ca
ca

เครื่องหมายหลังชื่อหุ้น คืออะไร? มารู้จักความหมายและคำแนะนำ

เครื่องหมายหลังชื่อหุ้น คืออะไร? มารู้จักความหมายและคำแนะนำ
สัญลักษณ์เครื่องหมายหลังชื่อหุ้น 
ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนมีเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุนหรือการซื้อขายหุ้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขึ้นเครื่องหมายต่างๆ บนกระดานซื้อขาย เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นแต่ละตัว โดยโปรแกรม Streaming จะขึ้นสัญลักษณ์เตือนล่วงหน้าสำหรับหุ้นที่จะมีเหตุการณ์ CA (Corporate Action) แสดงให้ทราบว่าหุ้นนั้นๆ กำลังจะเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นภายในระยะเวลา 7 วัน
เครื่องหมายสิทธิประโยชน์ต่างๆ
  • XD (Excluding Dividend) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล
  • XR (Excluding Right) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่
  • XW (Excluding Warrant) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์
  • XS (Excluding Short-term Warrant) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้น
  • XT (Excluding Transferable Subscription Right) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
  • XI (Excluding Interest) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับดอกเบี้ย
  • XP (Excluding Principal) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับเงินต้นที่บริษัทประกาศจ่ายคืนในคราวนั้น
  • XA (Excluding All) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น
  • XE (Excluding Exercise) : แสดงการปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการนำตราสารสิทธิไปแปลงสภาพเป็นหุ้นอ้างอิง
  • XM (Excluding Meetings) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่มีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
  • XN (Excluding Capital Return) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่มีสิทธิในการรับเงินคืนจากการลดทุน
  • XB (Excluding Other Benefit) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ ในกรณีต่อไปนี้ 1.สิทธิจองซื้อหุ้นบุริมสิทธิ ที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญ 2.สิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ ที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ 3.สิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ที่เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering) โดยจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท 4.สิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทในเครือ
เครื่องหมายห้ามหรือเตือน เพื่อให้นักลงทุนระมัดระวัง
  • H (Trading Halt) เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราวโดยแต่ละครั้ง มีระยะเวลาไม่เกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขายซึ่งตลาดหลักทรัพย์มีหลักเกณฑ์ในการขึ้น เครื่องหมาย H ดังนี้
  1. มีข้อมูลหรือข่าวสารที่สำคัญที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ หรือต่อการตัดสินใจในการลงทุนหรือต่อการเปลี่ยนแปลงในราคาของหลักทรัพย์ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ยังไม่ได้รับรายงานจากบริษัท และอยู่ในระหว่างการสอบถามข้อเท็จจริง และรอคำชี้แจงจากบริษัท และตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าบริษัทสามารถชี้แจงได้ในทันที
  2. ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งน่าสงสัยว่าจะมีผู้ลงทุนบางกลุ่ม ทราบข้อมูลหรือข่าวสารที่สำคัญ และอยู่ในระหว่างการสอบถามข้อเท็จจริงจากบริษัท และตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าบริษัทสามารถชี้แจงได้ทันที
  3. บริษัทร้องขอให้ตลาดหลักทรัพย์สั่งห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ของตนเป็นการชั่วคราว เนื่องจากบริษัทอยู่ในระหว่างรอการเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารที่สำคัญ และตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าบริษัทสามารถชี้แจงได้ในทันที
  4. มีเหตุอื่นใดที่อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น
  • SP (Trading Suspension) เป็นเครื่องหมายแสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราว โดยแต่ละครั้ง มีระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งรอบการซื้อขายซึ่งตลาดหลักทรัพย์มีหลักเกณฑ์ในการขึ้น เครื่องหมาย SP ดังนี้
  1. เมื่อเกิดกรณีเช่นเดียวกับข้อ 1 ถึง 3 ของการขึ้นเครื่องหมาย H และตลาดหลักทรัพย์ เห็นว่าบริษัทไม่สามารถชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลได้ในทันที
  2. บริษัทฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง มติคณะกรรมการ ข้อตกลง ตลอดจนหนังสือเวียน ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้บริษัทปฏิบัติตาม
  3. บริษัทไม่นำส่งงบการเงินให้ตลาดหลักทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนด
  4. หลักทรัพย์อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิกถอนหรืออยู่ระหว่างการปรับปรุงสถานภาพ เพื่อให้พ้นข่ายการถูกเพิกถอน
  5. หลักทรัพย์จะครบกำหนดเวลาในการไถ่ถอนหรือการแปลงสภาพ หรือการใช้สิทธิ หรือการขายคืน
  6. มีเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการซื้อขายหลักทรัพย์
  • C (Caution) เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าบริษัทจดทะเบียนมีเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินและการดำเนินธุรกิจ
  • NP (Notice Pending) บริษัทจดทะเบียนมีข้อมูลที่ต้องรายงานและตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างรอข้อมูลจากบริษัท
  • NR (Notice Received) ตลาดหลักทรัพย์ได้รับการชี้แจงข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนที่ได้มีการ Pending (NP) ไว้แล้ว
  • NC (Non-Compliance) หลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน
  • ST (Stabilization) หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการซื้อหุ้นเพื่อส่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกิน
หุ้นติดแคชบาลานซ์ แบ่งออกเป็นกี่ระดับ ?
เครื่องหมายที่บอกระดับการติดแคชบาลานซ์ของหุ้นที่มีการซื้อขายผิดปกติ โดย..แบ่งออกเป็นระดับ 1 – 3

image001.png

หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย คือ รายชื่อหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศกำหนดให้ดำเนินมาตรการด้านการซื้อขาย สาเหตุจากการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาด
เพื่อป้องกันความเสี่ยงอันอาจจะเกิดต่อนักลงทุน และระบบโดยรวมของตลาด ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ประกาศข่าวรายวันภายใต้หัวข้อข่าว Trading Alert List และ หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย

โดยอักษร T ย่อมาจาก Trading Alert 
  • ระดับ 1 ให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance และห้ามนำหลักทรัพย์มาคำนวณวงเงินซื้อขาย สัญลักษณ์ T1 
  • ระดับ 2 ให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance + ห้ามนำหลักทรัพย์มาคำนวณวงเงินซื้อขาย และห้าม Net settlement สัญลักษณ์ T2
  • ระดับ 3 ให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance + ห้ามนำหลักทรัพย์มาคำนวณวงเงินซื้อขาย + ห้าม Net settlement และห้ามซื้อขายเป็นการชั่วคราว 1 วันทำการ สัญลักษณ์ T3
 ความหมาย แตกต่างกันอย่างไร
  • Cash Balance หมายความว่า นักลงทุนต้องซื้อหลักทรัพย์ด้วยบัญชีแคชบาลานซ์เท่านั้น โดยวางเงินสดไว้กับโบรกเกอร์เต็มจำนวนก่อนซื้อหลักทรัพย์
  • ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย หมายความว่า ห้ามโบรกเกอร์ใช้หลักทรัพย์เป็นหลักประกันในการคำนวณวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ในทุกประเภทบัญชี
  • ห้าม Net Settlement หมายความว่า ห้ามโบรกเกอร์หักกลบราคาค่าซื้อกับราคาค่าขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (ซื้อและขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน ค่าขายคืนเป็นวงเงินในวันทำการถัดไป)
มาตรการแบบใหม่สำหรับหุ้นที่ตลาดฯ ประกาศตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน
ยกตัวอย่างเครื่องหมายต่างๆ จากสถานการณ์จริง
MicrosoftTeams-image (23)

ยกตัวอย่างการอ่านเครื่องหมาย ของบริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)  

465562

จะเห็นได้ว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นเครื่องหมายบนกระดานซื้อขาย โดย หุ้น ACAP มีเครื่องหมาย C หมายถึงบริษัทมีเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินและการดำเนินธุรกิจ โดยเครื่องหมาย NP อยู่ในช่วงบริษัทมีข้อมูลที่ต้องรายงาน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์รอข้อมูลจากบริษัทเช่นกัน และ เครื่องหมาย T1 ต้องซื้อหลักทรัพย์ด้วยบัญชีแคชบาลานซ์เท่านั้น โดยวางเงินสดไว้กับโบรกเกอร์เต็มจำนวนก่อนซื้อหลักทรัพย์
อยากเทรดหุ้น… แต่  “ไม่มีเวลาเฝ้า” หุ้นวิ่งเร็ว… จน “ส่งคำสั่งไม่ทัน” ตลาดลงทีไร…“ไม่ได้ขายทุกที”

Bualuang iAlgo และ Trade Master ตัวช่วยเทรดหุ้นระดับมืออาชีพ ด้วยนวัตกรรมล่าสุดให้คุณส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะ Take Profit หรือ Stop Loss ก็หมดห่วง ตั้งคำสั่งไว้ล่วงหน้าแล้ว “ปิดเครื่องได้เลย”… ที่เหลือ เราจัดการให้..!!

ยกตัวอย่าง บริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

วิธีที่ 1 เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม TradeMaster
  1. Login เข้าโปรแกรม TradeMaster
  2. เลือกเมนู  Auto Trade อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่
  3. เลือก SELL ใส่ชื่อหุ้น Symbol > กำหนดเงื่อนไขขายหุ้นเพื่อ Stop Loss แบบอัตโนมัติ! > กำหนดวันสุดท้ายที่ให้มีผลของคำสั่ง GTD ได้สูงสุด 90 วัน
  4. กดปุ่ม Submit พร้อมใส่ PIN แล้วอย่าลืมกด ON Order ในหน้า Auto Trade Status เพื่อให้ Trade Master ช่วยเฝ้าส่งคำสั่งซื้อขายให้คุณกันได้เลย!!
1111

วิธีที่ 2 เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม Stock Signals บนหน้า เว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง
  1. Login เข้าใช้งาน เว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง
  2. เลือกเมนู iAlgo   อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่

011

3. เลือก Trailing Stop Order และใส่รายละเอียด โดยจะเป็นการกำหนดเงื่อนไขการ Stop Loss จาก”ราคาสูงสุดล่าสุด”เมื่อราคาลดลงจนถึงจุดที่เราตั้งไว้ก็จะทำการขายหุ้นออกมาทันที โดยเราสามารถตั้งจุด Stop Loss ได้ 2 แบบคือ Percent และ Price แต่ถ้าราคาลดลงมาไม่ถึงจุดที่เราตั้งไว้ และราคาปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จุด Stop Loss ของเราก็จะยกขึ้นตามไปด้วย

012

4.กดเพื่อยืนยัน

013
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม…คลิกที่นี่ 
ที่มา : www.set.or.th
รับชมคลิปวิดีโอ ทริปเด็ด ๆ จากกูรูหลักทรัพย์บัวหลวงต่อได้ที่นี่

นักลงทุนมือใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง

wconnex.jpg

อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่

✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service
 

📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก   👇

 
เปิดบัญชี.jpg
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง