
Tips
อีกหนึ่งความกังวลที่ยังคงกดดันการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นทั่วโลกรวมไปถึงตลาดหุ้นไทยด้วยนั้น คงไม่พ้นเรื่องอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว!! ที่เรามักได้ยินหลายๆ คนพูดถึงกันบ่อยในช่วงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่ามันคืออะไร ? และจะส่งผลกระทบอย่างไร ? ไปติดตามกันเลย!!
พิเศษ! วันนี้หลักทรัพย์บัวหลวงจะพามาร่วมวิเคราะห์ Inverted Yield Curve คืออะไร กับรายการ ร.ว.ย. เล่าเรื่องหุ้นสไตล์หลักทรัพย์บัวหลวง
ประเด็นสำคัญการวิเคราะห์
Bond Yield คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลต่างๆ ที่เหล่านักลงทุนนั้นคาดหวังที่จะได้รับจากการถือครองตามอายุการลงทุน ซึ่งเป็นหนึ่งตัวแปรสำคัญต่อการลงทุนที่ไม่สามารถมองข้ามได้ หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมมีผลกระทบต่อการลงทุนและการผันผวนของราคา โดยปกติที่นิยมนำข้อมูลมาใช้เพื่อการวิเคราะห์นั้นจะเป็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (อายุ 2 ปี) และพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว (อายุ 10 ปี) ซึ่งรูปแบบการเคลื่อนไหวหลักๆ ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้…
เป็นการเปรียบเทียบระหว่างอัตราผลตอบเทนพันธบัตรรัฐบาล (แกน Y) และ อายุคงเหลือ (แกน X) ลองทำความเข้าใจและนึกภาพง่ายๆ เสมือนฝากเงินที่ธนาคาร โดยหากเราฝากเงินระยะเวลานานก็ย่อมต้องได้อัตราดอกเบี้ยที่มากกว่าคนที่ฝากระยะสั้นอยู่แล้ว เช่นเดียวกับความคาดหวังของนักลงทุนที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้น (อายุ 2 ปี) ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว (อายุ 10 ปี ) รูปแบบลักษณะจึงเป็นเส้นชันขึ้นจากซ้ายไปขวา โดยเป็นรูปแบบปกติที่ควรจะเป็น!!
มีรูปแบบตรงกันข้ามกับ Yield Curve แบบสิ้นเชิง จะเป็นรูปแบบลักษณะเส้นลาดลงจากซ้ายไปขวา แสดงถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (อายุ 2 ปี) สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว (อายุ 10 ปี)
เนื่องจาก ส่วนต่างระหว่างพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีและอายุ 2 ปี (2y-10y spread) หากมีค่าติดลบแสดงว่า เกิด Inverted yield curve ขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่ชี้ว่าเศรษฐกิจอาจหดตัวได้ในอนาคต
Inverted yield curve มักเกิดก่อนที่เศรษฐกิจจะเป็นขาลงหรือเศรษฐกิจถดถอย หรือ มักจะเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจขยายตัวมากกว่าระดับศักยภาพ อัตราเงินเฟ้อเร่งสูงขึ้นมากและสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ธนาคารกลางกำหนดไว้ ทำให้ธนาคารกลางจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด โดยปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้นมาก เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา

(ข้อมูลกราฟ : Aspen)
ประเด็นสำคัญการวิเคราะห์
พิเศษ! วันนี้หลักทรัพย์บัวหลวงจะพามาร่วมวิเคราะห์ Inverted Yield Curve คืออะไร กับรายการ ร.ว.ย. เล่าเรื่องหุ้นสไตล์หลักทรัพย์บัวหลวง
ประเด็นสำคัญการวิเคราะห์
- บาทอ่อน-เงินเฟ้อพุ่ง คืออะไร
- กลุ่มหุ้นเด่นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า
- ทิศทาง สถานการณ์ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไรต่อไป
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) คืออะไร ?
Bond Yield คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลต่างๆ ที่เหล่านักลงทุนนั้นคาดหวังที่จะได้รับจากการถือครองตามอายุการลงทุน ซึ่งเป็นหนึ่งตัวแปรสำคัญต่อการลงทุนที่ไม่สามารถมองข้ามได้ หากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมมีผลกระทบต่อการลงทุนและการผันผวนของราคา โดยปกติที่นิยมนำข้อมูลมาใช้เพื่อการวิเคราะห์นั้นจะเป็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (อายุ 2 ปี) และพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว (อายุ 10 ปี) ซึ่งรูปแบบการเคลื่อนไหวหลักๆ ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้…
เส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) คืออะไร
เส้นอัตราผลตอบแทน คือ เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนกับอายุคงเหลือ (Time to maturity) ของตราสารหนี้ แต่ละจุดบน Yield curve จะบอกให้เราทราบว่า อัตราผลตอบแทนที่ตลาดต้องการสำหรับตราสารหนี้แต่ละช่วงอายุเป็นเท่าไร โดยปกติเราจะใช้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ณ ช่วงอายุต่างๆ มาสร้าง เส้นอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ (Risk-free yield curve) ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้คำนวณอัตราผลตอบแทนสำหรับตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่างๆได้1. เส้นอัตราผลตอบแทนแบบชันขึ้น (Yield Curve)

เป็นการเปรียบเทียบระหว่างอัตราผลตอบเทนพันธบัตรรัฐบาล (แกน Y) และ อายุคงเหลือ (แกน X) ลองทำความเข้าใจและนึกภาพง่ายๆ เสมือนฝากเงินที่ธนาคาร โดยหากเราฝากเงินระยะเวลานานก็ย่อมต้องได้อัตราดอกเบี้ยที่มากกว่าคนที่ฝากระยะสั้นอยู่แล้ว เช่นเดียวกับความคาดหวังของนักลงทุนที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาล ที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้น (อายุ 2 ปี) ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว (อายุ 10 ปี ) รูปแบบลักษณะจึงเป็นเส้นชันขึ้นจากซ้ายไปขวา โดยเป็นรูปแบบปกติที่ควรจะเป็น!!
2. เส้นอัตราผลตอบแทนแบบลาดลง (Inverted Yield Curve)

มีรูปแบบตรงกันข้ามกับ Yield Curve แบบสิ้นเชิง จะเป็นรูปแบบลักษณะเส้นลาดลงจากซ้ายไปขวา แสดงถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (อายุ 2 ปี) สูงกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว (อายุ 10 ปี)
3. เส้นอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้น เท่ากับ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาว (Flat Yield Curve)
โดยในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างเต็มที่และเตรียมที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย เส้น Yield curve จาก Normal yield curve ที่กำลังเปลี่ยนเป็น Inverted yield curve จะต้องเกิด Flat yeild curve เกิดขึ้นก่อน
พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีและอายุ 2 ปี (2y-10y spread) มีความสำคัญอย่างไร
เนื่องจาก ส่วนต่างระหว่างพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีและอายุ 2 ปี (2y-10y spread) หากมีค่าติดลบแสดงว่า เกิด Inverted yield curve ขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่ชี้ว่าเศรษฐกิจอาจหดตัวได้ในอนาคต
Inverted Yield Curve สามารถบอกอะไรกับนักลงทุนได้บ้าง?
Inverted yield curve มักเกิดก่อนที่เศรษฐกิจจะเป็นขาลงหรือเศรษฐกิจถดถอย หรือ มักจะเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจขยายตัวมากกว่าระดับศักยภาพ อัตราเงินเฟ้อเร่งสูงขึ้นมากและสูงกว่ากรอบเป้าหมายที่ธนาคารกลางกำหนดไว้ ทำให้ธนาคารกลางจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด โดยปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้นมาก เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา
ปัจจุบัน Inverted Yield Curve เป็นอย่างไร ?

(ข้อมูลกราฟ : Aspen)
✅ การเกิด Inverted yield curve ที่หลายๆ คนกลัวว่าจะ Recession จะเป็นไปได้หรือไม่? รับชมย้อนหลังสัญญาณบอก Recession ของประเทศไทย
ประเด็นสำคัญการวิเคราะห์
- Global Recession เป็นอย่างไร
- สัญญาณบ่งชี้ Recession ของประเทศไทย
- วิธีปรับตัวเมื่อเกิด Recession
นักลงทุนมือใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wealth CONNEX เพื่อเริ่มต้นเรียนรู้และเข้าถึงทุกบริการลงทุนกับหลักทรัพย์บัวหลวง
- IOS รองรับ iOS 14 ขึ้นไป ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Android รองรับ 7.0 ขึ้นไป ติดตั้ง คลิกที่นี่
- Notebook & Personal Computer Browser Support : Chrome, Firefox, Safari7+, IE11+

อ่านคู่มือและเงื่อนไขการใช้งานคลิกที่นี่
✅ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แอป Wealth CONNEX บริการเชื่อมต่อทุกความรู้และบริการลงทุน
เลือกเมนู CHAT กด Chat With Customer Service
📌 เปิดบัญชีหุ้นออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร คลิก 👇
หรือศึกษาวิธีการเปิดบัญชีบนหน้าเว็บไซต์เพิ่มเติม คลิก
สอนลงทุน
Tips
กองทุน
Tips
Global
DR01
สอนลงทุน
Tips
Tools
สอนลงทุน
สอนลงทุน
Tools
Tips