7624
7624

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นแบบ Big Lot

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นแบบ Big Lot
ประเด็นร้อนที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้...น่าจะหนีไม่พ้นเรื่อง Big Lot หุ้น AAV โดยตระกูลแบเลเว็ลด์ (ประกอบด้วยนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ นางสาวภัทรี แบเลเว็ลด์ และนางศิริธร แบเลเว็ลด์) ขายหุ้นให้กับกลุ่มคิงเพาเวอร์จำนวน 1.89 พันล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 39% ของทุนชำระแล้ว ให้กลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์ ที่ราคาหุ้นละ 4.20 บาท !!! ราคาปิด ณ วันที่ 14 มิ.ย. 59 6จากเหตุการณ์ที่กลุ่มคุณ วิชัย ศรีวัฒนประภา ( ผู้ถือหุ้นใหญ่ King Power ) Big Lot หุ้น AAV ในราคา 4.20 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาในกระดานถึง 30% !! ทำให้ราคาหุ้น AAV เปิดกระโดดลงอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเปิดที่ราคา 5.55 บาท แต่อย่างไรก็ตามในช่วงบ่ายวันนี้เริ่มมีแรงซื้อสวนเข้ามา จนราคาสามารถกลับมายืนเหนือ 6 บาท และปิดที่ 6.25 บาท หรือ +4.17% เลยทีเดียว แต่ราคาหุ้นที่พุ่งแรงประกอบกับวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จะมีอะไรในก่อไผ่หรือไม่นั้น คงต้องรอคุณวิชัย มาแถลงแล้วละคะ

ปัจจุบันกลุ่มคิงเพาเวอร์ถือหุ้น AAV อยู่ทั้งหมด 1.93 พันล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 39.82% ของทุนชำระแล้ว

AAV

จากเหตุการณ์ Big Lot หุ้น AAV ข้างต้น สงสัยกันมั้ยคะว่า Big Lot คืออะไร และมีวิธีการทำอย่างไร? ปกติแล้วเราอาจจะชินกับการซื้อขายหุ้นในกระดาน หรือ ส่งคำสั่งซื้อขายผ่าน Streaming แต่กลไกการซื้อขายไม่ได้มีเพียงเท่านี้นะคะ ยังมีการซื้อขายหลักทรัพย์รายใหญ่ ( Big Lot Transaction ) หรือเรียกสั้นๆว่า Big Lot ไว้รองรับสำหรับนักลงทุนที่ต้องการซื้อขายหุ้นในจำนวนมากๆ โดยการทำ Big Lot ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงราคากันเองได้ จากนั้นจึงส่งรายการที่ตกลงกันเข้าไปในระบบ เพื่อทำการชำระราคาและส่งมอบ ปัจจุบันทางตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้มีปริมาณการซื้อขายตั้งแต่ 1 ล้านหุ้นขึ้นไป หรือมูลค่าการซื้อขายตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป 1.1ถ้าไม่มีกลไกการซื้อขายแบบ Big Lot ล่ะ? ในกรณีที่เราต้องการซื้อหุ้นในปริมาณมากๆและต้องส่งคำสั่งผ่านกระดาน ก็จะเป็นในลักษณะของการไล่ซื้อ ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นและต้นทุนก็สูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนในกรณีขายก็เช่นเดียวกันหากขายในปริมาณมากๆก็จะเหมือนกับการทุบหุ้นนั้นลงโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น Big Lot จึงเป็นประโยชน์ต่อทั้งนักลงทุนรายใหญ่ที่เป็นผู้ซื้อขาย ทำให้ไม่ต้องซื้อหุ้นในราคาแพงและไม่ต้องขายในราคาที่ถูกจนเกินไป และยังเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนทั่วไปด้วย เพราะทำให้ราคาหุ้นตัวนั้นๆไม่ขึ้นหรือลงหวือหวาทุกครั้งที่รายใหญ่ทำการซื้อขาย แต่!! กรณีที่ทำ Big Lot  เกิน 25% ของทุนจดทะเบียน หรือ ผู้ซื้อถือครองหลักทรัพย์ถึง 25% , 50% , 75% ต้องทำ Tender Offer ด้วยนะคะ Tender Offer คือ การเสนอซื้อหุ้นคืนสู่บริษัท โดยกฎหมายกำหนดให้ต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นทราบว่าผู้ทำคำเสนอซื้อคือใคร และจะซื้อกิจการไปเพื่อทำอะไร เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจสำหรับผู้ถือหุ้นให้มีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจว่าจะถือหุ้นต่อไปหรือจะขายหุ้นให้แก่ผู้ทำคำเสนอซื้อ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าต้องเอาหุ้นออกจากตลาดเสมอไปนะคะ ขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นใหม่ว่าจะนำออกจากตลาดหรือไม่ ดังนั้นการที่กลุ่มคิงเพาเวอร์เข้าซื้อหุ้น AAV ถึง 39% ของทุนชำระแล้วก็หมายความว่าจะต้องทำ Tender Offer ขอซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอดูราคาเสนอซื้อคืนอีกทีว่าน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน รวมถึงแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคตว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ก็ต้องติดตามกันต่อไปค่ะ...

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง