43797
43797

กนง. ประกาศลดดอกเบี้ย...ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์!!

กนง. ประกาศลดดอกเบี้ย...ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์!!
เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 62 ผลการประชุม กนง. มีมติปรับลด อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 1.75% เป็น 1.50% ในรอบ 4 ปี ด้วยผลโหวต 5 : 2 จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงมีการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลายแห่งทั้ง Fed, อินเดียและนิวซีแลนด์

(กนง. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย 0.25%)

Pic1
ทำไม กนง. ถึงลดดอกเบี้ย ?
Pic6
  • ภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และต่ำกว่าระดับศักยภาพ
  • การส่งออกสินค้าหดตัว จากสภาวะการกีดกันทางการค้า
  • การท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง
  • การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอลงตามรายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตร
  • การจ้างงานที่ปรับลดลง
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีมีแนวโน้มต่่ากว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อจากราคา พลังงานที่ปรับลดลงเร็ว
ใครได้ประโยชน์...ใครเสียประโยชน์ ?
ผลกระทบต่อตลาดหุ้น : รอบนี้เป็นการปรับลดดอกเบี้ยเพื่อบรรเทาสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งเป็นจังหวะที่ตลาดหุ้นมี Valuation สูงอยู่ คาดโอกาสที่ตลาดจะปรับตัวขึ้นแรงเหมือนในอดีตนั้นจำกัด ใครได้ประโยชน์ : กลุ่มที่ต้นทุนหลักเป็นดอกเบี้ย ซึ่งมีโอกาสที่จะเห็นต้นทุนที่ลดลง / มารจิ้นกว้างขึ้น เช่น สินเชื่อบุคคล, สินเชื่อรถยนต์, จำนำทะเบียนขนส่งมวลชน, โรงไฟฟ้า, หุ้นปันผลสูง และ กองทุน รวมต่างๆ เป็นต้น ใครเสียประโยชน์ : พบว่าทุกๆ 0.25% ที่ ดอกเบี้ย MLR ปรับลง กำไรธนาคารจะลดลง 7.00% แต่ผลกระทบอาจเบาลงเหลือ 3.00% หากธนาคารปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากด้วย เราคาดจะเห็นหุ้นธนาคารใหญ่ โดย De-rate valuation ลงต่อ ผลกระทบต่อค่าเงิน : เรามองว่าอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ ประเด็นหลักที่จะกระทบค่าเงิน เพราะค่าเงินจะ Sensitive กับเงินสำรองต่างประเทศเป็นหลัก...ดังนั้นคาดค่าเงินได้รับผลจำกัดจากการลดดอกเบี้ย (ที่มา : บทวิเคราะห์หลักทรัพย์บัวหลวง วันที่ 8 ส.ค. 62)
แล้วงบการเงินของ 3 แบงก์ใหญ่ เพิ่มขึ้น / ลดลง เพราะอะไร ?
เดินทางเข้าสู่ช่วงทยอยประกาศงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน นำโดยกลุ่มแบงก์จะเริ่มประกาศงบการเงินเป็นกลุ่มแรก โดยช่วงระยะเวลาของการประกาศ ดังนี้...
  • งบไตรมาส 1 ของกลุ่มแบงก์จะประกาศวันที่ 11 - 20 เม.ย. และ วันที่ 6 - 15 พ.ค. ประกาศงบของทุกกลุ่ม
  • งบไตรมาส 2 ของกลุ่มแบงก์จะประกาศวันที่ 11 - 20 ก.ค. และ วันที่ 6 - 15 ส.ค. ประกาศงบของทุกกลุ่ม
  • งบไตรมาส 3 ของกลุ่มแบงก์จะประกาศวันที่ 11 - 19 ต.ค. และ วันที่ 6 - 15 พ.ย. ประกาศงบของทุกกลุ่ม
  • งบประจำปี และงบไตรมาส 4 ของกลุ่มแบงค์จะประกาศวันที่ 11 - 22 ม.ค. และ วันที่ 26 ก.พ. - 6 มี.ค. งบของทุกกลุ่ม
แล้วช่วงนี้เองก็เข้าสู่การประกาศงบไตรมาส 2 ของกลุ่มแบงก์ รายงานกำไรสุทธิรวม 5.34 หมื่นล้านบาท ลดลง 0.1% YoY และ 4.2% QoQ โดยหลักการทั่วไปนั้นปัจจัยที่กระทบกับตัวเลขในกลุ่มแบงก์ก็คือ… 1. การเติบโตของสินเชื่อ ซึ่งการให้สินเชื่อเป็นธุรกิจหลักของธนาคาร ส่งผลให้รายได้จากส่วนนี้เป็นรายได้หลักของธนาคารเช่นกัน 2. รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หรือ ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin หรือ NIM) เป็นส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับ (ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการปล่อยเงินกู้และสินเชื่อต่างๆ) หักกับดอกเบี้ยจ่าย (ดอกเบี้ยที่จ่ายเป็นผลประโยชน์ให้กับประเภทเงินฝาก) 3. รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย นั้นมาจากรายได้จากค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น โอน จ่ายบิล ซึ่งปัจจุบันลดลงค่อนข้างมากหลักจากการปรับตัวเข้าสู่ยุค Digital Banking และค่าธรรมเนียมการขายประกัน กองทุน 4. การตั้งสำรองจากหนี้สูญ กรณีลูกหนี้ที่กู้เงินไปและไม่จ่ายชำระหนี้ 5. ต้นทุนรายจ่าย อาทิเช่น เงินเดือนพนักงาน การตั้งสำรองเงินเกษียณอายุ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายทางการตลาด ฯลฯ ต่อไปนี้เมื่อเวลาที่แบงค์ประกาศงบการเงิน เราก็จะรู้แล้วว่าต้องดูตัวเลขอะไรบ้างที่มีผลกระทบกับกลุ่มนี้!!
  • ธนาคารกรุงเทพ หรือ รู้จักกันในหุ้น BBL
รายงานกำไรสุทธิ ไตรมาส 2 ปี 2562 อยู่ที่ 9,347.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7% จาก 9,194.25 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ปี 2561 หลักๆ แล้วนั้นกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ไตรมาส 2 ปี 2562 อยู่ที่ 17,635 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 2 ปี 2561 อยู่ที่ 17,513 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.4% จากดอกเบี้ยรับ...แต่การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยรับนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นจากเงินให้สินเชื่อ เพราะเงินให้สินเชื่อลดลง -3.1% QoQ และ -0.2% YoY แต่เพิ่มขึ้นจากรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินและเงินลงทุน ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ลดลง 1% YoY จากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพิ่มขึ้น 5.5% YoY จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ อาคารสถานที่ และการตลาด อีกทั้งการตั้งสำรองค่าใช้จ่ายหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญ ลดลง 1.5% YoY จากปัจจุบัน 5,549 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับ 6,533 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ปี 2561 เนื่องจากเงินที่ปล่อยกู้ไปลูกหนี้นั้นไม่เบี้ยวการจ่ายชำระหนี้ bbl
  • ธนาคารไทยพานิชย์ หรือ รู้จักกันในหุ้น SCB
รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 2562 อยู่ที่ 10,976 ล้านบาท ลดลง 1.2% YoY เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2561 ที่ 11,111.20 ล้านบาท หลักๆ แล้วที่กำไรสุทธิลดลงเล็กน้อยจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 5.6% เป็นผลกระทบจากค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มขึ้น จากการปรับเพิ่มเงินเดือนโบนัสประจำปีและค่าใช้จ่ายอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 4.4% YoY จากปีก่อนเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายได้สุทธิ (ดอกเบี้ยรับ - ดอกเบี้ยจ่าย) ดอกเบี้ยรับไตรมาส 2 ปี 2562 อยู่ที่ 25,536 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% YoY เป็นผลมาจากการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวดีขึ้น และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยไตรมาส 2 ปี 2562 อยู่ที่ 10,505 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.1% YoY จากกำไรสุทธิธุรกรรมเพื่อค้า กำไรสุทธิจากเงินลงทุนและรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้น (ไม่รวมผลกระทบของการจัดประเภทรายการของ SCB Life) scbb
  • ธนาคารกสิกรไทย หรือ รู้จักกันในหุ้น KBANK
รายงานกำไรสุทธิ 9,929 ล้านบาท ลดลง 9% YoY และลดลง 1.15% QoQ หลักๆ ผลกระทบมาจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินเพิ่มขึ้น 10.81% QoQ เกิดจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดและการตั้งสำรองเกษียณอายุของพนักงาน และหากมองในแง่ของรายได้ก็เพิ่มขึ้น จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ไตรมาส 2 ปี 2562 อยู่ที่ 25,770 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.05% QoQ ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยรับของเงินลงทุนที่ทำให้ (NIM) อยู่ที่ระดับ 3.34% และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยไตรมาส 2 ปี 2562 อยู่ที่ 13,633 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.38% QoQ เกิดจากรายได้สุทธิจากการรับประกันภัย และรายได้จากการผลิตภัณฑ์ตลาดทุนเพิ่มขึ้น รวมทั้งรายได้จากค่าธรรมเนียมบริการสุทธิ kbankมาเช็คงบการเงินและอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญได้ง่ายๆ สรุปครบ จบ ในที่เดียว ด้วยโปรแกรม Stock Signals อ่านวิธีการเข้าใช้งาน...คลิกที่นี่
Sector Comparison
เราปรับลดประมาณการกำไรหุ้นกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำเพื่อสะท้อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธปท.ลง 25bps แต่หุ้นกลุ่มการเงินรายย่อย ได้แก่ SAWAD, MTC, และ KTC และหุ้นกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อ (TISCO และ KKP) ยังคงได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากมีรายได้ดอกเบี้ยรับคงที่แต่สามารถลดต้นทุนจากแหล่งเงินกู้ / หุ้นกู้ระยะสั้นที่มีดอกเบี้ยต่ำ เราจึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรหุ้นกลุ่มการเงินรายย่อยสำหรับปี 2562 และ 2563 ในบรรดาหุ้นกลุ่มธนาคารและการเงิน เราชอบ TISCO, KKP และ SAWAD มากที่สุด... Pic5 (ที่มา : บทวิเคราะห์หลักทรัพย์บัวหลวง กลุ่มธนาคาร วันที่ 9 ส.ค. 62)
ลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวง : สามารถอ่านบทวิเคราะห์ภาพรวมตลาดหุ้น และหุ้นรายตัว ได้ที่ Bualuang Reserach อ่านเพิ่มเติม...คลิกที่นี่ บุคคลทั่วไป : เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์ กับ หลักทรัพย์บัวหลวง ไม่ต้องส่งเอกสาร สะดวก ง่ายๆ
ติดตามความรู้ทางด้านการลงทุนดีๆ กับพวกเรา ได้ที่…
Facebook youtube twitter

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง