
ข้อมูลจากงานสัมมนาออนไลน์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ จากหลักทรัพย์บัวหลวง ในหัวข้อ Health & Wealth Care : บริหารการลงทุน เจาะแนวโน้ม “หุ้นกลุ่มสุขภาพ” และ “นวัตกรรมทางการแพทย์” ที่อัดแน่นไปด้วยข้อมูล ซึ่งคัดสรรมาเพื่อผู้ลงทุนโดยเฉพาะ
วันนี้เราไม่พลาดคัดไฮไลท์สำคัญในแต่ละช่วงมาฝากผู้ลงทุนทุกท่าน
เริ่มกันที่ช่วงแรก เราได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้มาเล่าถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยดูเหมือนจะดีขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สะท้อนได้จากอัตราของคนไข้ที่มีอาการป่วยหนักเริ่มลดลง
สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศ สายพันธุ์เดลตายังคงมีการระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางประเทศสถานการณ์ดูเหมือนจะสงบลง แต่ก็อาจมีการติดเชื้อเพิ่มใหม่ได้อีกเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2564 นี้ หลาย ๆ ประเทศก็กำลังกังวลในเรื่องของการกลับมาระบาดอีกระลอก เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็น จะทำให้โรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อทางเดินหายใจเกิดการระบาดได้ง่ายขึ้น ทำให้ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เริ่มวางแผนฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ให้ประชาชนแล้ว เพื่อรับมือกับการระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
ปัจจัยที่จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นคือเรื่องอะไร…
อาจารย์มานพ ตอบคำถามนี้ว่า การที่ประชาชนในประเทศได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างทั่วถึง ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ ดีขึ้น
ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลัก ๆ ดังนี้
- เทคโนโลยี MRNA จะเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ณ ตอนนี้ เช่น วัคซีน Pfizer และ วัคซีน Moderna
- เทคโนโลยี Viral vector จะมีประสิทธิภาพรองลงมา เช่น วัคซีน Johnson and Johnson และ วัคซีน Astrazeneca
- เทคโนโลยี Protein subunit ในส่วนของเทคโนโลยีชนิดนี้ ยังคงไม่ได้มีการใช้เป็นวงกว้าง
- เทคโนโลยีที่ใช้ วัคซีนเชื้อตาย จะมีประสิทธิภาพด้อยที่สุด เช่น วัคซีน Sinovac และ วัคซีน Sinopharm
จำเป็นต้องบูสเตอร์เข็ม 3 หรือไม่…
ปัจจุบัน โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา เป็นสายพันธ์หลักที่กำลังแพร่ระบาดในโลกตอนนี้ ซึ่งเป็นเชื้อที่แพร่เร็ว ดื้อต่อภูมิคุ้มกันและวัคซีนมากกว่าตัวอื่น ๆ วัคซีนชนิดเดิมที่มีประสิทธิภาพกับสายพันธุ์อู่ฮั่น จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าลดลง อีกทั้งบางคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้วเมื่อเวลาผ่านไป ประสิทธิภาพ หรือภูมิร่างกายก็จะลดลง ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นนี้ ก็ทำให้มีความจำเป็นที่ควรจะต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นเพิ่ม
สำหรับช่วงที่ 2 คุณเอิร์ธ รัฐศรัณย์ กูรูหุ้นต่างประเทศ ก็มาเล่าถึง โอกาสในการลงทุนหุ้นกลุ่ม Healthcare ผ่านตลาดหุ้นสหรัฐฯ 🤩
ภาพรวมกลุ่ม Healthcare ของโลก
ในปี 63 การใช้จ่ายทางการแพทย์ทั่วโลกมีการชะลอตัวลงราว 2.6% เมื่อเทียบกับปี 62 สาเหตุมาจากการล็อคดาวน์ในช่วงระบาดของโควิด-19 และมาตรการ Social Distancing ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่ด้าน Deloitte คาดการใช้จ่ายด้านการแพทย์ทั่วโลกจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 3.9% ต่อปี นับตั้งแต่ปี 63-67 โดยเราได้แบ่งปัจจัยบวกต่อกลุ่มการแพทย์ออกเป็น 4 ปัจจัย ดังนี้
- Aging Population ประชากรผู้สูงอายุในโลกอาจเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอายุเฉลี่ยของคนอาจเพิ่มขึ้นสู่ราว 74.9 ปีภายในปี 67
- Rebound of Medical Activities กิจกรรมทางการแพทย์ที่ลดลง และหยุดชะงักไปจากสถานการณ์โควิด-19 ที่จะกลับมาฟื้นตัวและดำเนินการต่อได้ อีกทั้งผู้บริโภคเริ่มกล้ากลับมาเข้ารักษาเพิ่มมากขึ้น
- Demand Increasing หลังจากเกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้คนเริ่มหันมาใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ตระหนักในเรื่องของการรักษาสุขภาพมากขึ้น หนุนปริมาณการเข้ารับบริการด้านการแพทย์ให้โตต่อ
- Technological Advances ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และช่วยลดต้นทุนในการรับบริการ หนุนการเข้าถึงทางการแพทย์ทั่วโลก
ต่อมา คุณเอิร์ธ ได้สรุปเป็น Megatrend โลก ไว้ดังนี้
Source: BLS Global Investing, as of 25/09/64
ภาพรวมกลุ่ม Healthcare สหรัฐฯ
ประเทศสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีมูลค่า GDP คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 25% ของ GDP ทั้งโลก ขณะที่มูลค่า Market Capitalization ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ คิดเป็นราว 40% ของมูลค่า Market Capitalization ของโลก นักลงทุนอาจมีคำถามต่อว่า เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ตลาดหุ้นสหรัฐฯ หรือหุ้นที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดสหรัฐฯ มีมูลค่าสูงมากเกินไป หรือแพงเกินไปหรือไม่ ซึ่งคุณเอิร์ธได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ดังนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เป็นตลาดขนาดใหญ่และมีความเป็นสากล จึงทำให้หลายบริษัทจีนและประเทศอื่น ๆ ต่างต้องการเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ รวมไปถึง ETF หลายกองที่เข้าลงทุนในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น เยอรมัน จีน ฮ่องกง ยุโรป ฯลฯ ที่เลือกจดทะเบียนใจตลาดสหรัฐฯ เช่นกัน จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มูลค่าตลาดสหรัฐฯ มีสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับทั้งโลก
ปัจจัยหนุนอุตสาหกรรม Healthcare สหรัฐฯ
สามารถแบ่งออกเป็น 4 ปัจจัยหลักได้ ดังนี้
- Aging Society
ปัจจุบันประชากรสหรัฐฯที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีจำนวนกว่า 54 ล้านคน คิดเป็นราว 20% ของประชากร โดย Morgan Stanley คาดประชากรกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 23% ภายในปี 68
- การใช้จ่ายด้านสุขภาพ
ยอดการใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคสหรัฐฯมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีสัดส่วนต่อ GDP เพิ่มขึ้นทุกปี โดยศูนย์บริการด้านประกันสุขภาพของสหรัฐฯ (CMS) คาดในปี 2583 อาจมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นสู่ราว 26% ต่อ GDP
- พฤติกรรมผู้บริโภค
การระบาดของโควิด-19 ทำให้การทำงานในธุรกิจ Healthcare ต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องชะลอการใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพไปด้วย จากผลสำรวจของ Morgan Stanley ในผู้บริโภคสหรัฐฯกว่า 2,000 ราย กว่า 73% มีความต้องการในการตรวจสุขภาพมากขึ้น และอีก 50% มีความต้องการที่จะเข้ารับการผ่าตัด หลังจากการระบาดของโควิด-19 จบลง
- ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
นอกจากจะส่งเสริมการทำงานที่แม่นยำและรวดเร็วแล้ว การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการระบบการดูแลสุขภาพสามารถลดต้นทุนการจัดการได้ถึง 30%* ส่งผลให้ผู้คนสามารถเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น
*ข้อมูลจาก McKinsey
โอกาสการลงทุนในกลุ่ม Healthcare ในสหรัฐฯ
Source: BLS Global Investing, as of 25/09/64
จากภาพ จะเห็นว่าในแง่ของ Valuation ของหุ้นกลุ่ม Healthcare ในปัจจุบันยังคงต่ำที่สุดในรอบหลายปี (ภาพซ้าย) และต่ำกว่าดัชนี S&P500 เช่นกัน (ภาพขวา) ขณะที่ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นเริ่มกลับมา Outperform บ้างแล้ว และหากดูที่ผลประกอบการ กำไรต่อหุ้นของบริษัทกลุ่ม Healthcare มีการเติบโตทุกปี นับตั้งแต่ปี 56 ถึง ปี 63 ถึงแม้ในปี 63 จะมีการระบาดของโควิด-19 ก็ตาม
มาดูกันที่อุตสาหกรรม Healthcare ในประเทศจีนบ้าง…
หลังจากมีการระบาดของโควิด-19 จีนเพิ่มระดับความเข้มงวด ขณะเดียวกันก็ยังเพิ่มความสำคัญของสุขภาพของคนในประเทศ ผนวกกับยุทธศาสตร์ชาติจีน 5 ปี ฉบับที่ 14 “Healthy China”
Source: BLS Global Investing, as of 25/09/64
ในปัจจุบันทางการจีนเริ่มเข้าจัดระเบียบประเทศอย่างเข้มงวด อีกทั้งออกกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทภายในประเทศจีน โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ และบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะของการผูกขาด แต่หากมาดูธุรกิจกลุ่ม Healthcare การจัดระเบียบยังน้อยกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากยังไม่มีบริษัทขนาดใหญ่ที่ผูกขาดภายในตลาดโดยรวม ดังนั้น Regulatory Risk ของธุรกิจกลุ่ม Healthcare จึงค่อนข้างต่ำ
Source: BLS Global Investing, as of 25/09/64
โอกาสลงทุนในกลุ่ม Healthcare และหุ้นแนะนำในกลุ่ม Healthcare
Source: BLS Global Investing, as of 25/09/64
สำหรับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาติดตามหุ้นรายตัว และต้องการกระจายการลงทุนด้วยการลงทุนผ่าน ETF เราก็มีแนะนำ ดังนี้
- iShares Global Healthcare ETF (IXJ.US)
- Health Care Select Sector SPDR Fund (XLV.US)
- Global X MSCI China Health Care ETF (CHIH.US)
- CSOP China Healthcare Disruption Index ETF Fund (3174.HK)
ด้านคุณปิ๊ก เสริมศักดิ์ กูรูด้านกองทุนของหลักทรัพย์บัวหลวงก็ได้ให้ความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับคุณเอิร์ธ รัฐศรัณย์ คือในระยะยาวธุรกิจ Healthcare มีอัตราการเติบโตสูง หลาย ๆ บริษัทในช่วง 3 ปีข้างหน้ามีโอกาสเติบโตเกิน 20-30% ต่อปี แต่อย่างไรก็ตามหลาย ๆ บริษัทก็ยังอยู่ในช่วงการวิจัยค้นคว้า ซึ่งหากสำเร็จก็จะสร้างรายได้อย่างมหาศาล แต่หากไม่สำเร็จก็อาจจะล้มหายตายจากไปได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงควรลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงด้วยกองทุนรวม
BLS Top Funds แนะทยอยสะสม 3 กองทุน Healthcare ตัวท็อป
- กองทุน BCARE จากบลจ.บัวหลวง ตั้งแต่ IPO สร้างผลตอบแทนมาแล้วกว่า 300% เป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในรอบ 10 ปี ลงทุนในบริษัทในอุตสาหกรรม Healthcare ทั่วโลกผ่านหน่วยลงทุนของกองทุน Wellington Global Health Care Equity Fund โดยจุดเด่นของกองทุนนี้คือลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่ที่เติบโตมาในระดับหนึ่งและมีรายได้มั่นคง กลุ่มธุรกิจส่วนมากเป็นธุรกิจดั้งเดิม (Traditional) เช่น กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพหรือไบโอเทคโนโลยี, บริษัทผลิตยารักษาโรคซับซ้อน และผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ฯ กระจายลงทุนหลากหลายกลุ่มธุรกิจ
- กองทุน BCAP-XHEALTH จากบลจ.บางกอกแคปปิตอล มีความหวือหวามากกว่ากองทุน BCARE ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพรูปแบบใหม่ (New Innovation) เช่น ยีนบำบัด (Gene Therapy), ผู้ให้บริการพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine), Healthcare IT Infrastructure เป็นต้น จุดเด่นของกองทุนนี้คือแม้จะลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ซึ่งหลาย ๆ บริษัทอยู่ในช่วงการวิจัยค้นคว้าที่มีความเสี่ยงสูง แต่ก็กระจายลงทุนคือลงทุนแบบ Fund of Funds ผสมผสานทั้งกองทุน Active และ Passive ทำให้มีหุ้นในพอร์ตเกือบ 400 ตัว ไม่เทน้ำหนักให้หุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป
- กองทุน LHHEALTH จากบลจ.แอล เอช ฟันด์ ลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่เกี่ยวกับบริษัทในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ (Healthcare Industry) และบริษัทในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพที่เป็นนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ (Innovative Healthcare) เช่น การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกัน รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ ผ่านหน่วยลงทุนของกองทุน Baillie Gifford Worldwide Health Innovation Fund class B USD Acc
จุดเด่นของกองทุนนี้อยู่ที่กองทุนต้นทางบริหารโดย Baillie Gifford บลจ.ชื่อดังที่เคยฝากผลงานให้ได้ชมจากกองทุน ONE-UGG สร้างผลตอบแทนเกือบ 100% ในปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่ง Baillie Gifford โดดเด่นในเรื่องการหาหุ้นเติบโต (Growth Stock) ที่ในระยะยาวสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี และมีทีมวิเคราะห์หลักทรัพย์จากสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการแพทย์โดยเฉพาะ ทำให้มีความเข้าใจในธุรกิจและวิเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้น
📌 ฟังสัมมนาฉบับเต็ม ย้อนหลังได้ผ่าน Bualuang iChannel ดูวิธีการคลิก
📌 ไม่อยากพลาดสัมมนาดี ๆ แบบนี้….เพียงเปิดบัญชีลงทุนต่างประเทศ กับ BLS Global Investing ได้ที่ https://bls.tips/openglobalinvesting
เปิดบัญชีกองทุนรวมออนไลน์กับหลักทรัพย์บัวหลวง สะดวก ง่าย ไม่ต้องส่งเอกสาร!!
ติดตามความรู้ทางด้านการลงทุนดีๆ กับพวกเราได้ที่…