
แนะนำ
DR01
สอนลงทุน
เราจะมาพิจารณาความหมายจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษแต่ละคำที่ประกอบกัน ดังนี้ Exchange : หมายถึง มีการซื้อขายเปลี่ยนมือหน่วยลงทุนโดยการจดทะเบียนซื้อขายหน่วยลงทุนกันในตลาดรอง (Secondary Market) หรือตลาดหลักทรัพย์ (The Stock Exchange) นั่นเอง Traded : หมายถึง สามารถทำการซื้อขายหน่วยลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือ โบรกเกอร์ได้เสมือนกับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตัวหนึ่ง ดังนั้นสภาพคล่อง (Liquidity) ของกองทุน ETF นี้ จึงไม่ต่างจากหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วๆไป ที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้นักลงทุนยังสามารถทราบราคาซื้อขายได้ทันทีแบบ Real Time อีกด้วย Fund : หมายถึง ETF เป็นกองทุนรวม (Mutual Fund) ประเภทหนึ่ง สรุปได้ง่ายๆ : ETF เป็นกองทุนเปิดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้ซื้อขายได้สะดวกเหมือนหุ้น ใช้เงินน้อย ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายต่ำ บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ซึ่งมีนโยบายสร้างผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิง (Passive Fund) โดยสามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายประเภท เช่น หุ้นในประเทศ , หุ้นต่างประเทศ หรือ ทองคำ เป็นต้นETF หรือ Exchange Traded Fund คืออะไร ?
ETF เป็นนวัตกรรมทางการเงิน ที่นำเอาจุดเด่นของกองทุนรวมดัชนีและหุ้น เข้าไว้ด้วยกัน
ETFs นำเอาจุดเด่นระหว่างกองทุนรวมดัชนีและหุ้นมารวมกัน นั่นคือ
สามารถกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่าลงทุนด้วยตนเอง มีมืออาชีพคอยบริหารจัดการลงทุนแทนให้ และยังมีกลไกในการปกป้องผู้ถือหน่วยลงทุนเหมือนกองทุนรวม สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ Real Time เหมือนการซื้อขายหุ้นโดยไม่ต้องรอให้ถึงสิ้นวันถึงจะรู้ราคาจุดเด่นของกองทุนรวมดัชนี ETFs
- สามารถซื้อ ขายได้ Real Time เหมือนกับหุ้นตัวหนึ่ง
- ช่วยในเรื่องการกระจายความเสี่ยง เช่น ลงทุนในกองทุนรวมที่อ้างอิงตามดัชนี SET50 ก็เปรียบเหมือนว่าเราได้ซื้อหุ้น 50 ตัว
- ค่าธรรมเนียมถูก (เท่ากับค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น)
- เงินน้อยก็ลงทุนได้ (ลงทุนเป็น Board lot 100 หน่วย)
- กำไรที่ได้จากการซื้อขาย ไม่ต้องเสียภาษี
ETF แตกต่างจากกองทุนเปิดทั่วไป หรือ หุ้นอย่างไร ?

ETFs มีนโยบายการลงทุนเลียนแบบหรือล้อกับดัชนีที่ถูกนำมาใช้อ้างอิง (Underlying Index) โดยดัชนีอ้างอิงนั้นมีหลากหลายประเภท ยกตัวอย่างดัชนีราคาตราสารทุน เช่น SET50 SET100 SETHD เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจอ้างอิงกับดัชนีอื่นๆได้ เช่น ดัชนีราคาทองคำ ดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนของกองทุนรวมโดยส่วนใหญ่ที่เลือกลงทุนในหลักทรัพย์ หรือสินทรัพย์รายตัวตามนโยบายการลงทุนที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ดังนั้นการลงทุนของ ETF จึงสามารถลดความเสี่ยงจากการลงทุนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีการกระจายการลงทุนตามแบบดัชนีนั่นเอง ETFs มุ่งเน้นให้ได้ผลตอบแทนเท่ากับหรือใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงมากที่สุด โดยผู้จัดการกองทุนจะเลือกกระจายการลงทุนในลักษณะเดียวกันกับสัดส่วนหรือน้ำหนักของหลักทรัพย์รายตัวที่ใช้ในการคำนวณดัชนีอ้างอิงอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้อัตราผลตอบแทนที่เท่ากับหรือใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงให้มากที่สุด หรือที่เรียกกันว่า ทำให้เกิด Tracking Error* น้อยที่สุดนั่นเอง *Tracking Error หมายถึงการที่ผลการดำเนินงานของกองทุน แตกต่างหรือเบี่ยงเบนไปจากผลตอบแทนของดัชนีที่ใช้อ้างอิง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากกลยุทธ์การลงทุนในเชิงอนุรักษ์ (Passive Strategy) ... คืออะไรกันนะ ?
- ค่าบริหารจัดการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องหักออกจากผลตอบแทนของกองทุน
- การนำผลตอบแทนของกองทุนไปลงทุนต่อ (Reinvestment Policy) ในช่วงเวลาที่ยังไม่ได้มีการจ่ายเป็นเงินปันผลคืนให้แก่นักลงทุน
- การที่กองทุนไม่ได้ลงทุนเลียนแบบ หรือตามดัชนีอ้างอิงแบบเต็มที่ 100%
- การปรับเปลี่ยนสัดส่วน หรือการเปลี่ยนแปลงหลักทรัพย์ที่นำมาใช้ในการคำนวณดัชนีอ้างอิง
ETF แบ่งไปตามดัชนีอ้างอิง หรือประเภทของสินทรัพย์ที่กองทุนไปลงทุน โดยปัจจุบัน ETF ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้ประเภทของ ETFs มีอะไรบ้าง ?
- Equity ETFs มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นในประเทศ เช่น ESET50 & TDEX ลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET50, ENGY & ENY ลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีหมวดธุรกิจ SET Energy & Utilities เป็นต้น
- Foreign ETFs มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นต่างประเทศหรือกลุ่มหุ้นต่างประเทศ เช่น CHINA ลงทุนในกองทุน W.I.S.E CSI300 China Tracker ETF ที่สร้างผลตอบแทนอ้างอิง CSI300 ซึ่งเป็นดัชนีราคาหุ้นในประเทศจีน เป็นต้น
- Gold ETFs มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาทองคำ เช่น GLD ลงทุนในกองทุน SPDR Gold Trust ที่สร้างผลตอบแทนอ้างอิงราคาทองคำแท่ง
- Bond ETFs มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงราคาตราสารหนี้ เช่น ABFTH ลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกัน รัฐบาลของสมาชิก EMEAP หรือองค์กรระหว่างประเทศ ตามโครงการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียระยะที่สอง (Asian Bond Fund2)
การลงทุนจะให้ผลตอบแทน 2 รูปแบบ คือผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนใน ETFs
- กำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital Gain) หากผู้ลงทุนซื้อในราคาต่ำ แล้วสามารถขายได้ในราคาสูงกว่าตอนที่่ซื้อมา จะได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา
- เงินปันผล (Dividend) ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับเงินปันผลจากการถือหน่วยลงทุน ETFs ที่มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้ เงินปันผลซึ่งได้มาจากหุ้นหรือหน่วยลงทุนที่ ETFs ไปลงทุนโดยผู้จัดการกองทุน จะจัดสรรปันผลหลังจากหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุน
- ความเสี่ยงด้านราคาหรือความเสี่ยงตลาด ซึ่งเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
- ความเสี่ยงจากการที่ ETFs ไม่สามารถให้ผลตอบแทนได้เท่ากับการเคลื่อนไหวของดัชนีอ้างอิง (Tracking Error)
- ความเสี่ยงของดัชนีอ้างอิง เช่น ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของบริษัทที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีที่อ้างอิง ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับผู้ที่ถือหน่วย ETFs ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ในต่างประเทศ เป็นต้น
เนื่องจากกองทุน ETFs ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดสรรเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ (Asset Allocation) อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ETFs เหมาะสมกับนักลงทุนทุกประเภทETF เหมาะกับใคร ... ใช่สำหรับเราหรือเปล่านะ !!
- สำหรับนักลงทุนมือใหม่ สามารถใช้ ETFs เป็นจุดเริ่มต้นของการลงทุนได้ ใช้เงินลงทุนไม่มาก กระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้เป็นอย่างดี และยังมีมืออาชีพบริหารจัดการลงทุนให้อีกด้วย
- สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในระยะยาว สามารถเลือกลงทุนใน ETFs ได้เช่นกัน โดยอาจเป็นการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นหรือเพื่อรอรับเงินปันผลในอนาคตได้เช่นกัน
ที่มา : www.set.or.th
รู้หรือไม่ ETFs เทรดเหมือนหุ้นได้ใน Streaming คลิกที่นี่ ยกให้ ETFs เป็นหุ้นครูสอนชีวิตการลงทุนแบบ DCA คลิกที่นี่

บริการ
หุ้น
แนะนำ
แนะนำ
บริการ
Tools