
DW01
บริการ
เจาะลึก Time decay DW
Time decay ของ DW หรือ ค่าเสื่อมเวลาของ DW คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? ครั้งนี้จะมาอธิบายให้นักลงทุนเข้าใจแบบเคลียร์ชัด และสามารถนำไปประยุกต์ในการวางแผนเทรด DW ได้เลยค่ะ
อย่างที่ทราบกันนะคะว่า DW เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรที่จุดเด่นก็คือมีอัตราทด (Gearing) แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าเสื่อมเวลา (Time decay) และมีอายุจำกัด
นักลงทุนเข้ามาซื้อ DW เพื่อเก็งกำไรเพราะหวังว่าหลักทรัพย์อ้างอิงจะเคลื่อนไหวไปในทางตามที่คิด เพราะฉะนั้น Time decay เป็นส่วนสำคัญที่นักลงทุนจะต้องทราบกลไก เพื่อการเทรด DW ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นนะคะ

Time decay คืออะไร ? ดูได้จากตรงไหน ?
นักลงทุนสามารถเข้าไปที่ www.blswarrant.com เพื่อค้นหา DW ที่สนใจ ยกตัวอย่างเช่น ถ้านักลงทุนกำลังสนใจ KBANK พิมพ์ที่ช่องค้นหา ก็จะพบกับ DW ทั้งหมดของ DW01 บนหุ้น KBANK เลือก DW ที่สนใจก็จะเห็นข้อมูลสเปคพร้อมอายุของ DW
ในส่วนของ Time decay จะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อวัน เช่น -1.29% (จากภาพตัวอย่าง) หมายความว่าถ้าเวลาผ่านไป 1 วันราคา DW จะลดลงประมาณ 1.29% กรณีถ้าราคาหุ้นอ้างอิงไม่เปลี่ยนแปลง
ดังนั้น Time decay ก็คือ การที่มูลค่าของ DW ลดลงไปเรื่อย ๆ จากอายุของ DW ที่ลดลง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นลองไปดูกลไกจากตารางราคากันค่ะ

อ่าน Time decay จากตารางราคา
จากภาพแกนซ้ายกรอบสีแดงจะแสดงราคา BID OFFER ของหลักทรัพย์อ้างอิง แกนนอนด้านบนกรอบสีส้มแสดงวันที่ และกรอบสีน้ำเงินแสดงราคา BID ของ DW
ตัวอย่าง กรณีถ้าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงไม่เปลี่ยนแปลงเลย และสมมติว่าผ่านไป 5 วันทำการ จากวันที่ 4 ส.ค 65 ไปจนถึงวันที่ 10 ส.ค. 65 ราคาของ DW จะลดลง จาก 0.47 บาท เป็น 0.44 บาท (10 ส.ค. 65) เท่ากับว่า DW ตัวนี้จะได้รับผลกระทบจาก Time decay ประมาณ 3 ช่อง
จากตัวอย่างจะสะท้อนให้เห็นว่าถ้านักลงทุนคาดการณ์ว่าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงตัดสินใจเข้าซื้อ Call DW ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ตัวนั้น
แต่ถ้าราคาของหลักทรัพย์อ้างอิงอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหวไปไหน นักลงทุนก็จะได้รับผลกระทบจาก Time decay ทำให้ราคาของ DW ลดลงไปเรื่อย ๆ นั่นเองค่ะ
Time decay เป็นต้นทุนในการถือครอง
ต้นทุนที่นักลงทุนต้องจ่ายเพื่อการได้มาของอัตราทด (Gearing) เพราะ DW ที่อัตราทดสูงมากขึ้นเท่าไหร่ Time decay ก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ฉะนั้น Time decay เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่นักลงทุนต้องทราบก่อนจะเลือก DW ว่า Time decay เป็นเท่าไหร่ สามารถรู้ได้ว่าถ้าผ่านไป 1 วัน 3 วัน 5 วัน หรือจะกี่วันก็ตามว่า DW ตัวที่เราสนใจจะได้รับผลกระทบจาก Time decay แค่ไหน เพื่อสามารถนำไปวางแผนการเทรดได้ว่าจะถือครอง DW ตัวนี้กี่วัน ก็มาจากตารางราคาที่สอนการดูไปด้านบนค่ะ
เลือก Time decay เท่าไหร่ถึงจะดีที่สุด
ถ้าถามว่า Time decay DW มีเท่าไหร่บ้าง ? มีตั้งแต่น้อยกว่า -0.5% ต่อวัน ไปจนถึง มากกว่า -3% ต่อวัน Time decay ที่สูงขึ้นก็สะท้อนอัตราทดที่สูงขึ้นด้วยค่ะ
เลือก Time decay เท่าไหร่ถึงจะดีที่สุด จะเลือก ต่ำ หรือ สูง ไม่ได้บอกว่านักลงทุนเลือก DW ถูก หรือ ผิด และไม่สามารถบอกได้ว่าแบบไหนคือดีที่สุด แต่ที่บอกได้คือนักลงทุนสามารถเลือก DW ที่มี Time decay เหมาะสมกับแผนการเทรดของตนเองได้ เช่น
หากมองว่าหลักทรัพย์อ้างอิงที่เลือกไว้อาจต้องถือหลายวันหน่อยราคาถึงจะเคลื่อนไหวตาม ก็อาจจะเน้นเลือก DW ที่ Time ต่ำกว่า -1% ลงมาหรือประมาณ -0.5% ยิ่งดี แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า อัตราทดของ DW รุ่นนั้นก็อาจจะไม่ได้สูงมาก
หากมองว่าหลักทรัพย์อ้างอิงที่เลือกไว้กำลังอยู่ในกระแสและอาจเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว นักลงทุนคาดการณ์ว่าจะซื้อขายในวัน หรือจะถือแค่ 1 – 2 วันได้ ก็จะสามารถเลือก DW ที่ Time decay สูงขึ้น มากกว่า -1% ไปจนถึง -2% ก็พอจะเป็นไปได้ ซึ่งสิ่งที่ได้มาคือ DW ที่มีอัตราทดที่สูงขึ้นตามด้วยค่ะ (ตัวอย่างเป็นความคิดเห็นจากประสบการณ์ของผู้เขียนเท่านั้น นักลงทุนต้องศึกษาและเลือก DW ที่เหมาะสมต่อตนเองนะคะ)
สุดท้ายนี้ก็ขอย้ำเตือนด้วยความห่วงใยว่า อย่าลืมให้ความสำคัญกับจำนวนเงินที่เข้าซื้อ DW ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ ไม่ว่าจะเลือก Time decay, Gearing หรือ Sensitivity เท่าไหร่ ถ้าคาดการณ์หลักทรัพย์อ้างอิงผิดทางอย่าลืมขายตัดขาดทุนเพื่อควบคุมความเสี่ยงและรักษาเงินต้นของเราไว้นะคะ
อ่านมาถึงตรงนี้คิดว่านักลงทุนน่าจะได้ไอเดียในการเลือก DW ไปใช้ในแผนการเทรดของตนเองได้ดียิ่งขึ้นนะคะ
-----------------------------------------------
Time decay ของ DW หรือ ค่าเสื่อมเวลาของ DW คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? ครั้งนี้จะมาอธิบายให้นักลงทุนเข้าใจแบบเคลียร์ชัด และสามารถนำไปประยุกต์ในการวางแผนเทรด DW ได้เลยค่ะ
อย่างที่ทราบกันนะคะว่า DW เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรที่จุดเด่นก็คือมีอัตราทด (Gearing) แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าเสื่อมเวลา (Time decay) และมีอายุจำกัด
นักลงทุนเข้ามาซื้อ DW เพื่อเก็งกำไรเพราะหวังว่าหลักทรัพย์อ้างอิงจะเคลื่อนไหวไปในทางตามที่คิด เพราะฉะนั้น Time decay เป็นส่วนสำคัญที่นักลงทุนจะต้องทราบกลไก เพื่อการเทรด DW ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นนะคะ

Time decay คืออะไร ? ดูได้จากตรงไหน ?
นักลงทุนสามารถเข้าไปที่ www.blswarrant.com เพื่อค้นหา DW ที่สนใจ ยกตัวอย่างเช่น ถ้านักลงทุนกำลังสนใจ KBANK พิมพ์ที่ช่องค้นหา ก็จะพบกับ DW ทั้งหมดของ DW01 บนหุ้น KBANK เลือก DW ที่สนใจก็จะเห็นข้อมูลสเปคพร้อมอายุของ DW
ในส่วนของ Time decay จะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อวัน เช่น -1.29% (จากภาพตัวอย่าง) หมายความว่าถ้าเวลาผ่านไป 1 วันราคา DW จะลดลงประมาณ 1.29% กรณีถ้าราคาหุ้นอ้างอิงไม่เปลี่ยนแปลง
ดังนั้น Time decay ก็คือ การที่มูลค่าของ DW ลดลงไปเรื่อย ๆ จากอายุของ DW ที่ลดลง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นลองไปดูกลไกจากตารางราคากันค่ะ

อ่าน Time decay จากตารางราคา
จากภาพแกนซ้ายกรอบสีแดงจะแสดงราคา BID OFFER ของหลักทรัพย์อ้างอิง แกนนอนด้านบนกรอบสีส้มแสดงวันที่ และกรอบสีน้ำเงินแสดงราคา BID ของ DW
ตัวอย่าง กรณีถ้าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงไม่เปลี่ยนแปลงเลย และสมมติว่าผ่านไป 5 วันทำการ จากวันที่ 4 ส.ค 65 ไปจนถึงวันที่ 10 ส.ค. 65 ราคาของ DW จะลดลง จาก 0.47 บาท เป็น 0.44 บาท (10 ส.ค. 65) เท่ากับว่า DW ตัวนี้จะได้รับผลกระทบจาก Time decay ประมาณ 3 ช่อง
จากตัวอย่างจะสะท้อนให้เห็นว่าถ้านักลงทุนคาดการณ์ว่าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงตัดสินใจเข้าซื้อ Call DW ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ตัวนั้น
แต่ถ้าราคาของหลักทรัพย์อ้างอิงอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหวไปไหน นักลงทุนก็จะได้รับผลกระทบจาก Time decay ทำให้ราคาของ DW ลดลงไปเรื่อย ๆ นั่นเองค่ะ
Time decay เป็นต้นทุนในการถือครอง
ต้นทุนที่นักลงทุนต้องจ่ายเพื่อการได้มาของอัตราทด (Gearing) เพราะ DW ที่อัตราทดสูงมากขึ้นเท่าไหร่ Time decay ก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ฉะนั้น Time decay เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่นักลงทุนต้องทราบก่อนจะเลือก DW ว่า Time decay เป็นเท่าไหร่ สามารถรู้ได้ว่าถ้าผ่านไป 1 วัน 3 วัน 5 วัน หรือจะกี่วันก็ตามว่า DW ตัวที่เราสนใจจะได้รับผลกระทบจาก Time decay แค่ไหน เพื่อสามารถนำไปวางแผนการเทรดได้ว่าจะถือครอง DW ตัวนี้กี่วัน ก็มาจากตารางราคาที่สอนการดูไปด้านบนค่ะ
เลือก Time decay เท่าไหร่ถึงจะดีที่สุด
ถ้าถามว่า Time decay DW มีเท่าไหร่บ้าง ? มีตั้งแต่น้อยกว่า -0.5% ต่อวัน ไปจนถึง มากกว่า -3% ต่อวัน Time decay ที่สูงขึ้นก็สะท้อนอัตราทดที่สูงขึ้นด้วยค่ะ
เลือก Time decay เท่าไหร่ถึงจะดีที่สุด จะเลือก ต่ำ หรือ สูง ไม่ได้บอกว่านักลงทุนเลือก DW ถูก หรือ ผิด และไม่สามารถบอกได้ว่าแบบไหนคือดีที่สุด แต่ที่บอกได้คือนักลงทุนสามารถเลือก DW ที่มี Time decay เหมาะสมกับแผนการเทรดของตนเองได้ เช่น
หากมองว่าหลักทรัพย์อ้างอิงที่เลือกไว้อาจต้องถือหลายวันหน่อยราคาถึงจะเคลื่อนไหวตาม ก็อาจจะเน้นเลือก DW ที่ Time ต่ำกว่า -1% ลงมาหรือประมาณ -0.5% ยิ่งดี แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า อัตราทดของ DW รุ่นนั้นก็อาจจะไม่ได้สูงมาก
หากมองว่าหลักทรัพย์อ้างอิงที่เลือกไว้กำลังอยู่ในกระแสและอาจเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว นักลงทุนคาดการณ์ว่าจะซื้อขายในวัน หรือจะถือแค่ 1 – 2 วันได้ ก็จะสามารถเลือก DW ที่ Time decay สูงขึ้น มากกว่า -1% ไปจนถึง -2% ก็พอจะเป็นไปได้ ซึ่งสิ่งที่ได้มาคือ DW ที่มีอัตราทดที่สูงขึ้นตามด้วยค่ะ (ตัวอย่างเป็นความคิดเห็นจากประสบการณ์ของผู้เขียนเท่านั้น นักลงทุนต้องศึกษาและเลือก DW ที่เหมาะสมต่อตนเองนะคะ)
สุดท้ายนี้ก็ขอย้ำเตือนด้วยความห่วงใยว่า อย่าลืมให้ความสำคัญกับจำนวนเงินที่เข้าซื้อ DW ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ ไม่ว่าจะเลือก Time decay, Gearing หรือ Sensitivity เท่าไหร่ ถ้าคาดการณ์หลักทรัพย์อ้างอิงผิดทางอย่าลืมขายตัดขาดทุนเพื่อควบคุมความเสี่ยงและรักษาเงินต้นของเราไว้นะคะ
อ่านมาถึงตรงนี้คิดว่านักลงทุนน่าจะได้ไอเดียในการเลือก DW ไปใช้ในแผนการเทรดของตนเองได้ดียิ่งขึ้นนะคะ
-----------------------------------------------
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม คลิก
อย่าเพิ่งเทรด DW ถ้ายังไม่ได้ดูคลิป DW01 Tips Playlist คลิก
ค้นหา DW01 ที่น่าสนใจที่เว็บไซต์ www.blswarrant.com