
Tips
นอกจากการลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวมแล้ว นักลงทุนหลาย ๆ คนเคยฟังประกาศราคาน้ำมันดิบ ทองคำ ค่าเงิน หรือราคาสินค้าเกษตรกัน ในช่วงเกี่ยวกับข่าวสารลงทุน เคยสงสัยกันไหม...ว่าสินค้าเหล่านี้สามารถลงทุนผ่านตลาดการเงินได้อย่างไร ไปติดตามกันเลย
โดยราคาของสินค้ามักถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลก (Demand and Supply) และมักเคลื่อนไหวในทิศทางที่สอดคล้องกับภาวะเงินเฟ้อ นักลงทุนสามารถลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน

อย่างไรก็ตามสินค้าแต่ละชนิดก็จะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ Demand Supply จนส่งผลต่อราคาแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น...
ที่มา: TFPA

ซึ่งข้อดีของการลงทุนทางอ้อม ถือเป็นการลงทุนที่สะดวก ใช้เงินลงทุนไม่มาก มีความคล่องตัวในการซื้อขายมากกว่าการลงทุนทางตรง ทั้งในแง่การส่งมอบและการเก็บรักษา
ทั้งนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวนสูง จึงไม่ใช่การลงทุนเพื่อเน้นสร้างผลตอบแทนเป็นหลัก แต่ในระยะยาวมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ จึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มความหลากหลายให้พอร์ตลงทุน (Asset Allocation)

ทั้งนี้การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มจากการแลกเปลี่ยนสินค้ากันโดยตรงด้วยราคาส่งมอบทันทีที่เรียกว่า Spot Price ก่อนจะเริ่มพัฒนามาเป็นการซื้อขายด้วยการตกลงทำสัญญาระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายแบบกำหนดราคากันล่วงหน้า (OTC Derivatives) และพัฒนาต่อเนื่องมาจนเริ่มมีการซื้อขายอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดอนุพันธ์ (Exchange Traded Commodity) ซึ่งกำหนดให้รับมอบส่งมอบสินค้าเมื่อสิ้นสุดอายุสัญญา
สาเหตุที่ทำให้การซื้อขายอนุพันธ์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ได้แก่
ที่มา: SET
1. ผ่านแอป Aspen Bualuang Trade
จากนั้นล็อกอินบนแอปพลิเคชัน เลือกเมนู Market > Commodities

2. ผ่านโปรแกรม Aspen for browser
โดยล็อกอินเข้าสู่ระบบบนหน้าเว็บไซต์ www.bualuang.co.th เลือกเมนู Pre-Trade > Aspen
พร้อมเลือกตั้งค่า BLS Template สำหรับจับจังหวะซื้อขายที่คัดสรรมาให้กับนักลงทุน ได้ดังนี้

จากนั้นเลือกไปที่เมนู Solution > สมัครบริการลงทุน


หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก
รู้จัก สินค้าโภคภัณฑ์ คืออะไร
สินค้าโภคภัณฑ์ (commodities) คือ ผลิตภัณฑ์ หรือวัตถุดิบ ที่ถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของการผลิตสินค้าหรือบริการต่าง ๆ มีลักษณะจับต้องได้ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แม้จะมาจากผู้ผลิตคนละราย สามารถซื้อขายได้และใช้แทนกันได้อย่างสมบูรณ์ (Fungibility)โดยราคาของสินค้ามักถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลก (Demand and Supply) และมักเคลื่อนไหวในทิศทางที่สอดคล้องกับภาวะเงินเฟ้อ นักลงทุนสามารถลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน
ประเภทของสินค้าโภคภัณฑ์
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้- Hard Commodity เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป มนุษย์ไม่สามารถผลิตเองได้ เช่น เงิน ทองแดง ทองคำ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
- Soft Commodity เป็นสินค้าทางการเกษตร หรือเกิดจากการผลิตของมนุษย์ เช่น เมล็ดกาแฟ ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด น้ำตาล เนื้อโค เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์
สินค้าโภคภัณฑ์จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอัตราเงินเฟ้อ ยิ่งเงินเฟ้อสูง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็ยิ่งแพงอย่างไรก็ตามสินค้าแต่ละชนิดก็จะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ Demand Supply จนส่งผลต่อราคาแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น...
- โรคระบาด ภัยธรรมชาติ ฤดูกาล หรือสงคราม ที่อาจทำให้การขาดแคลน จนทำให้สินค้ามีราคาสูง
- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(OPEC) ประกาศว่าจะลดกำลังการผลิต น้ำมันดิบก็มีน้อยลง ทำให้ราคาน้ำมันดิบก็จะปรับตัวขึ้น
- สภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งทำให้ผลผลิตตกต่ำก็จะส่งผลให้ราคาสินค้ามีราคาสูงขึ้น
- การที่ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ลดการบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูป เลือกอาหารที่ใช้วัตถุดิบจากพืชที่ให้คุณค่าโปรตีนสูง (plant-based food) ทำให้ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ที่มา: TFPA
ช่องทางการลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์มีอะไรบ้าง?
1. ลงทุนทางตรง
เป็นการไปซื้อสินค้าโภคภัณฑ์นั้น ๆ ที่ร้านขายสินค้าโดยตรง โดยคาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้นใน แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องเก็บรักษา (อาจต้องมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาเพิ่ม) และเสี่ยงต่อการสูญหาย แต่การลงทุนโดยตรงสินค้าบางประเภทอื่น อาจทำได้ยาก เช่น น้ำมัน ยางพารา
2. ลงทุนทางอ้อม
เป็นการลงทุนในหุ้นที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น การขุดเจาะ ธุรกิจเหมืองโลหะ กิจการด้านปิโตรเลียม เป็นต้น หรือสามารถลงทุนในกองทุนรวม และ ETF (Exchange-Traded Fund) ที่มีการไปลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ทองคำ น้ำมันดิบ เงิน ทองแดง อาจเป็นการลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์ส หรือลงทุนตามดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์
ซึ่งข้อดีของการลงทุนทางอ้อม ถือเป็นการลงทุนที่สะดวก ใช้เงินลงทุนไม่มาก มีความคล่องตัวในการซื้อขายมากกว่าการลงทุนทางตรง ทั้งในแง่การส่งมอบและการเก็บรักษา
ทั้งนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวนสูง จึงไม่ใช่การลงทุนเพื่อเน้นสร้างผลตอบแทนเป็นหลัก แต่ในระยะยาวมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ จึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มความหลากหลายให้พอร์ตลงทุน (Asset Allocation)
3. ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures)
นักลงทุนสามารถทำกำไรผ่านการถือครองตราสารอนุพันธ์ที่มีราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ้างอิงอยู่ได้ แต่เนื่องจากตราสารอนุพันธ์เป็นตราสารที่มีการซื้อขายที่ค่อนข้างซับซ้อน มีความเสี่ยงสูง จึงเหมาะกับนักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญ- สินค้าโภคภัณฑ์ ที่มีความสำคัญกับทั้งภาคอุตสาหกรรมในฐานะวัตถุดิบใน การผลิต (เช่น น้ำมัน ยางธรรมชาติ เหล็ก)
- สินค้าโภคภัณฑ์ สำหรับประชาชนทั่วไปในฐานะสินทรัพย์เพื่อความมั่งคั่ง (เช่น ทองคำ)

ทั้งนี้การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มจากการแลกเปลี่ยนสินค้ากันโดยตรงด้วยราคาส่งมอบทันทีที่เรียกว่า Spot Price ก่อนจะเริ่มพัฒนามาเป็นการซื้อขายด้วยการตกลงทำสัญญาระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายแบบกำหนดราคากันล่วงหน้า (OTC Derivatives) และพัฒนาต่อเนื่องมาจนเริ่มมีการซื้อขายอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดอนุพันธ์ (Exchange Traded Commodity) ซึ่งกำหนดให้รับมอบส่งมอบสินค้าเมื่อสิ้นสุดอายุสัญญา
สาเหตุที่ทำให้การซื้อขายอนุพันธ์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ได้แก่
- ลดความเสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระราคา เนื่องจากผู้ซื้อและผู้ขายจะทำสัญญาผ่านสำนักหักบัญชี (Clearing House) โดยมีระบบการวางเงินหลักประกัน (Margin) และการปรับมูลค่าสัญญาให้เป็นปัจจุบัน (Mark to Market)
- ความสะดวกของผู้ลงทุนและความมั่นใจในการซื้อขายที่มีมาตรฐาน ตลาดอนุพันธ์และสำนักหักบัญชีมีการกำหนดวิธี การซื้อขาย กระบวนการรับมอบส่งมอบและการชำระราคา และสามารถทำการยกเลิกภาระผูกพันโดยการปิดสถานะได้โดยสะดวกโดยไม่ต้องรอให้สัญญาครบอายุผ่านตลาดอนุพันธ์
- ความโปร่งใสของข้อมูลรวมถึงกระบวนการ Price Discovery ที่มีประสิทธิภาพ และ Real Time ทำให้มีความโปร่งใสสูงกว่าการซื้อขายแบบ OTC เพราะมีจำนวนและความหลากหลายของผู้ร่วมตลาด (Market Participant) รวมถึงกระบวนการซื้อขายและส่งมอบที่มีมาตรฐาน
ที่มา: SET
ดูราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้จากที่ไหน?
ลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวง ติดตามราคา หรือ ดูกราฟราคาสินค้าโภณภัณฑ์ได้ง่าย ๆ1. ผ่านแอป Aspen Bualuang Trade
- Aspen bualuang Trade for iPhone / iPad : ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Aspen bualuang Trade for Android : คลิกที่นี่
จากนั้นล็อกอินบนแอปพลิเคชัน เลือกเมนู Market > Commodities

2. ผ่านโปรแกรม Aspen for browser
โดยล็อกอินเข้าสู่ระบบบนหน้าเว็บไซต์ www.bualuang.co.th เลือกเมนู Pre-Trade > Aspen

พร้อมเลือกตั้งค่า BLS Template สำหรับจับจังหวะซื้อขายที่คัดสรรมาให้กับนักลงทุน ได้ดังนี้
- เลือกเมนู View > Page Explorer
- เลือกโฟลเดอร์เป็น Commodities เลือกดู Energy หรือ Gold-Silver
- กดเลือก รายชื่อสินค้าโภคภัณฑ์ที่ต้องการ เพื่อดูกราฟใช้จับจังหวะซื้อขาย

เริ่มต้นลงทุนสินค้าโภณภัณฑ์ ผ่านตราสารอนุพันธ์ได้อย่างไร?
สำหรับลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวง
เปิดบัญชีอนุพันธ์ออนไลน์ลงทุนในตลาด TFEX ได้สะดวก ไม่ต้องส่งเอกสาร ผ่านแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX ติดตั้งคลิกจากนั้นเลือกไปที่เมนู Solution > สมัครบริการลงทุน

สำหรับบุคคลทั่วไป หรือนักลงทุนที่ยังไม่มีบัญชีลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง

หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก
นักลงทุนมือใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง
- IOS รองรับ iOS 14 ขึ้นไป ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Android รองรับ 7.0 ขึ้นไป ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Notebook & Personal Computer Browser Support : Chrome, Firefox, Safari7+, IE11+

อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service
Tips
Global
DR01
สอนลงทุน
Tips
Tools
สอนลงทุน
สอนลงทุน
Tools
Tips
Tips
สอนลงทุน