
นักลงทุนหลายท่านคงเคยได้ยินประโยคเด็ด“การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” ตามโฆษณาการลงทุนหลากหลายที่ วันนี้เราจะมาอธิบายให้ทุกท่านฟังว่าความเสี่ยงไม่ได้น่ากลัวเสมอไปเพราะเมื่อนักลงทุนเลือกรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น ผลตอบแทนที่อาจได้รับก็สูงขึ้นไปตาม แล้วความเสี่ยงที่จะเจอจากการลงทุนมีอะไรบ้าง วันนี้เรารวบรวมมาไว้ให้นักลงทุนที่นี่แล้วนะคะ
ความเสี่ยงจากการลงทุน คืออะไร
ความเสี่ยงจากการลงทุน (Investment Risk) คือ ความไม่แน่นอนหรือความน่าจะเป็นที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ไม่เป็นไปตามที่ได้คาดหวังไว้
ความเสี่ยงจากการลงทุน มีอะไรบ้าง
1. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk)
เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการที่เราไม่สามารถซื้อขายสินทรัพย์ที่ลงทุนได้ในราคาหรือจำนวนที่ต้องการ
จากตัวอย่าง Volume หุ้น BANPU มีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องน้อยกว่าหุ้น LHPF เพราะมี Volume มากกว่า
2. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Risk)
ลงทุนหุ้นต่างประเทศ: จะเผชิญปัญหานี้โดยตรงเพราะต้องแลกเปลี่ยนค่าเงินเพื่อนำไปซื้อหุ้นบนกระดานต่างประเทศ
-
ค่าเงินบาทแข็งค่า = คนไทยซื้อหุ้นนอกในราคาถูกลง
-
ค่าเงินบาทอ่อนค่า = คนไทยซื้อหุ้นนอกในราคาแพงขึ้น
ลงทุนในประเทศ: จะเผชิญปัญหานี้ทางอ้อมจากการไปลงทุนในหุ้นต่าง ๆ
-
ค่าเงินบาทแข็งค่า = หุ้นกลุ่มนำเข้าได้ประโยชน์
-
ค่าเงินบาทอ่อนค่า = หุ้นกลุ่มส่งออกได้ประโยชน์
3. ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rates Risk)
ดอกเบี้ยในตลาดมักมีการปรับขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ตลอดเวลาทำให้กระทบต่อภาพรวมของตลาดการลงทุนและอัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนต้องการ
-
ดอกเบี้ยขึ้น > เงินไหลออกจากตลาดหุ้น > เงินไหลเข้าตลาดพันธบัตร
-
ดอกเบี้ยลง > เงินไหลออกจากตลาดพันธบัตร > หาผลตอบแทนที่ดีกว่าบนตลาดหุ้น

4. ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Risk)
ช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อราคาสินค้าและบริการก็มักเพิ่มขึ้นตาม ทำให้ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการซื้อ
-
เงินเฟ้ออ่อน ๆ บ่งบอกว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโต เป็นเรื่องที่ดีต่อภาพรวมตลาดหุ้น
-
เงินเฟ้อรุนแรง ธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลลบต่อตลาดหุ้น
5. ความเสี่ยงจากตลาด (Market Risk)
เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะตลาดโดยรวม เช่น ภาวะเศรษฐกิจในประเทศซบเซา ตลาดทุนในประเทศก็จะมีความน่าสนใจลดลงตาม
6. ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk)
เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับธุรกิจที่เราเลือกลงทุนโดยตรง อาจเป็นด้านผลกำไรที่ไม่เป็นไปตามเป้าทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนไม่เป็นไปตามคาด
วิธีบริหารความเสี่ยง
ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกำจัดให้หมดไปได้ แต่สามารถบริหารจัดการให้อยู่ในระดับที่รับได้
-
พิจารณาความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เช่น ยอมรับการขาดทุนได้มากน้อยมากเท่าไหร่แล้วจะไม่วิตกกังวล และมีเงินสำรองไว้ใช้เพียงพอหรือไม่
-
ตรวจสอบความเสี่ยงกิจการก่อนลงทุน พิจารณางบการเงิน และอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน
-
กระจายการลงทุน ไปยังสินทรัพย์หลากหลายประเภทเป็นวิธีที่สามารถบริหารความเสี่ยงได้ดีที่สุด เพราะสินทรัพย์มีผลตอบแทนและความเสี่ยงที่แตกต่างกัน บางช่วงอาจกำไร บางช่วงอาจขาดทุน
อัตราส่วนทางการเงินเด็ด ๆ ไว้ใช้มอนิเตอร์ความเสี่ยง
- อัตราทุนหมุนเวียน (Current Ratio) แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้จากสินทรัพย์หมุนเวียนควรมีค่ามากกว่า 1
- อัตราหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นจากสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้รวดเร็ว ควรมีค่ามากกว่า 1

- D/E Ratio อัตราส่วนที่บอกว่าบริษัทมีหนี้สินเป็นกี่เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น ควรมีค่าที่ไม่เกิน 1.5 – 2 เท่า

- TIE Ratio ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย มักดูแนวโน้มเชิงเปรียบเทียบ ไม่มีเกณฑ์ตัวเลขที่แน่นอน

พิเศษ!!! สำหรับลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวง ไม่ต้องคำนวณอัตราส่วนทางการเงินให้ยุ่งยาก เพียงแค่ใช้งานเมนู Stock Signals
วิธีที่ 1 เข้าใช้งานผ่านหน้าเว็บไซต์
Login หน้าเว็บไซต์ > เลือกเมนู Pre-Trade > คลิก Stock Signal > เลือกแถบ Summary > ค้นหาชื่อหุ้นที่สนใจได้เลย

วิธีที่ 2 เข้าใช้งานผ่านแอป Streaming
Login แอป Streaming > เลือกแถบ BLS > คลิก Stock Signal > เลือกแถบ Summary > ค้นหาชื่อหุ้นที่สนใจได้เลย
นักลงทุนมือใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง
- IOS รองรับ iOS 14 ขึ้นไป ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Android รองรับ 7.0 ขึ้นไป ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Notebook & Personal Computer Browser Support : Chrome, Firefox, Safari7+, IE11+

อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service
📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก 👇
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก