13272
13272

อัตรากำไร ... วัดความเก่ง และความเสี่ยงของหุ้น

อัตรากำไร ... วัดความเก่ง และความเสี่ยงของหุ้น

FB_Newfeed_1200x627

อัตรากำไรทางบัญชีนั้น จะเป็นตัวบอกทั้งความเสี่ยงของบริษัท และความเก่งของผู้บริหารว่าสามารถขับเคลื่อนบริษัทได้ดีแค่ไหน การควบคุมต้นทุน และภาระค่าใช้จ่ายของบริษัทเป็นอย่างไรบ้าง โดยแบ่งออกเป็น อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) / อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin)  และอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)

Gross Profit Margin

อัตรากำไรตัวนี้ จะเป็นอัตรากำไรตัวแรกที่จะเกิดขึ้นหากคุณทำการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน บางคนเรียกว่าอัตรากำไรขั้นต้น (เพราะเกิดขึ้นเป็นอย่างแรก) ซึ่งจะเป็นอัตรากำไรที่ "นำยอดขายสินค้าลบด้วยต้นทุนพวกวัตถุดิบต่าง ๆ" เช่น

"ถ้าวันนี้คุณเปิดร้านก๋วยเตี๋ยว มียอดขาย 100 บาท แต่ต้องเอาเงินไปจ่ายค่าเส้น ค่าลูกชิ้น ค่าน้ำซุป 30 บาท คุณจะมีกำไรขั้นต้นหลังหักต้นทุนวัตถุดิบอยู่ 70 บาท Gross Profit Margin ของคุณคือ 70% (70/100)"

Operating Profit Margin

อัตรากำไรอันนี้ บางคนเรียกย่อ ๆ ว่า EBIT Margin ย่อมาจาก "เอิ๊นนิ่ง บีฟออินเทอเรส แอนด์แท็กซ์! (Earning Before Interest and Tax)" หรือกำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ย ซึ่งจากตัวอย่าง หลังจากหักค่าวัตถุดิบไป กำไร 70 บาทที่ได้มานั้น จะต้องไปเจอต้นทุนก้อนที่สอง ซึ่งคือต้นทุนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินธุรกิจ เช่นค่าจ่างคนเสิร์ฟอาหาร คนล้างชาม คนลวกเส้น รวมไปถึงหม้อก๋วยเตี๋ยว ทัพพี จาน ชามที่ซื้อมา มันมีวันผุวันพัง มันจึงต้องมีค่าเสื่อมคุณภาพ (ราคา) รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำมาค้าขาย อีก 30 บาท เหลือกำไร 40 บาท Operating Profit Margin ของคุณคือ 40% (40/100)

Net Profit Margin

ทีนี้กำไร 40 บาทที่ได้มา จะต้องเอาไปจ่ายดอกเบี้ยเจ้าหนี้ รวมไปถึงภาษีอีกตะหาก สมมติว่ามีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ 20 บาท กำไรคุณก็จะเหลือ 20 บาท Net Profit Margin คือ 20% (20/100)

capture-20161101-173345

วิเคราะห์ยังไง ?

อัตรากำไรทั้ง 3 แบบ ถ้าดูให้ดี เราจะเห็นศักยภาพของบริษัทค่อนข้างชัดเจนเลยจากอัตราส่วนเหล่านี้ และอาจดูได้ถึงความเสี่ยงของธุรกิจที่บริษัทกำลังทำอยู่ด้วย อย่างเช่น ถ้าคุณไปเจอบริษัทแห่งหนึ่ง กำไรสุทธิเติบโตจากปีที่แล้ว 30% แต่พอไปดูยอดขายกลับพบว่าไม่ได้โตขึ้นเลย เราก็สามารถเข้าไปหาคำตอบจากอัตรากำไรทั้ง 3 แบบว่า มันมีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่สำคัญหรือว่า ถ้า Gross Margin ของบริษัทนี้เพิ่มขึ้น บริษัทนี้อาจทำธุรกิจเกี่ยวกับ Commodity ที่ต้นทุนสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงมากๆ วันนี้ต้นทุนเหล่านี้มันลด แต่ธุรกิจจริงๆ ไม่ได้ดีขึ้น (ยอดขายเท่าเดิม) ตัวอย่างดังต่อไปนี้ คุณสามารถเข้าไปดูข้อมูลของบริษัทที่สนใจได้ผ่าน สรุปข้อมูลสารสนเทศบริษัทจดทะเบียน ที่ www.set.or.th

capture-20161110-145254

capture-20161110-145232

"จากตัวอย่างด้านบน จะเห็นว่าอัตรากำไรทั้ง 3 ของหุ้นทั้ง 2 ตัวนี้ค่อนข้างต่ำ ... โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่ำมาตั้งแต่อัตรากำไรขั้นต้น"

เจอแบบนี้ล่ะต้องระมัดระวังครับ ศัพท์ทางการลงทุนเขาเรียก "มาร์จิ้นบาง" คือบริษัทมีกำไรหลังหักต้นทุนแล้วเหลือน้อย ถ้าเกิดเหตุสุดวิสัยอะไรมานิดดดด นึง ... "ขาดทุนได้ทันที" ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าแน่จริง หรือไม่ชัวร์ว่าจับ Cycle ถูก ผมว่าอยู่มองห่าง ๆ น่าจะดีกว่าครับ (ในตัวอย่างเป็นหุ้นกลุ่ม Commodity อย่างสินค้าเกษตร รวมไปถึงเหล็กครับ)

แต่ถ้าไปเจอบริษัทที่ กำไรเพิ่ม และเพิ่มมาจากการที่มีการบริหารจัดการต้นทุนในการดำเนินงานให้ดีขึ้น แบบนี้ Operating Margin จะดี และถือเป็นบริษัทที่น่าสนใจด้วย เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางพื้นฐานของบริษัทไปในทิศทางที่ดีขึ้น

capture-20161110-151753

capture-20161110-151712

อย่างในภาพเป็นตัวอย่างของบริษัทค้าปลีก และสื่อสาร ที่คุณจะเห็นภาพการเติบโตในด้านประสิทธิภาพในการบริหารงาน การทำกำไรได้อย่างชัดเจน บริษัทแบบนี้เราอาจมีโอกาสได้เห็นกำไรโตมากกว่ายอดขาย อันเนื่องมาจากตัวบริษัทมีการพัฒนาภายใน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมวัตถุดิบ ลดต้นทุนการดำเนินงาน "ถ้าเจอหุ้นแบบนี้ ... อย่าลืมลองเอามาวิเคราะห์เจาะลึก คำนวณมูลค่าที่ควรจะเป็นดูนะครับ ไม่แน่คุณอาจจะได้พบหุ้นโตไวก็เป็นได้"

ปริพรรห์ ปริยอุดมทรัพย์ AFPT™

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง