
Tips
"เรื่องที่ผมกำลังจะเล่าต่อไปนี้ อาจทำให้ผู้เสียภาษีบางรายต้องขนลุกขนพองสยองเกล้า ..."ก่อนอื่นต้องขอทบทวนเรื่องการใช้สิทธิทางภาษี ในการลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนที่นำไปซื้อประกันชีวิต ที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปี กรมธรรม์ขึ้นไป สูงสุดได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 ส่วนจะจ่ายไปทั้ง 10 ปีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบประกันที่ท่านทำไว้ครับ ทีนี้มาดูปัญหาที่ว่ากันครับ
ทำประกันชีวิต ลดหย่อนภาษี ... แต่ยกเลิกก่อนครบ 10 ปีตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 172 ข้อที่ 2 มีใจความสำคัญถึงเรื่องประกันชีวิตที่จะนำมาลดหย่อนภาษี ว่า "กรมธรรม์ประกันชีวิตนั้น ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มี กำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป" ฉะนั้นหมายความว่า "ถ้าคุณมี action ใด ๆ ที่ทำให้ความคุ้มครองไม่ถึง 10 ปี เงื่อนไขนี้มีอันต้องสิ้นสุด ... และต้องทำการยื่นแบบรายงานภาษีเพิ่มเติม เพื่อคืนภาษีที่เคยได้รับยกเว้นจากการซื้อประกันทั้งหมด บวกเงินเพิ่ม" ซึ่งเป็นไปตาม ข้อหารือกรมสรรพากร เลขที่หนังสือ : กค 0702/9655 ที่มีรายงานไว้ครับ
ทำประกันตอนขอสินเชื่อบ้าน พอรีไฟแนนซ์แล้วทิ้งประกันเดิมก็เข้าข่ายใช่แล้วครับ หลายคนเวลาไปขอสินเชื่อซื้อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร ก็มักจะโดนจูงใจด้วยข้อเสนอว่า "ถ้าทำประกันชีวิตคุ้มครองหนี้สินกับเรา ... เราจะลดดอกเบี้ยให้" เจอแบบนี้หลายคนตัดสินใจทันทีว่า "ก็ทำเลยซิ ... นอกจากจะเอาดอกเบี้ยบ้านมาลดหย่อนได้แล้ว ยังเอาเบี้ยประกันมาลดหย่อนได้อีก แถมได้ส่วนลดดอกเบี้ย มีแต่ได้กับได้" ซึ่งมันก็มีแต่ได้กับได้จริงอย่างที่ว่าแหละครับ "แต่ปัญหามันจะมาเกิดตอนที่คุณไปรีไฟแนนซ์" เพราะที่แบงค์ใหม่ ก็จะเสนอแพคเกจประกันหนี้สินพร้อมลดดอกเบี้ยอีก ซึ่งหลายคนก็เลือกตอบรับไปตามเดิม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ "หลายคนพอทำประกันใหม่ ก็ทิ้งประกันเดิมที่เคยใช้ลดหย่อนภาษีไป" ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณกำลังทำผิดเงื่อนไขไปแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้ ผมแนะนำให้รีบปรึกษาสรรพากร เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมครับ
ไม่อยากจ่ายประกันต่อจริง ๆ ... ทำไงดี ?อะไรที่พลาดไปแล้วก็แล้วไป ... แต่สำหรับคนที่ไม่อยากพลาด แต่ก็ไม่อยากจะจ่ายเบี้ยประกันต่อ จะทำยังไงดีล่ะ? อันนี้มันมีวิธีครับ โดยเราจะต้องคำนึงถึงเงื่อนไขสำคัญ คือกรมธรรม์นั้นต้องมีอายุอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป ซึ่งวิธีที่ผมจะแนะนำ จะใช้ได้เฉพาะประกันที่เข้าสู่ปีกรมธรรม์ที่ 2 (จ่ายเบี้ยไปแล้ว 2 ปี) ซึ่งคุณมีสิทธิเลือกที่จะทำดังนี้
- หยุดจ่ายเบี้ย ให้คุ้มครองจำนวนปีเท่าเดิม แต่ลดทุนประกัน (ลดความคุ้มครอง) ซึ่งศัพท์ทางประกันเราเรียกว่า "การใช้มูลค่าเงินสำเร็จ"
- หยุดจ่ายเบี้ย ให้ทุนประกันเท่าเดิม (คุ้มครองเท่าเดิม) แต่ลดจำนวนปีในการคุ้มครองลงมา เช่นจาก 15 ปี เหลือ 10 ปี เป็นต้น ศัพท์ทางประกันเรียกวิธีนี้ว่า "การใช้มูลค่าขยายเวลา " ซึ่งการเลือก Option นี้ คุณต้องมั่นใจว่าเมื่อลดระยะเวลาคุ้มครองแล้ว จะยังคงมีความคุ้มครอง 10 ปีเป็นอย่างน้อย เพราะถ้าลดมากจนเหลือน้อยกว่า 10 ปี ก็ไม่รอดอยู่ดีครับ
#ปริพรรห์ ปริยอุดมทรัพย์ CFP®
Tips
Global
DR01
สอนลงทุน
Tips
Tools
สอนลงทุน
สอนลงทุน
Tools
Tips
Tips
สอนลงทุน