SellinMay
SellinMay

Sell in May คืออะไร?

Sell in May คืออะไร?

Sell in May คืออะไร ?

Sell In may นั้น คือปรากฏการณ์ที่นักลงทุนมักจะเกิดการเทขายหลักทรัพย์ในเดือนพฤษภาคม โดยเหตุผลหลักที่อาจจะทำให้เกิด Sell in may มักเกิดจาก

  • การที่ทุกปีจะมีการประกาศงบการเงินไตรมาส 1 และประกาศจ่ายเงินปันผลในเดือนพฤษภาคม  เมื่อนักลงทุนได้รับสิทธิปันผลแล้ว จึงขายหุ้นที่ซื้อมาเพื่อรับปันผลทิ้งไป
  • นอกจากนี้เมื่อนักลงทุนต่างชาติได้รับปันผลแล้วมักจะมีการเคลื่อนย้ายเงินปันผลกลับไปยังแหล่งที่มาของเงินลงทุน ทำให้เงินบาทมักอ่อนค่าลงในเดือนนี้ และความต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างเงินดอลลาร์จึงเพิ่มสูงขึ้น

ปีนี้มี Sell in May หรือไม่ ?


เดือนพฤษภาคม.png

       จากข้อมูลที่พบใน Trade Master พบว่า นักลงทุนสถาบัน มีการเข้าซื้อหลักทรัพย์สุทธิทั้งหมด 4466.05 ล้านบาท ในเดือนพฤษภาคม  โดยบริษัทหลักทรัพย์มีการเข้าซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด 1,745.12 ล้านบาท และนักลงทุนต่างชาติมีการลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งหมด 20,283.51 ล้าน และนักลงทุนในประเทศมีการขายสินทรัพย์ที่ลงทุนทั้งหมด  26,494.68 อย่างไรก็ตาม

       หากสังเกตุจากรูปแบบการลงทุนที่เกิดขึ้น พบว่านักลงทุนรายย่อยในประเทศมีการเทขายหลักทรัพย์ในเดือนพฤษภาคมจริง แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนประเภทอื่นๆนั้น ไม่ได้มีการเทขายหลักทรัพย์ด้วย โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ ที่ควรจะขายหลักทรัพย์เนื่องจากได้รับปันผล และค่าเงินดอลลาร์น่าจะเหมาะกับการเข้าไปลงทุนมากกว่า ดังนั้นจากตัวเลขที่ปรากฏสะท้อนให้เห็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในเดือนพฤษภาคมในปีนี้ มีมากกว่าการประกาศจ่ายเงินปันผลของหุ้น แล้วในเดือนนี้มีเหตุการณ์สำคัญอะไร ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นบ้าง
 

เหตุการณ์สำคัญในเดือนพฤษภาคม

1. การประชุมนโยบายการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed

หลังจากการประชุมการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อของ Fed เมื่อวันที่ 3-4 พ.ค. โดย Fed ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5 % ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ฯ ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และค่าเงิน USD ที่แข็งค่า
  • ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น
  • และเกิดแรงขายหลักทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น
จากความกังวลของสภาวะตลาดในต่างประเทศ ที่ส่งผลต่อค่า Greed & Fear ของคนในประเทศโดยมาตรวัดยังคงอยู่ในโซน Fear ที่ระดับ 43 คะแนน ทำให้โอกาสที่นักลงทุนจะเกิดการเทขายหุ้นเพราะความตื่นตระหนกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. จนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 พ.ค. เกิดแรงขายจากนักลงทุนในประเทศถึง 34636.52 ล้านบาท ดังรูป

รูป sell inMay final.png

(ที่มา : BLS Research วันที่ 3-9 พ.ค. )

2. มาตรการ Zero COVID 19 จากจีน

หลังประธานาธิบดี สี จิ้นผิง มีการประกาศใช้นโยบาย Zero COVID ต่อในวันที่ 9 พ.ค. ส่งผลกระทบทำให้ตลาดในประเทศยิ่งมีความผันผวนมากยิ่งขึ้นแม้ว่าศบค.จะได้มีการประกาศปรับมาตรการสำหรับการเดินทางเข้าประเทศโดยไม่ต้องตรวจ RT-PCR และ ATK  สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและหวังดึงนักท่องเที่ยวจากจีนหลังจากเห็นแนวโน้มจากสถานการณ์ COVID ที่ดีขึ้นในเซี่ยงไฮ้ ที่ผ่านการล็อคดาวน์มานานกว่า 2 เดือน  ทำให้ความผันผวนของตลาดมีการปรับตัวลดลง
  • อย่างไรก็ตามเมื่อกรุงปักกิ่งเกิดการระบาดของ COVID 19 ทำให้ตลาดกลับมาผันผวนอีกครั้ง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลว่าจะเกิดการล็อคดาวน์ในจีนและจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม

(ที่มา : BLS Global Investing วันที่ 9 พ.ค. )

3. การประกาศงบการเงิน

อีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่มักทำให้เกิด Sell In may ก็คือการประกาศงบการเงินไตรมาส 1 ของบริษัทต่างๆที่ทยอยประกาศออกมา เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่มักทำให้เกิดการทยอยขายหลักทรัพย์มากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ของตลาดที่เกิดจากการผันผวนของการขึ้นดอกเบี้ยจาก Fed ก่อนหน้านี้ และความกังวลเรื่องเศรษฐกิจจีนชะลอตัว
  • การประกาศงบการเงินในปีนี้ไม่ได้ส่งผลลบต่อทิศทางของตลาดทั้งหมด เนื่องจากการประกาศงบการเงินของหลายบริษัทไม่ได้แย่อย่างที่กังวล เช่น หุ้นที่รายงานกำไรดีกว่าคาด IVL GFPT CPF TFG TIPH  ในวันที่ 13 พ.ค. ทำให้แนวโน้มของตลาดและทิศทางราคาสินทรัพย์ต่างๆเริ่มนิ่งขึ้นหลังจากที่ผันผวนมามากก่อนหน้านี้
(ที่มา : BLS Research วันที่ 9-13 พ.ค. )

แล้วเราสามารถดูมูลค่าการซื้อขาย Investor Type ได้จากที่ไหน ?

เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม Trade Master บน PC

  1. Log in เข้าสู่ระบบ โปรแกรม Trade Master
  2. เลือกเมนู market info
  3. เลือกเมนูย่อย Investor Type
  4. เลือก Time Frame เป็น Monthly
รูป sell inMay.png
 

📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร  คลิก 👇 

MicrosoftTeams-image-635.png

หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก 
ผู้ลงทุนจะต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน…สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง โทร. 0-2618-1111

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง