circuitbreaker
circuitbreaker

รู้จัก Circuit Breaker มาตรการหยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว

รู้จัก Circuit Breaker มาตรการหยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว

ในทุก ๆ วิกฤติเศรษฐกิจ, มหันตภัยธรรมชาติ หรือ โรคระบาด ที่เกิดขึ้น มักจะส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง หรือบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้น ๆ จนทำให้ธุรกิจที่อาจจะหยุดชะงัก สะท้อนไปถึงตลาดหุ้นมีความผันผวนลดลงในระดับรุนแรง จนเกิดเป็น "มาตรการ Circuit Breaker"

Circuit Breaker คืออะไร

ตลาดหุ้นหยุดการซื้อขายชั่วคราว (Circuit Breaker) คือ การหยุดการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราวจากสภาวะที่ตลาดหุ้นภายในวันมีความผันผวนในระดับรุนแรง ราคาหลักทรัพย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ถือเป็นการหยุดการซื้อขายเพื่อให้นักลงทุนตรวจสอบข้อมูลการลงทุนก่อนเปิดการซื้อขายใหม่อีกครั้ง

Circuit Breaker มี 2 หลักเกณฑ์ ดังนี้

Circuit เกณฑ์.png
หมายเหตุ:

1. หากใช้มาตรการ Circuit Breaker ครั้งที่ 2 แล้ว ตลาดจะไม่มีการหยุดซื้อขายอีกจนกว่าถึงช่วงเวลาปิดทำการ 16:30 น.
2. หากระยะเวลาในรอบการซื้อขายที่ Circuit Breaker ทำงานนั้นเหลือไม่ถึง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ก็ให้หยุดพักการซื้อขายเพียงระยะเวลาที่เหลือในรอบการซื้อขายนั้น แล้วเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามปกติในรอบการซื้อขายถัดไป
3. อาจมีบางช่วงเวลาที่หลักทรัพย์ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงต่างประเทศ (Cross-border Products) อาจเปิดซื้อขายไม่ตรงกันกับหลักทรัพย์อื่นๆ เนื่องจากไม่มีช่วงเวลาพักการซื้อขายระหว่างวัน (Non intermission)
ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ประเทศไทยประกาศใช้มาตรการ Circuit Breaker มาแล้วกี่ครั้ง ?

MicrosoftTeams-image (14).png
ในประเทศไทยมีการประกาศใช้มาตรการ Circuit Breaker มาแล้ว 6 ครั้ง

ครั้งแรก วันที่ 19 ธ.ค. 2549 จากเหตุการณ์วันที่ 18 ธ.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการกันสำรอง 30% ป้องกันการเก็งกำไรจากค่าเงินบาท ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 19 ธ.ค. ลดลงกว่า 19.52% 

ครั้งที่ 2 วันที่ 10 ตุลาคม 2551 ความวิตกกังวลของการเกิดวิกฤตการณ์ Subprime Crisis ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยลดลง 10.02%

ครั้งที่ 3 วันที่ 27 ตุลาคม 2551 ผลต่อเนื่องจากวิกฤตการณ์ Subprime Crisis ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยลดลงกว่า 10%

ครั้งที่ 4 วันที่ 12 มีนาคม 2563 การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 และภาวะสงครามน้ำมันระหว่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย เกิดการเทขายหุ้นครั้งใหญ่ ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยลดลง 10.08%

ครั้งที่ 5 วันที่ 13 มีนาคม 2563 ต่อเนื่องจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดโรค Covid-19 ดัชนีลดลงจากวันที่ 12 มีนาคม กว่า 10%
ครั้งที่ 6 วันที่ 23 มีนาคม 2563 ดัชนีลดลงกว่า 90 จุด หรือมากกว่า 8% จากความรุนแรงของโรค Covid-19 ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ใช้เกณฑ์ Circuit Breaker ใหม่
 

ตัวอย่างเหตุการณ์ Circuit Breaker ในตลาดหุ้นไทย

เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ที่ส่งผลกระทบรวมต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก รวมถึงค่าเงินบาทไทยอ่อนค่า นักลงทุนเกิดความกังวลจึงออกมาเทขายหุ้นกันยกใหญ่ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ลดลงอย่างรวดเร็ว ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการประกาศใช้มาตรการ Circuit Breaker หยุดการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว ติดต่อกันถึง 2 วัน

Circuit Chart Trade Master.png

วันที่ 11 มีนาคม 2563 ดัชนีปิดอยู่ที่ 1249.89 จุด
วันที่ 12 มีนาคม 2563
 เนื่องจากเกิดการเทขายหุ้นอย่างหนัก ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากดัชนีวันก่อนหน้า 125.05 จุดหรือประมาณ -10% ตลาดจึงต้องประกาศใช้มาตรการ Circuit Breaker ในเวลา 14:38 ถึง 15:08 น.เป็นเวลา 30 นาที
เช้าวันที่ 13 มีนาคม 2563 สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น เปิดตลาดที่ 1,114.91 จุด ก่อนจะปรับลดลง 111.52 จุด หรือลดลงจากดัชนีวันก่อนหน้า -10% จึงต้องประกาศมาตรการ Circuit Breaker อีกวัน ตั้งแต่เวลา 09:59 ถึง 10:29 น. เป็นเวลา 30 นาที
ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์


จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ตลาดหลักทรัพย์เสนอให้มีแนวทางปรับเกณฑ์ Circuit Breaker โดยปรับ Trigger point ใหม่ จากเดิม 2 ช่วง เพิ่มเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ดัชนีลดลง -8% , -15% และ -20% ซึ่งการปรับ Trigger point ที่ลดลงจะทำให้โอกาสหยุดซื้อขายเร็วขึ้น เป็นการช่วยลดความตื่นตระหนกของนักลงทุน รวมถึงมีเวลาในการพิจารณาข้อมูลการลงทุนก่อนตัดสินใจวางแผนการลงทุนใหม่อีกครั้ง แต่ทั้งนี้เป็นเพียงการประกาศใช้ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 และไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2563

                                                  

วิธีการใช้งานโปรแกรมเพื่อสังเกต และวางแผนการลงทุน
ในสภาวะที่ตลาดมีความผันผวนและเกิดความไม่แน่นอน ลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวงสามารถใช้โปรแกรม Trade Master เป็นเครื่องมือช่วยในการลงทุนได้ ท่านสามารถตั้งค่าเส้น Auto Trend line เพื่อดูแนวรับ-แนวต้านของตลาดในช่วงดังกล่าว คลิกที่นี่เพื่ออ่านแนวรับ-แนวต้านเพิ่มเติม

Circuit tools.png

ซึ่งจากภาพประกอบจะเห็นว่า แนวรับของดัชนี(เส้นสีฟ้า) ก่อนช่วง Covid-19 อยู่ที่ประมาณ 1550 จุด ถือเป็นจุดที่นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกรอบดังกล่าวได้ กรณีเกิดความกังวลต่อความผันผวนของทิศทางราคาก็สามารถตั้ง Conditional order คำสั่ง Stop Loss เพื่อช่วยจำกัดผลขาดทุนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนได้เช่นกัน คลิกที่นี่เพื่ออ่านวิธีการใช้ Trade Master  
 

📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก  👇

Thunbnail openAC.jpg
 

หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก 

 


ผู้ลงทุนจะต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน…สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง โทร. 0-2618-1111

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง