typeofaccounts
typeofaccounts

ประเภทบัญชีหลักทรัพย์ มีอะไรบ้าง ?

ประเภทบัญชีหลักทรัพย์ มีอะไรบ้าง ?

หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าบัญชีหลักทรัพย์มีแค่ประเภทที่ซื้อขายหุ้นแบบเดียวรึป่าว❓ คำตอบก็คือไม่ใช่นะคะ บัญชีหลักทรัพย์นั้นมีหลากหลายประเภทมาก เพราะแต่ละบัญชีจะมีเงื่อนไขในการใช้งานที่แตกต่างกัน ⚙️ และยังมีหน้าที่แยกประเภทของแต่ละหลักทรัพย์เพื่อให้นักลงทุนสามารถซื้อขายและจำแนกหลักทรัพย์ได้อย่างสะดวกอีกด้วย 😊

ดังนั้น วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟังกันค่ะว่า ประเภทของบัญชีหลักทรัพย์ ใน บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง มีทั้งหมดกี่ประเภท แต่ละบัญชีมีชื่อว่าอะไรและมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง 😲

 

บัญชีหลักทรัพย์บัวหลวงมีทั้งหมด 7 ประเภท


All Type of Accounts เหลี่ยม.jpg

เลขที่บัญชีหลักทรัพย์จะมีทั้งหมด 7 หลัก ประกอบไปด้วย Username 6 หลัก ตามด้วยหมายเลขประเภทของบัญชี แต่ บัญชี Derivatives จะมีลักษณะของเลขที่บัญชีโดยเฉพาะ คือ ขึ้นต้นด้วย 7 และลงท้ายด้วย 0 🔢

 

บัญชี -0 หรือ Cash Normal

Cash Normal.png
เป็นบัญชีหลักทรัพย์ที่นักลงทุนสามารถซื้อขายได้โดย ไม่ต้องวางหลักประกัน โดยให้บริการเฉพาะลูกค้านิติบุคคลที่ได้รับการยกเว้นตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

บัญชี -1 หรือ Cash Collateral

Cash Collateral.png

เป็นบัญชีหลักทรัพย์ที่นักลงทุนจะต้อง วางหลักประกัน 20% ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ และเป็นบัญชีที่มีกำหนดชำระราคา T+2 หมายความว่า นักลงทุนวางเงินหรือหลักทรัพย์ไว้ก่อน 20% ของมูลค่าที่ต้องการจะลงทุนทั้งหมด ก็สามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้เลย แล้วค่อยมาชำระราคาหลักทรัพย์ในอีก 2 วันถัดไป

ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนต้องการซื้อหลักทรัพย์มูลค่า 100,000 บาทในวันจันทร์ นักลงทุนจะต้องฝากเงินเข้าไปในบัญชีอย่างน้อย 20,000 บาท (20%) จึงจะสามารถซื้อหลักทรัพย์ในวันนี้ได้โดยที่ไม่ต้องเสียอะไรเลย แล้วค่อยไปชำระ 100,000 บาทในอีก 2 วันถัดไปหรือวันพุธนั่นเอง

ทำให้บัญชีประเภทนี้ เหมาะกับ 

  • นักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่องในการวางหลักประกัน
  • นักเก็งกำไรที่มีการซื้อขายในวัน (Net Settlement)
หากสนใจเปิดบัญชี Cash Collateral ท่านจำเป็นต้องเปิดบัญชี Cash Balance ก่อน แล้วทำการติดต่อผู้แนะนำการลงทุนของท่าน 📞

 

บัญชี -2 หรือ Cash Balance

Cash Balance.png

เป็นบัญชีหลักทรัพย์ที่นักลงทุนจะต้อง วางหลักประกันเต็มจำนวน ก่อนการซื้อขาย โดยสามารถซื้อหลักทรัพย์ได้ไม่เกินจำนวนเงินที่นำมาฝากไว้กับบริษัท หรือถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ ฝากเงินมาเท่าไหร่ ก็ซื้อได้เท่านั้น มีจุดเด่น คือ 

  • เปิดได้ง่าย อนุมัติไว 
  • ไม่จำเป็นต้องใช้ Statement ย้อนหลัง
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ (กรณีซื้อขายทางอินเตอร์เน็ต และสมัครใช้บริการ E-request)

ทำให้บัญชีประเภทนี้เป็นบัญชีเริ่มต้นที่เหมาะสำหรับ “นักลงทุนมือใหม่” เพราะนักลงทุนสามารถจำกัดวงเงินของตนเองได้อย่างชัดเจน หากทำการสั่งซื้อหลักทรัพย์ เงินในบัญชีจะถูกหักทันที แม้ว่าจะการสั่งซื้อจะยังไม่สำเร็จก็ตาม และหากการสั่งซื้อไม่สำเร็จหรือยกเลิกคำสั่งซื้อ เงินก็จะกลับมาในบัญชีทันทีเช่นกัน

สนใจเปิดบัญชี Cash Balance คลิก 👆 

 
 

บัญชี -3 หรือ Credit Balance

Credit Balance.pngหรือ "บัญชี Margin" เป็นบัญชีหลักทรัพย์ที่นักลงทุนใช้เงินหรือหลักทรัพย์มา วางเป็นหลักประกัน 50% ของวงเงิน ร่วมกับการกู้ยืมเงินจากบริษัทฯ หรือถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือ นักลงทุนออกครึ่งนึง แล้วกู้จากบริษัทอีกครึ่งนึงนั่นเอง โดยจะทำการใช้เงินของนักลงทุนให้หมดก่อน แล้วหลังจากนั้นจะเป็นการกู้ยืมจากบริษัท 

ถึงแม้ว่าจำนวนเงินและอำนาจซื้อของนักลงทุนจะเพิ่มขึ้น แต่บัญชีประเภทนี้ก็มีข้อควรระวัง เพราะว่า บริษัทจะมีการตั้งเงื่อนไขขึ้นมา ดังนี้

  • Maintenance Margin Requirement หมายถึง ต้องดำรงทุนไว้อย่างน้อย 35% ของมูลค่าหุ้นรวมในบัญชี ณ ราคาตลาด หากต่ำกว่าบริษัทจะเรียกส่วนทุนเพิ่ม
  • Minimum Margin Requirement หมายถึง ต้องมีทุนขั้นต่ำ 25% ของมูลค่าหุ้นรวมในบัญชี ณ ราคาตลาด หากต่ำกว่าบริษัทจะเรียกคืนเงินกู้ยืมด้วยการบังคับขายหลักประกันจนกระทั่งถึงระดับดำรงทุน
  • ลูกค้าที่มีหนี้สินค้างชำระหรือไม่มีการซื้อขายเป็นระยะเวลานาน บริษัทอาจพิจารณาเรียกคืนเงินกู้ยืมหรือบังคับขายได้

ทำให้บัญชีประเภทนี้ เหมาะกับ

  • นักลงทุนที่ต้องการเพิ่มอำนาจซื้อหุ้น โดยใช้เงินหรือหลักทรัพย์มาวางเป็นหลักประกันร่วมกับการกู้ยืมเงินจากบริษัทฯ
  • นักลงทุนที่มีประสบการณ์และมีความสามารถในการชำระหนี้ที่ดี
  • ลูกค้าเดิม ที่มีบัญชีประเภท Cash Balance หรือ Cash Collateral โดยมีการซื้อขายมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน
หากสนใจเปิดบัญชี Cash Collateral ท่านจำเป็นต้องเปิดบัญชี Cash Balance ก่อน แล้วทำการติดต่อผู้แนะนำการลงทุนของท่าน 📞

 

บัญชี -4 หรือ Mutual Fund

Mutual Fund.png

เป็นบัญชีซื้อขาย “กองทุนรวม” หมายถึง การรวบรวมเงินทุนจากนักลงทุนหลาย ๆ คน จนเกิดเป็นเงินก้อนขนาดใหญ่และนำไปลงทุนตามนโยบายของแต่ละที่ โดยมี ผู้จัดจากกองทุน เป็นผู้บริหารจัดการเงินในกองทุนทั้งหมด โดยเราสามารถซื้อกองทุนรวมได้หลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น 

  • ธนาคาร
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 
  • โบรกเกอร์ 

หรือสามารถซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งบนคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เช่น Streaming Fund+ เป็นต้น

สนใจเปิดบัญชีกองทุนรวม (Mutual Funds) ดูวิธีได้ที่นี่ คลิก👆

  
 

บัญชี -6 หรือ Global Investing

Global Investing.png

เป็นบัญชีซื้อขาย “หุ้นต่างประเทศ” การลงทุนในต่างประเทศถือเป็นหนึ่งตัวเลือกที่ดีในการบริหารความเสี่ยงด้วยการกระจายการลงทุน (Asset Allocation) และยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำกำไรในช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นไทยซบเซาอีกด้วย

สนใจเปิดบัญชีหุ้นต่างประเทศ (Global Investing) ดูวิธีได้ที่นี่ คลิก 👆

 

บัญชี 7XXXXX0 หรือ Derivatives

Derivatives.png
เป็นบัญชีซื้อขาย “อนุพันธ์” หมายถึง สัญญาทางการเงินที่ทำขึ้น ณ ตอนนี้เพื่อให้สิทธิในการซื้อหรือขาย “สินค้าอ้างอิง” ในอนาคต ซึ่งในสัญญาจะกำหนดทั้ง จำนวน ราคาและวันที่ที่จะส่งมอบและชำระราคาสินค้า โดยเราจะทำการซื้อขายอนุพันธ์ผ่าน ตลาดสัญญาซื้อล่วงหน้า หรือ ที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า TFEX (Thailand Futures Exchange)

สนใจเปิดบัญชีอนุพันธ์ (Derivatives) ดูวิธีได้ที่นี่ คลิก 👆



 

📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก  👇

MicrosoftTeams-image-635.png
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก 

 
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง