
EBITDA คืออะไร
EBITDA หรือ earnings before interest, tax, depreciation, and amortization คือ กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย หรือพูดง่ายๆว่าคือกำไรส่วนที่เป็นเงินสดจริงๆ
ซึ่งวิธีการคำนวณทำได้ดังนี้
ค่าเสื่อมราคา (depreciation) คือ ค่าใช้จ่ายที่หักจากการเสื่อมลงของสินทรัพย์ที่ใช้ประโยชน์ได้เป็นระยะเวลานาน เช่น เครื่องจักร ตึก โรงงาน
- ค่าตัดจำหน่าย (amortization) คือการหักการเสื่อมลงของสินค้าที่ไม่มีตัวตน เช่นเดียวกับค่าเสื่อมราคา เช่น ลิขสิทธ์ สิทธิ์การเช่าซื้อ
EBITDA คำนวนได้จากรายได้จากการดำเนินงานของบริษัท (EBIT)
บวกด้วยค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ (depreciation) และค่าตัดจำหน่ายต่างๆ (amortization) ซึ่งในส่วนของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย หรือส่วนที่เพิ่มมาจากผลการดำเนินงานปกติ เป็นเพียงค่าใช้จ่ายทางบัญชี ไม่ใช่เงินสดที่บริษัทจ่ายออกไปจริงๆ หากมีจำนวนมาก อาจส่งผลให้กำไรสุทธิ (net profit) ของบริษัทติดลบได้
ดังนั้น EBITDA จึงเป็นอีกตัวเลขที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกในการดูตัวเลขกำไรที่แท้จริง โดยสามารถใช้ประมาณกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (operating cash flows) ได้ด้วย EBITDA จึงเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงความสามารถในการดำเนินงานและรองรับค่าใช้จ่ายวันต่อวันของบริษัทได้โดยที่ไม่มีผลกระทบจากขั้นตอนการทำบัญชี
โดยในการนำมาใช้ดูและเปรียบเทียบให้ชัดเจนและง่ายยิ่งขึ้น นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมใช้ตัวเลข EBITDA มาคำนวนเป็น EBITDA margin
EBITDA margin (%) คืออะไร และคำนวนอย่างไร?
EBITDA margin คือการนำ EBITDA ไปหาเป็น%ของรายได้ทั้งหมด ทำให้เราสามารถทราบได้ว่า ต่อรายได้หนึ่งบาท บริษัทสามารถทำกำไรที่แท้จริงได้เท่าไหร่ ซึ่งตัวเลขตรงนี้ สามารถนำมาเปรียบเทียบทั้งกับผลการดำนานงานย้อนหลัง (time-series) และสามารถเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆ (cross-sectional) ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่ไม่มีผลกระทบจากความแตกต่างทางนโยบายการเงินบัญชีของต่างบริษัท
แล้วค่า EBITDA margin ที่เหมาะสม ต้องมีค่าเท่าใด?
ยิ่งมีค่าสูงก็ยิ่งดี เพราะนั่นแปลว่าธุรกิจสามารถสร้างกำไรหรือผลตอบแทนได้มาก
- EBITDA margin > 0 หรือ เป็นบวก หมายความว่าบริษัทยังมีกำไรจากการดำเนินงาน
- EBITDA margin < 0 หรือ เป็นลบ หมายความว่าบริษัทขาดทุน
ข้อสังเกต และข้อควรระวัง
- EBITDA margin ได้รับความนิยมอย่างมากในการวัดผลธุรกิจในอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนเยอะ หรือมีการใช้เครื่องจักรหนักเยอะ เช่น น้ำมัน เหล็ก ปิโตรเคมี เพราะในช่วงเริ่มดำเนินการอาจมีกำไรสุทธิติดลบได้เนื่องจากมีค่าเสื่อมราคามาก
- แน่นอนว่าการมีกำไรมากย่อมเป็นผลดีกับบริษัท แต่นักลงทุนควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะตามมาในภายหน้า คือดูอัตราผลการดำเนินงาน (EBIT margin) และอัตรากำไรสุทธิ (net profit margin) ร่วมด้วย เช่น การที่ EBIT เป็นลบ แต่ EBITDA เป็นบวกติดกันหลายปี อาจแสดงให้เห็นว่าบริษัทไม่สามารถบริหารให้มีกำไรพอเลี้ยงค่าเสื่อมของสินทรัพย์ อาจทำให้มีปัญหาในภายหลัง
ยกตัวอย่างการใช้ EBITDA margin จากสถานการณ์จริง
ยกตัวอย่างการอ่านค่า EBITDA margin ตั้งแต่ปี 2017 จนถึงไตรมาส 1 ปี 2021 ของบริษัท คอมเซเว่น จำกัด(มหาชน)
ในปี 2020 จากรายได้ 1 บาท คอมเซเว่นมีกำไรที่แท้จริง 6.71% หรือ 6.71 สตางค์
- ในปี 2019 จากรายได้ 1 บาท คอมเซเว่นมีกำไรที่แท้จริง 5.26% หรือ 5.26 สตางค์
- ในปี 2018 จากรายได้ 1 บาท คอมเซเว่นมีกำไรที่แท้จริง 4.72% หรือ 4.72 สตางค์
- ในปี 2017 จากรายได้ 1 บาท คอมเซเว่นมีกำไรที่แท้จริง 4.30% หรือ 4.30 สตางค์
จะเห็นได้ว่า EBITDA margin ของบริษัท คอมเซเว่น มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2017 ถึง 2020 คือ 4.30% 4.72% 5.26% และ 6.71% ตามลำดับ จึงเห็นได้ว่ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกในปีต่อๆไป
แล้วเราสามารถดูค่า EBITDA margin ได้จากที่ไหน?
วิธีที่ 1 เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม TradeMaster
- Login เข้าโปรแกรม TradeMaster
- เลือกเมนู Market Info
- ไปที่ฟังก์ชัน Fundamental > Fin chart
- พิมพ์ชื่อหุ้นที่ท่านสนใจในช่องค้นหา > profitability > EBITDA margin
วิธีที่ 2 เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม Stock Signals บนหน้า เว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง
- Login เข้าใช้งาน เว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง
- เลือกเมนู Stock Signals
- เลือกฟังก์ชัน Summary
- พิมพ์ชื่อหุ้นที่ท่านสนใจในช่องค้นหา
สแกนหา EBITDA margin ได้อย่างไร?
เด็ดยิ่งกว่า!!! ลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวงสามารถสแกนหาหุ้นอัตโนมัติด้วย Strategy Builder จากการสร้างเงื่อนไขที่คุณสนใจง่ายๆผ่านโปรแกรม Trade Master ดังนี้..
- สร้างเงื่อนไขด้วยเมูด้านซ้ายมือ และเลือกตั้งค่าเงื่อนไข (condition) โดยหา EBITDA margin
- เมื่อสร้างกลยุทธ์ (Strategy) ของเราเรียบร้อยแล้ว หน้าจอจะปรากฎหุ้นที่เข้าเงื่อนไขจากหน้า Results
รับชมคลิปวิดีโอ ทริปเด็ด ๆ จากกูรูหลักทรัพย์บัวหลวงต่อได้ที่นี่
หากนักลงทุนสนใจศึกษาวิธีการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ ต่อได้ที่นี่
📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก 👇
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก
ผู้ลงทุนจะต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน…สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง โทร. 0-2618-1111