howtouseindicators
howtouseindicators

วิเคราะห์กราฟหุ้นเบื้องต้น แบบนักลงทุนสายเทคนิค

วิเคราะห์กราฟหุ้นเบื้องต้น แบบนักลงทุนสายเทคนิค

วิเคราะห์กราฟหุ้นตามแบบฉบับนักลงทุนสายเทคนิคมักจะ สนใจพฤติกรรมราคาของหุ้น เชื่อว่ารูปแบบราคาที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย และเนื่องจากราคาหุ้นนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา วินาทีต่อวินาที เพราะฉะนั้น นักลงทุนสายเทคนิคจึงต้องติดตามการเคลื่อนไหวของราคาอยู่บ่อยครั้ง และจำเป็นต้องมีเครื่องมือช่วยในการดูพฤติกรรมของหุ้น เพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งนักเทคนิคจะวิเคราะห์พฤติกรรมของราคาหุ้นได้หลายแบบ

สามารถ วิเคราะห์กราฟหุ้น ได้แบบใดบ้าง?

  • Chart Analysis ด้วย Indicator

คือการวิเคราะห์ผ่านกราฟราคาหุ้นร่วมกับ เครื่องมือทางเทคนิค หรือ Indicator ที่ใช้ข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ในอดีตมาคำนวณเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้น และทิศทางของตลาดในอนาคต
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น chart analysis
 

  • Candle Analysis

คือการวิเคราะห์ผ่านลักษณะของแท่งเทียน โดยจะสะท้อนการเคลื่อนไหวของราคา รวมไปถึงยังสามารถบอกแนวโน้มของตลาดว่าจะไปทิศทางไหนได้อีกด้วย
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น Candle Analysis
 

  • Pattern Analysis

คือการวิเคราะห์ผ่าน รูปแบบของราคา ที่เกิดจากการเชื่อมต่อจุดของราคาหุ้น เช่น ราคาปิดตลาดทั้งสูงและต่ำที่สุดของแต่ละช่วงเวลา ซึ่งจะมีทั้งรูปแบบที่ง่ายและซับซ้อนแตกต่างกันไป โดยรูปแบบเหล่านี้จะสามารถนำไปวิเคราะห์ทิศทางหรือแนวโน้มของราคาในอนาคตได้
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น Pattern Analysis
 

ในวันนี้หลักทรัพย์บัวหลวงจะพาไปรู้จักกับวิธีการวิเคราะห์หุ้นด้วย Chart Analysis ผ่านเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค (Indicator) ที่นิยม พร้อมวิธีการจับจังหวะซื้อขายในแต่ละ Indicator หากคุณพร้อมแล้ว… เราไปเริ่มกันเลย
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น ด้วย Indicators

Indicators หรือ เครื่องมือวัดความแกว่งตัว (Oscillators) คือ เครื่องมือที่นำข้อมูลตัวเลขของทั้งในปัจจุบันและอดีตของหุ้นมาคำนวณผ่านหลักการทางคณิตศาสตร์ เพื่อทำให้เกิดเป็นข้อมูลที่จะเป็นตัวช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ ทั้งแนวโน้มและความผันผวนของราคาหุ้นในอนาคตได้ โดย Indicator หลัก ๆ ที่จะขอนำมายกตัวอย่างมีดังนี้

  1. เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average: MA)
  2. MACD (Moving Average Convergence Divergence)
  3. RSI (Relative Strength Index)
  4. ฟิโบนัชชี รีเทรซเมนท์ (Fibonacci Retracement)
 

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving AverageMA)

MA หรือ  Moving Average เป็นการคำนวณประเภทหนึ่งของเส้นค่าเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่ โดยคำนวณจากราคาย้อนหลังตามเวลาที่เรากำหนด (Period) และนำมาหาค่าเฉลี่ย ซึ่งเป็นหนึ่งใน Indicator ที่ได้รับความนิยมในการวิเคราะห์ทางเทคนิค

สามารถคำนวณหาค่าเฉลี่ยได้หลายแบบ ได้แก่ SMA (Simple Moving Average), WHA (Weighted Moving Average) และที่นิยมที่สุดก็คือ EMA (Exponential Moving Average) ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาไวกว่าการคำนวณแบบอื่น ๆ เนื่องจากมองความสัมพันธ์ของราคาหุ้นย้อนหลังแบบถ่วงน้ำหนักในรูปแบบของเลขชี้กำลังโดยให้ความสำคัญกับราคาสุดท้ายมากที่สุด
 

ช่วงเวลาที่ใช้ในการคำนวณ (Period) ที่นิยมใช้

  • 5-10 วัน ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
  • 25 วัน ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง
  • 50 วัน ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง
  • 200 วัน ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว
 

วิธีการคำนวณ
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น สูตร MA
 

วิธีการจับจังหวะซื้อขายด้วย Moving Average

นักเทคนิคมักใช้เส้น MA 2 เส้นใน Period ที่ต่างกันมาเปรียบเทียบ โดย..

  • หากเส้น MA ระยะสั้น ตัดขึ้นสูงกว่า เส้น MA ระยะยาว คือ “จังหวะซื้อ”
  • หากเส้น MA ระยะสั้น ตัดลงต่ำกว่า เส้น MA ระยะยาว คือ “จังหวะขาย”

จากตัวอย่างกำหนดให้

  • เส้นสีฟ้า คือ เส้น EMA ระยะสั้น 50 วัน
  • เส้นสีชมพู คือ เส้น EMA ระยะยาว 200 วัน
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น EMA Graph
 

MACD (Moving Average Convergence Divergence)

MACD หรือ Moving Average Convergence Divergence เป็นเครื่องมือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่ใช้สังเกตแนวโน้มของราคาหุ้นว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้น หรือขาลงและยังสามารถใช้ในการบอกสัญญาณซื้อขาย
 

วิธีการคำนวณ

โดยการคำนวณจะใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2 เส้น คือ

วิเคราะห์กราฟหุ้น สูตร MACD

  • เส้น MACD จากสูตร MACD = EMA (12 วัน) – EMA (26 วัน)
  • เส้น Signal Line EMA (19 วัน)

มาวิเคราะห์ลักษณะที่เกิดขึ้นระหว่างเส้นทั้ง 2 เส้น ซึ่งจุดเด่นของ MACD คือสามารถให้ข้อมูล ทิศทางแนวโน้มของราคาหุ้นและแรงส่งของราคาหุ้นได้พร้อม ๆ กัน
 

วิธีการจับจังหวะซื้อขายด้วย MACD

  • จังหวะที่ควรซื้อ คือจุดที่เส้น MACD วิ่งตัดเหนือเส้น Signal Line EMA (19 วัน) ขึ้นไป
  • จังหวะที่ควรขาย คือจุดที่เส้น MACD วิ่งตัดใต้เส้น Signal Line EMA (19 วัน) ลงมา
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น MACD Graph
 

RSI (Relative Strength Index)

RSI หรือ Relative Strength Index เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดแนวโน้ม หรือ Momentum ของราคาหุ้น รวมถึงความเร็วในการเกิดแนวโน้มของราคาสำหรับนักลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อใช้ประกอบกับการดูแนวโน้มของราคา โดยจะมีค่าระหว่าง 0-100 เป็นตัววัดความแกว่งของราคาหุ้น เพื่อดูสภาวะซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไป
 

วิธีการคำนวณ

สูตร RSI
 

วิธีการใช้งาน RSI ในการหาจุดเข้าซื้อและจุดขาย

สามารถสังเกตได้เป็น 3 ช่วงหลัก ๆ คือ

  • RSI < 30% สามารถบอกได้ว่าในช่วงนี้มี ภาวะขายมากเกินไป (Oversold) ทำให้ราคาปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก สามารถมองเป็น “จังหวะซื้อ” ได้
  • RSI  50% สามารถบอกได้ว่าในช่วงนี้มีปริมาณการซื้อขายเท่า ๆ กัน หรือ อยู่ในช่วง Sideway
  • RSI > 70% สามารถบอกได้ว่าในช่วงนี้มี ภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) ทำให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก สามารถมองเป็น “จังหวะขาย” ได้
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น RSI Graph
 

ฟิโบนัชชี รีเทรชเมนท์ (Fibonacci Retracement)
 

Fibonacci Retracement คือ เครื่องมือที่จะช่วยวิเคราะห์หาจุดกลับตัวของกราฟราคา เป็นการวิเคราะห์ว่าราคาจะเคลื่อนที่ไปถึงจุดไหน รวมไปถึงจุดสำหรับขายขาดทุน (Cut Loss) ในกรณีที่ไม่เป็นตามที่คิดไว้อีกด้วย ถือเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์ในทุก ๆ ด้าน ซึ่ง Fibonacci มีหลักการในการวิเคราะห์ที่เรียกว่า “สัดส่วนทองคำ” หมายถึง สัดส่วนที่ปรากฏตามธรรมชาติ เช่น เปลือกหอย เป็นต้น
 

วิธีการคำนวณ

การคำนวณ Fibonacci Sequence เป็นชุดตัวเลขที่เริ่มจาก 0 และ 1 จากนั้นนำผลรวมของตัวเลขทั้งสองบวกกันไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ยกตัวอย่างเช่น

สูตร Fibo

 

  • เมื่อนำค่าตัวเลขล่าสุด มาหารตัวเลขก่อนหน้า 1 ตำแหน่ง จะได้ค่าประมาณ 1.618 หรือประมาณ 161.8%
  • เมื่อนำค่าตัวเลขก่อนหน้า 1 ตำแหน่ง มาหารด้วยค่าตัวเลขล่าสุด จะได้ค่าประมาณ 0.6180 หรือประมาณ 61.8%
  • เมื่อนำค่าตัวเลขก่อนหน้า 2 ตำแหน่ง มาหารด้วยค่าตัวเลขล่าสุด จะได้ค่าประมาณ 0.3820 หรือประมาณ 38.2%
  • เมื่อนำค่าตัวเลขก่อนหน้า 3 ตำแหน่ง มาหารด้วยค่าตัวเลขล่าสุด จะได้ค่าประมาณ 0.2360 หรือประมาณ 23.6%

จากการคำนวณข้างต้น นำมาประยุกต์ใช้ ดังนี้

  • เส้นที่ใช้ในการหาจังหวะเข้าซื้อ 0% / 38.2% / 50% / 61.8% / 78.6%
  • เส้นที่ใช้ในการหาจังหวะขาย 100% / 161.8% / 261.8%
 

วิธีการตีเส้น Fibonacci Retracement   

วิธีการตีเส้น : หลังจากเลือกเครื่องมือ Fibonacci Retracement แล้วให้ลากเส้นจากจุดราคาที่สูงที่สุดไปยังจุดที่ราคาต่ำที่สุด โดยจะใช้เนื้อเทียนหรือไส้เทียนก็ได้
 

กรณีที่ 1: ถ้ามองหุ้นเป็นแนวโน้มขาขึ้น

  • ให้เริ่มตีเส้นโดยลากจากจุดที่ราคาสูงสุดไปยังราคาต่ำสุด
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น Fibo Graph 1
 

จากภาพตัวอย่าง การตีเส้นจะเริ่มจากจุดที่ 1 คือจุดที่เทียบเท่ากับราคาสูงสุดและลากลงมาทางขวาตามเส้นสีเหลืองไปที่จุดที่ 2 คือจุดที่เทียบเท่าราคาต่ำสุด
 

กรณีที่ 2: ถ้ามองหุ้นเป็นแนวโน้มขาลง

  • ให้เริ่มตีเส้นโดยลากจากจุดที่ราคาต่ำสุดไปยังราคาสูงสุด
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น Fibo Graph 2

จากภาพตัวอย่าง การตีเส้นจะเริ่มจากจุดที่ 1 คือจุดที่เทียบเท่ากับราคาต่ำสุดและลากขึ้นมาทางขวาตามเส้นสีเหลืองไปที่จุดที่ 2 คือจุดที่เทียบเท่าราคาสูงสุด

วิธีการหาจุดเข้าซื้อและจุดขายออก

  • การหาจุดซื้อ

ในช่วงแนวโน้มขาขึ้นสามารถใช้ Fibonacci ในการหาช่วงย่อตัวของแนวโน้มขาขึ้น โดยเริ่มที่จุดสูงสุดของช่วงแนวโน้มนั้นไปที่จุดต่ำสุดเพื่อหาจุดซื้อที่ 0.618 ถึง 0.5 หรือย่อลงไปถึงจุด 0.38 ซึ่งจะเป็นจุดกลับตัวของราคา

  • การหาจุดขาย

ในช่วงแนวโน้มขาขึ้นใช้ Fibonacci ลากจากจุดราคาสูงสุดของกราฟในช่วงนั้นลงมาที่จุดล่างสุดหรือจุดราคาที่เข้าซื้อ ซึ่งเป้าหมายหลักที่ดีในการขายทำกำไร คือ 1 หรือ 100% แต่ถ้าราคาขึ้นไปเกิน 1.618 นั่นหมายความว่าราคาอาจจะพุ่งขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ

ตัวอย่าง มองหุ้นเป็นแนวโน้มขาขึ้น และ สมมติให้วันที่เริ่มใช้ Fibonacci Retracement ณ วันที่เส้นสีฟ้า ซึ่งมีราคาสูงสุดประมาณ 80.62 บาท และราคาต่ำสุดประมาณ 68.23 บาท
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น Fibo Graph 3
 

จากรูปจะเห็นว่าหลังจากราคาปัจจุบัน กราฟราคาได้ลงไปแตะที่จุด 0.618 และ 0.5 ซึ่งเป็นจังหวะที่นักลงทุนสามารถทยอยซื้อหุ้นได้ และเมื่อกราฟราคาวิ่งขึ้นไปแตะที่จุด 1.618 เป็นจังหวะที่นักลงทุนควรขายหุ้นเพื่อทำกำไร

ใช้งาน Indicator ทั้งหมดได้อย่างไร?

การจับจังหวะเทคนิคด้วย Indicator สามารถทำได้หลากหลายโปรแกรมผ่านหลักทรัพย์บัวหลวง ไม่ว่าจะเป็น

  • Trade Master
  • Aspen Bualuang Trade และ Aspen for Browser
  • Streaming
  • Efinancethai

วิธีใช้งาน Indicator ผ่านโปรแกรม Trade Master
 

  1. ให้เข้าสู่ระบบ ไปที่หน้า Chart ด้านบน แล้วเลือก Auto Chart
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น Trademaster 1
 

  1. เพิ่ม Indicator ด้วยกล่องด้านซ้ายมือ

2.1 ) เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average: MA): เลือก Overlay > Moving Average

2.2 ) MACD (Moving Average Convergence Divergence): เลือก Trend Indicator > MACD
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น Trademaster 2
 

2.3 ) RSI (Relative Strength Index): เลือก Momentum Indicator > RSI

2.4 ) ฟิโบนัชชี รีเทรชเมนท์ (Fibonacci Retracement): เลือก Fibonacci Retracement ด้านขวามือ > ใช้เมาส์ลากจุดสูงสุดหรือต่ำสุดเพื่อตีเส้น
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น Trademaster 3
 

วิธีใช้งาน Indicator ผ่านโปรแกรม Aspen for Browser

  1. ให้เข้าสู่ระบบ แล้วคลิกที่ช่อง Chart พิมพ์ชื่อหุ้นที่ต้องการ
  1. หลังจากเปิดกราฟมาแล้ว สามารถเพิ่ม Indicator ได้ดังนี้

2.1 ) เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average: MA): เลือก Overlay > Moving Average
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น Aspen 2
 

2.2 ) MACD (Moving Average Convergence Divergence): เลือก Add Indicator > MACD

2.3 ) RSI (Relative Strength Index): เลือก Add Indicator > RSI
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น Aspen 3
 

2.4 ) ฟิโบนัชชี รีเทรชเมนท์ (Fibonacci Retracement): เลือก Fibonacci > Retracement
 

วิเคราะห์กราฟหุ้น Aspen 4

 

นักลงทุนมือใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง

 

wconnex.jpg
อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service

 

📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก  👇

 
เปิดบัญชี.jpg
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง