- บ่งบอกว่า Yield ของพันธบัตรระยะยาวต่ำกว่า Yield ของพันธบัตรระยะสั้น
- Curve ลักษณะนี้ เป็นลักษณะที่พบได้ในช่วงเศรษฐกิจไม่แน่นอน หรือช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่าง Normal Yield Curve และ Inverted Yield Curve
- บ่งบอกว่า Yield ของพันธบัตรระยะสั้นเท่ากับ Yield ของพันธบัตรระยะยาว
- Curve ลักษณะนี้ เป็นลักษณะที่พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนมากจะพบได้ในช่วงเศรษฐกิจไม่แน่นอน
- บ่งบอกว่า Yield ของพันธบัตรระยะกลางสูงกว่าระยะอื่น ๆ
ราคาของพันธบัตร
จากกรณีผลตอบแทนพันธบัตรที่ยกตัวอย่างไปนั้น เกิดขึ้นในกรณีที่นักลงทุนซื้อและถือหุ้นกู้จนครบกำหนดอายุ แต่จริง ๆ แล้วนักลงทุนสามารถซื้อขายพันธบัตร เปลี่ยนมือในตลาดรองได้ก่อนครบกำหนดอายุเช่นกันโดยสามารถคำนวณราคาซื้อขายหุ้นกู้ที่เหมาะสม ได้จาก

กำหนด
C = ดอกเบี้ยที่ผู้ถือหุ้นกู้ได้รับในแต่ละงวด
r = อัตราคิดลดต่องวด (อัตราผลตอบแทนจนครบกำหนดไถ่ถอน)
n = จำนวนงวดที่จ่ายดอกเบี้ยของหุ้นกู้
F = ราคาหน้าตั๋วของหุ้นกู้
ซึ่งจากสูตร เราจะเห็นว่า...ทิศทางของ Bond Yield จะแปรผกผันกับราคาเสมอ โดยราคาของพันธบัตรจะเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราดอกเบี้ยหรือคิดลดต่องวด และอุปสงค์ของนักลงทุน

- หากธนาคารแห่งประเทศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง พันธบัตรรุ่นเก่าก็จะมีความน่าสนใจมากกว่า ส่งผลให้ราคาของพันธบัตรรุ่นเก่าเพิ่มขึ้น และ Bond Yield ลดลง
- หากธนาคารแห่งประเทศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น พันธบัตรรุ่นใหม่ก็จะมีความน่าสนใจมากกว่า ส่งผลให้ราคาของพันธบัตรรุ่นเก่าลดลง และ Bond Yield สูงขึ้น
อย่างที่เห็นว่าการแปรผกผันของ Bond Yield และราคาของพันธบัตรนั้น ส่งผลต่อผู้ถือพันธบัตรชุดเดิม และผู้ที่ซื้อพันธบัตรชุดใหม่ ในทิศทางที่แตกต่างกัน
ตัวอย่างเช่น หากคุณลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ราคา 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้หน้าตั๋วที่ 3% ต่อปี คุณจะได้รับผลตอบแทน 30 บาทต่อปี (1,000 บาท x 3% ต่อปี x 1 ปี) แต่หากเศรษฐกิจของประเทศถดถอย ธนาคารจึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นภาคเศรษฐกิจ การออกพันธบัตรรุ่นใหม่ในช่วงดอกเบี้ยลดลงจึงให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่า รวมทั้งนักลงทุนก็มักจะหันมาเลือกลงทุนในตลาดที่มีความเสี่ยงต่ำ ทำให้ราคาของพันธบัตรเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ที่ถือครองพันธบัตรรุ่นเก่านั่นเอง
แล้ว Bond Yield เกี่ยวข้องกับการขึ้นดอกเบี้ยของ FED อย่างไร?
เนื่องจากธนาคารกลางหรือ FED เป็นผู้กำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงอัตราผลตอบแทนของ Bond Yield มีการเปลี่ยนแปลงอ้างอิงกับดอกเบี้ยนโยบายโดยตรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ ดังนี้
สำหรับนักลงทุน Bond Yield จึงเป็นตัววัดผลกำไรที่จะได้รับจากการลงทุนในพันธบัตร และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจว่าจะเลือกลงทุนในหุ้น อสังหา หรือทองคำที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยง หรือในตราสารหนี้หรือพันธบัตรที่เสี่ยงน้อยกว่า นอกจากนี้ Bond Yield ยังเป็นตัวชี้วัดสถานการณ์ทางเศรษฐกิจว่ามีความแข็งแกร่งเพียงใดอีกด้วย
- หาก Bond Yield ลดลงและราคาพันธบัตรเพิ่มขึ้น หมายถึงนักลงทุนมีความต้องการซื้อพันธบัตรเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการที่นักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้น จึงมีความต้องการที่จะหันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ทำให้อนุมานได้ว่าเศรษฐกิจกำลังถดถอย
- ในทางตรงกันข้าม หาก Bond Yield เพิ่มสูงขึ้นและราคาพันธบัตรลดลง หมายถึงนักลงทุนมีความต้องการซื้อพันธบัตรลดลง เนื่องจากนักลงทุนหันไปลงทุนในตลาดหุ้นมากกว่า ทำให้อนุมานได้ว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโต แต่ก็ยังเป็นสัญญาณของเงินเฟ้อได้อีกด้วย
Bond Yield สหรัฐ กับตลาดหุ้นไทย
เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนที่สำคัญที่สุดของไทย Bond Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จึงมีความสำคัญต่อตลาดหุ้นไทย และได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกอีกด้วยถ้าหากธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อชะลอเงินเฟ้อ Bond Yield สหรัฐฯ ก็จะมีการปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุให้เงินทุนจากต่างประเทศไหลออกจากประเทศไทยไปยังสหรัฐฯ ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง และต้นทุนในการลงทุนต่าง ๆ ก็จะเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยร่วงได้ และเพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว Bond Yield ของพันธบัตรในตลาดของประเทศไทยก็มักจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
ในทางตรงกันข้าม หากธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับอัตราดอกเบี้ยลง จะทำให้ Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวลดลง ซึ่งส่งผลให้เกิดการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นไทยเพิ่มมากขึ้น
ดู Bond Yield ได้ที่ไหน
สำหรับนักลงทุนที่สนใจจะศึกษาหรือลงทุนในตราสารหนี้ ก็สามารถติดตาม ราคา และ Bond Yield ของตราสารหนี้ทั้งของรัฐบาลและเอกชน ทั้งในไทยและต่างประเทศได้จากเว็บไซต์ Thai BMA ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Bond Yield คลิกนักลงทุนมือใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง
- IOS รองรับ iOS 14 ขึ้นไป ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Android รองรับ 7.0 ขึ้นไป ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Notebook & Personal Computer Browser Support : Chrome, Firefox, Safari7+, IE11+

อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service
📌 สำหรับผู้ที่ไม่มีบัญชีกับหลักทรัพย์บัวหลวง สามารถเปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก 👇
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก