
SBL
ครบเครื่องเรื่องสินค้าใน TFEX
EP 142: ให้ยืมหุ้นแล้วทำให้หุ้นลงจริงหรือไม่
ไม่นานมานี้นักลงทุนอาจเคยได้ยินคำว่า Naked Short Selling หรือการขายชอร์ต โดยที่ไม่มีหุ้นอยู่ในมือซึ่งตลาดไม่อนุญาตให้ทำ แต่รู้หรือไม่ว่าการขายชอร์ตผ่านธุรกรรม SBL นั้นสามารถทำได้ วันนี้ทางทีม BLS Futures and Options จะมาอธิบาย พร้อมเผยโอกาสสร้างรายได้เพิ่มสำหรับนักลงทุนผ่านการให้ยืมหลักทรัพย์ พร้อมตัวอย่างให้ได้เข้าใจกันมากขึ้น...
สถิติการขายชอร์ตเทียบกับดัชนี SET
จากภาพมูลค่าการขายชอร์ตตั้งปี 2555 จนถึง 2560 ค่อนข้างทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ยราว 2 แสนล้านบาท แต่หลังจากนั้นโดยเฉพาะปี 2564 มูลค่าการขายชอร์ตพุ่งขึ้นมาแบบก้าวกระโดดแตะระดับ 1.4 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ดีดัชนี SET กลับไม่ได้ปรับตัวลงตามมูลค่าการขายชอร์ตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าธุรกรรมขายชอร์ตไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการปรับลงของตลาด โดยสาเหตุที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงนั้นมาจากปัจจัยหลักคือ ผลประกอบการ (EPS) ของตลาดที่ไม่โตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ทาง ได้ก็มีการตั้งกฎในการขายชอร์ต (Zero Plus Tick Rule) ซึ่งจะขายได้ที่ราคาไม่ต่ำกว่าราคาล่าสุด เช่น สมมติหุ้น GPSC ราคาฝั่ง Bid อยู่ที่ 55.00 บาท ราคาฝั่ง Offer อยู่ที่ 55.25 บาท และราคาล่าสุดเท่ากับ 55.25 บาท จะตั้งขายชอร์ตได้ที่ราคาไม่ต่ำกว่า 55.25 บาท เป็นต้น
มารู้จักกับธุรกรรม SBL พร้อมวิธีสร้างรายได้เพิ่มกัน
ธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) คือ ธุรกรรมที่บริษัทหลักทรัพย์ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้กับทั้งผู้ยืมหลักทรัพย์ (Borrower) และผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ (Lender) โดยผู้ให้ยืมหลักทรัพย์อาจเป็นนักลงทุนระยะยาวและต้องการผลตอบแทนส่วนเพิ่มนอกเหนือจากส่วนต่างราคารวมทั้งเงินปันผล ขณะที่ผู้ยืมหลักทรัพย์ซึ่งคาดว่าหลักทรัพย์ที่ยืมมีแนวโน้มจะปรับตัวลง แต่ไม่มีหลักทรัพย์ดังกล่าวถืออยู่ก็จะยืมหลักทรัพย์นั้นมาขายชอร์ต
ตัวอย่างการคิดผลตอบแทนสำหรับการให้ยืมหลักทรัพย์
สมมตินักลงทุนให้ยืมหลักทรัพย์ SCC จำนวน 100,000 หุ้น ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี ราคาปิด 269, 269, 266 และ 265 บาท ตามลำดับ นักลงทุนจะได้รับค่าธรรมเนียมการให้ยืมเท่าใด?
วันจันทร์ : (100,000 x 269 x 3.20%) / 365 = 2,358.3 บาท
วันอังคาร : (100,000 x 269 x 3.20%) / 365 = 2,358.3 บาท
วันพุธ : (100,000 x 266 x 3.20%) / 365 = 2,332.0 บาท
จะได้รับค่าธรรมเนียม = 2,358.3 + 2,358.3 + 2,332.0 = 7,048.6 บาท
(หัก) ภาษี ณ ที่จ่าย 15% = 1,057.3 บาท
จะได้รับค่าธรรมเนียมสุทธิ = 5,991.3 บาท
จะเห็นได้ว่าสำหรับนักลงทุนจะได้รับผลประโยชน์จากการให้ยืมหุ้น 5,991.3 บาท จากการให้ยืมเพียง 3 วันเท่านั้น (คิดวันเริ่มให้ยืม แต่ไม่คิดวันปิด) โดยท่านหุ้นที่ถูกให้ยืมจะขึ้นสัญลักษณ์ SCC (r) ในพอร์ต
พิเศษสำหรับผู้ที่ลงทุนใน DR และ ETF ท่านสามารถนำหลักทรัพย์ดังกล่าวมาให้ยืมได้ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อ DR และ ETF ได้ผ่านผู้แนะนำการลงทุนของท่าน และจะได้รับค่าธรรมเนียมเท่ากับการให้ยืมหุ้นซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมากในการสร้างรายได้เพิ่มเติม
หมายเหตุ: *ค่าธรรมเนียมในการให้ยืมหลักทรัพย์อยู่ที่ 3.20% ต่อปี (หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%)
โดยจะคำนวณเป็นรายวันตามราคาปิด (นับรวมวันเสาร์-อาทิตย์)
**ค่าธรรมเนียมในการยืมหลักทรัพย์อยู่ที่ 5.56% ต่อปี
***บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
Source: BLS Futures and Options as of 22/03/24
😎👉🏻 สมัครเปิดบัญชี TFEX / Block Trade ผ่าน Wealth Connex คลิกที่นี่
☎ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ BLS Customer Service โทร 0-2618-1111
------------------------------------------------------------------------------
EP 142: ให้ยืมหุ้นแล้วทำให้หุ้นลงจริงหรือไม่
ไม่นานมานี้นักลงทุนอาจเคยได้ยินคำว่า Naked Short Selling หรือการขายชอร์ต โดยที่ไม่มีหุ้นอยู่ในมือซึ่งตลาดไม่อนุญาตให้ทำ แต่รู้หรือไม่ว่าการขายชอร์ตผ่านธุรกรรม SBL นั้นสามารถทำได้ วันนี้ทางทีม BLS Futures and Options จะมาอธิบาย พร้อมเผยโอกาสสร้างรายได้เพิ่มสำหรับนักลงทุนผ่านการให้ยืมหลักทรัพย์ พร้อมตัวอย่างให้ได้เข้าใจกันมากขึ้น...
สถิติการขายชอร์ตเทียบกับดัชนี SET
จากภาพมูลค่าการขายชอร์ตตั้งปี 2555 จนถึง 2560 ค่อนข้างทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ยราว 2 แสนล้านบาท แต่หลังจากนั้นโดยเฉพาะปี 2564 มูลค่าการขายชอร์ตพุ่งขึ้นมาแบบก้าวกระโดดแตะระดับ 1.4 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ดีดัชนี SET กลับไม่ได้ปรับตัวลงตามมูลค่าการขายชอร์ตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าธุรกรรมขายชอร์ตไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการปรับลงของตลาด โดยสาเหตุที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงนั้นมาจากปัจจัยหลักคือ ผลประกอบการ (EPS) ของตลาดที่ไม่โตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ทาง ได้ก็มีการตั้งกฎในการขายชอร์ต (Zero Plus Tick Rule) ซึ่งจะขายได้ที่ราคาไม่ต่ำกว่าราคาล่าสุด เช่น สมมติหุ้น GPSC ราคาฝั่ง Bid อยู่ที่ 55.00 บาท ราคาฝั่ง Offer อยู่ที่ 55.25 บาท และราคาล่าสุดเท่ากับ 55.25 บาท จะตั้งขายชอร์ตได้ที่ราคาไม่ต่ำกว่า 55.25 บาท เป็นต้น
มารู้จักกับธุรกรรม SBL พร้อมวิธีสร้างรายได้เพิ่มกัน
ธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) คือ ธุรกรรมที่บริษัทหลักทรัพย์ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้กับทั้งผู้ยืมหลักทรัพย์ (Borrower) และผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ (Lender) โดยผู้ให้ยืมหลักทรัพย์อาจเป็นนักลงทุนระยะยาวและต้องการผลตอบแทนส่วนเพิ่มนอกเหนือจากส่วนต่างราคารวมทั้งเงินปันผล ขณะที่ผู้ยืมหลักทรัพย์ซึ่งคาดว่าหลักทรัพย์ที่ยืมมีแนวโน้มจะปรับตัวลง แต่ไม่มีหลักทรัพย์ดังกล่าวถืออยู่ก็จะยืมหลักทรัพย์นั้นมาขายชอร์ต
ตัวอย่างการคิดผลตอบแทนสำหรับการให้ยืมหลักทรัพย์
สมมตินักลงทุนให้ยืมหลักทรัพย์ SCC จำนวน 100,000 หุ้น ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี ราคาปิด 269, 269, 266 และ 265 บาท ตามลำดับ นักลงทุนจะได้รับค่าธรรมเนียมการให้ยืมเท่าใด?
วันจันทร์ : (100,000 x 269 x 3.20%) / 365 = 2,358.3 บาท
วันอังคาร : (100,000 x 269 x 3.20%) / 365 = 2,358.3 บาท
วันพุธ : (100,000 x 266 x 3.20%) / 365 = 2,332.0 บาท
จะได้รับค่าธรรมเนียม = 2,358.3 + 2,358.3 + 2,332.0 = 7,048.6 บาท
(หัก) ภาษี ณ ที่จ่าย 15% = 1,057.3 บาท
จะได้รับค่าธรรมเนียมสุทธิ = 5,991.3 บาท
จะเห็นได้ว่าสำหรับนักลงทุนจะได้รับผลประโยชน์จากการให้ยืมหุ้น 5,991.3 บาท จากการให้ยืมเพียง 3 วันเท่านั้น (คิดวันเริ่มให้ยืม แต่ไม่คิดวันปิด) โดยท่านหุ้นที่ถูกให้ยืมจะขึ้นสัญลักษณ์ SCC (r) ในพอร์ต
พิเศษสำหรับผู้ที่ลงทุนใน DR และ ETF ท่านสามารถนำหลักทรัพย์ดังกล่าวมาให้ยืมได้ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อ DR และ ETF ได้ผ่านผู้แนะนำการลงทุนของท่าน และจะได้รับค่าธรรมเนียมเท่ากับการให้ยืมหุ้นซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมากในการสร้างรายได้เพิ่มเติม
หมายเหตุ: *ค่าธรรมเนียมในการให้ยืมหลักทรัพย์อยู่ที่ 3.20% ต่อปี (หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%)
โดยจะคำนวณเป็นรายวันตามราคาปิด (นับรวมวันเสาร์-อาทิตย์)
**ค่าธรรมเนียมในการยืมหลักทรัพย์อยู่ที่ 5.56% ต่อปี
***บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
Source: BLS Futures and Options as of 22/03/24
😎👉🏻 สมัครเปิดบัญชี TFEX / Block Trade ผ่าน Wealth Connex คลิกที่นี่
☎ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ BLS Customer Service โทร 0-2618-1111
------------------------------------------------------------------------------