
การกู้เงินมาซื้อหุ้น หรือที่เรียกว่า "การซื้อหุ้นด้วยบัญชีมาร์จิ้น" ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถขยายเงินทุนเพื่อซื้อหุ้นได้มากกว่าเงินทุนที่มีอยู่ แม้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไร แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูง จึงเหมาะกับผู้ที่มีประสบการณ์ในการลงทุน ซึ่งการซื้อหุ้นด้วยบัญชีมาร์จิ้นจะส่งผลต่อราคายังไง ไปติดตามกันเลย
หลักการกู้เงินมาซื้อหุ้น ด้วยบัญชีมาร์จิ้น
- นักลงทุนอยากซื้อหุ้น A เพราะมองว่าราคาจะขึ้น จึงเลือกกู้เงินโบรกเกอร์มาซื้อหุ้น
- อยากกู้เงินมาซื้อหุ้น A โดยใช้บัญชีมาร์จิ้นหุ้น โดยนักลงทุนต้องวางเงินสดหรือหุ้นเพื่อเป็นหลักประกัน
- นักลงทุนได้หุ้น A เพิ่มขึ้น จากการวางหลักประกัน เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อ
- นักลงทุน ขายหุ้น A เพื่อได้กำไรจากส่วนต่างราคา จากนั้นจึงชำระดอกเบี้ยตามมูลค่าและจำนวนวันที่กู้ยืมในช่วงถือครอง
บัญชีมาร์จิ้น หรือ Credit Balance คืออะไร
คือบัญชีเงินกู้ยืมเพื่อซื้อขายหรือถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ นักลงทุนออกครึ่งนึง แล้วกู้จากบริษัทอีกครึ่งนึง โดยจะทำการใช้เงินของนักลงทุนให้หมดก่อน แล้วหลังจากนั้นจะเป็นการกู้ยืมจากบริษัท
TIPs Leverage คือ...
Leverage หรือ ตัวช่วยเพิ่มอำนาจซื้อ ทำให้เราสามารถลงทุนด้วยเงินทุนจำนวนน้อยลง แต่สามารถเพิ่มศักยภาพการทำกำไรได้มากขึ้น (แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะขาดทุนมากกว่าด้วยเช่นกัน)
บัญชีมาร์จิ้น ซื้อหุ้นตัวไหนได้บ้าง
รายชื่อหุ้นที่อนุญาตให้ลูกค้าซื้อ และ/หรือ นำมาเป็นหลักประกันเพิ่ม จะมีการกำหนดในประกาศ “หุ้นที่อนุญาตให้กู้ยืมเงินซื้อ (Marginable Securities)” ในแต่ละโบรกเกอร์ ยกตัวอย่างรายชื่อหุ้นดังนี้ หรือดูรายงานฉบับเต็มคลิกที่นี่เลย
ต้องใช้อะไรเป็นวางหลักประกันเพื่อกู้เงินมาซื้อหุ้น

-
เงินสด เป็นหลักประกันได้ 100% ตามจำนวนที่วางในวงเงิน (เพิ่มอำนาจซื้อ 2 เท่า) เช่น วางเงินสด 100 บาท ซื้อ หุ้นได้ 200 บาท
-
หุ้น ใช้เป็นหลักประกันได้บางตัว ซึ่งมีสัดส่วนอัตรามาร์จิ้นแตกต่างกันไป (เพิ่มอำนาจซื้อ 1 เท่า) เช่น วางหุ้น 100 บาท ซื้อ หุ้นได้ 100 บาท
จุดรักษาสภาพ และจุด Force Sell หากราคาหุ้นลดลง
การบังคับขายจะเกิดขึ้นเมื่อมูลค่าหลักประกันหนี้ของลูกค้าลดลงโดยมีอัตราส่วน ต่ำกว่า ระดับหลักประกันรักษา(MM) ซึ่งเป็นเกณฑ์การบังคับขายที่กำหนดโดยบริษัทหลักทรัพย์
สมมติ มูลค่าพอร์ตบัญชีมาร์จิ้น อยู่ที่ 1 ล้านบาท
- Maintenance Margin (MM) 35% หากมูลค่าพอร์ตลดลงต่ำกว่า 350,000 บาท ถูก Call Margin
- Force Close Margin (FM) 25% หากมูลค่าพอร์ตลดลงต่ำกว่า 250,000 บาท ถูก Force Sell
ข้อควรระวัง หากกู้มาซื้อหุ้นหรือหุ้นถูกวางเป็นหลักประกันมาก ๆ
หุ้นที่ถูกวางเป็นหลักประกันเยอะ อาจมีความเสี่ยงจากการถูก Force Sell เยอะ ตัวอย่างเหตุการณ์ดังนี้
- หุ้นถูกนำไปใช้วางหลักประกันจำนวนมาก
- ราคาหุ้นในตลาดลดลงแรง
- หุ้นจำนวนมากถูก Force Sell ถูกนำไปตั้งเป็น Offer รอขาย
ติดตามรายงานหลักทรัพย์ถูกวางหลักประกัน
Login www.set.or.th > ข้อมูลการซื้อขาย > ข้อมูลและสถิติ > สถิติสำคัญตลาดหลักทรัพย์ เลือก สรุปรายงานหลักทรัพย์ที่วางเป็นประกันการชำระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นทุกหลักทรัพย์ หรือคลิกที่นี่ได้เลย
Source: SET (As of 18 July 2024)
นักลงทุนมือใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง
- IOS รองรับ iOS 14 ขึ้นไป ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Android รองรับ 7.0 ขึ้นไป ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Notebook & Personal Computer Browser Support : Chrome, Firefox, Safari7+, IE11+

อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service